เหตุผลที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้... ทำไมลูกน้อยควรได้รับวัคซีนตรงตามเวลา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

การฉีดวัคซีนเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง

เหตุผลที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้... ทำไมลูกน้อยควรได้รับวัคซีนตรงตามเวลา

แพทย์หญิงวนิดา พิสิษฐ์กุล แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลธนบุรี 2 กล่าวว่า การให้วัคซีนในเด็ก จุดประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ โดยการสร้างภูมิคุ้มกันและลดโอกาสในการเกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และการเจริญเติบโตของลูกน้อย นอกเหนือจากการได้รับนมแม่ตั้งแต่เกิดจนอายุ 2 ปี ที่ทำให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันที่ดี แต่ภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไม่คงทนยาวนานจะลดลงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 3 เดือนถึง 15 เดือน และอาจไม่สามารถคุ้มกันได้ทุกโรค

วัคซีน คือ ยาชนิดหนึ่งมีผลข้างเคียงแต่น้อยมากเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าในการป้องกันความรุนแรงและอันตรายที่เกิดจากโรคที่ป้องกันได้ ซึ่งการรับวัคซีนควรได้รับตามอายุและจำนวนครั้งตามตารางการรับวัคซีน ซึ่งกำหนดระยะเวลาที่ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้อย่างเหมาะสม จึงไม่ควรรอหรือเลื่อนรับวัคซีน เมื่อลูกน้อยได้รับวัคซีนตรงตามวัย ครบทั้งปริมาณและตามระยะเวลาที่กำหนดจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคต่างๆ ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการลดการแพร่กระจายของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายไปยังผู้อื่น     แพทย์หญิงวนิดา กล่าวอีกว่า โดยทั่วไปเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรค ควรได้รับวัคซีนในอายุที่ควรเริ่มให้และได้ครบตามจำนวนครั้งในระยะเวลาที่กำหนด ในช่วงที่มีการระบาดของโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ควรได้รับวัคซีนตามกำหนดไม่เช่นนั้นอาจทำให้โรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนกลับมาระบาดอีกครั้ง ซึ่งโรคเหล่านั้นอาการจะรุนแรงกว่ามาก เช่น หัด คอตีบ ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ สุกใส เป็นต้น     ส่วนการรับวัคซีนในช่วงนี้ ชนิดไหนเลื่อนได้หรือไม่ควรเลื่อน และเลื่อนได้ในระยะเวลาเท่าไร มีแนวทางดังต่อไปนี้

  1. วัคซีนที่ควรฉีดตามกำหนด
    • วัคซีนป้องกันหลังการสัมผัสโรค เช่น พิษสุนัขบ้า บาดทะยัก
    • ตับอักเสบบีเข็ม 2 ในมารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี
    • วัคซีนทารกแรกเกิด
  2. วัคซีนที่เลื่อนได้ 1-2 สัปดาห์
    วัคซีนในเด็กอายุน้อยกว่า 2-2 ? ปี เนื่องจากเวลาเป็นโรคอาจรุนแรงได้ ตั้งแต่ตับอักเสบบีในมารดาที่ไม่ได้เป็นพาหะ คอตีบ ไอกรน บาดทะยักโปลิโอ หัด หัดเยอรมันคางทูม ไข้สมองอักเสบเจอี ไข้หวัดใหญ่ โรต้า นิวโมคอคคัส
  3. วัคซันเลื่อนได้ 2-4 สัปดาห์
    • เข็มกระตุ้น คอตีบไอกรนบาดทะยัก ครั้งที่ 4 อายุ 1 ? ปี ครั้งที่ 5 อายุ 4 ปี
    • เข็มกระตุ้น นิวโมคอคคัส อายุ 12-15 เดือน
    • ตับอักเสบเอ เข็ม 2
  4. วัคซีนเลื่อนได้จนกว่าสถานการณ์โรคจะสงบ
    • HPV, คอตีบไอกรนบาดทะยัก อายุ 10-12 ปี
    • วัคซีน 2-4 นี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง จำนวนเคสระบาดเป็นสำคัญ

สามารถติดตามข้อมูลบริการได้ที่ สายด่วน 1645 กด 2 หรือ facebook : Thonburi2 Hospital โรงพยาบาลธนบุรี 2 และ www.thonburi2hospital.com


ข่าววนิดา พิสิษฐ์กุล+โรงพยาบาลธนบุรีวันนี้

รพ.ธนบุรี ปลื้ม! ผ่านการรับรองมาตรฐาน HA ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5

โรงพยาบาลธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาล นพ.วชิรบุณย์ ศาตระรุจิ ผู้อำนวยการแพทย์ นพ.สมยศ วรรณสินธพ ผู้อำนวยการสายคุณภาพ นางสาวสิริณัฐ สินวรรณกุล ผู้อำนวยการสายพยาบาล รับมอบประกาศนียบัตรการรับรองคุณภาพ Hospital Accreditation หรือ HA ภายในงานประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ซึ่งทางโรงพยาบาลธนบุรีผ่านการรับรองครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 และผ่านการรับรอง 5 ครั้งติดต่อกัน รวมต่อ

โรงพยาบาลธนบุรี เรือธงเครือ THG โชว์ไฮเทค... รพ.ธนบุรี เปิดระบบลงทะเบียนด้วย AI ลดขั้นตอน ลดเวลาผู้ป่วย — โรงพยาบาลธนบุรี เรือธงเครือ THG โชว์ไฮเทค ใช้ AI บริการผู้ป่วย เปิดตัวระบบ Smart Registration...

บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาช... THG แต่งตั้ง "ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์" ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รพ.ธนบุรี — บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ประกาศแต่งตั้ง ศ.คลิ...

เจ้าประคุณสมเด็จพระศากยมุนี (รัฐ ซาเรือน)... รองสมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชา เสด็จประทับ ณ จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ — เจ้าประคุณสมเด็จพระศากยมุนี (รัฐ ซาเรือน) รองสมเด็จพระสังฆราชแห่งพระ...

โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก ข้อมูลโดย พญ.วนิดา พิสิษฐ์กุล กุมารแพทย์ โรงพยาบาลธนบุรี2 โรค มือเท้าปาก หรือ Hand Foot Mouth Disease (HFMD) เป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ตลอดทั้งปีมากที่สุดในหน้าฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus ติดต่อจากการสัมผัส สารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ...