สู้ภัยแล้ง ด้วยถั่วลิสงหลังนา สู่ 'ถั่วคั่วทรายหนองโน’ จ.อุดรธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  ปัจจุบัน ถั่วลิสงเป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรตามนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ทดแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยถั่วลิสงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญ ซึ่งต้นถั่วและเปลือกยังช่วยปรับสภาพดินทำให้ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ถั่วลิสงยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งผลสดและแปรรูป โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับแหล่งเพาะปลูกถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลิสง โดยในฤดูการผลิตปี 2562/63 (ถั่วหลังนา) มีเกษตรกร                 ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้งหมด 435 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกทั้งหมด 887 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกุดจับ  ซึ่งมีพื้นที่ 736 ไร่ หรือร้อยละ 83 ของพื้นที่ปลูกทั้งจังหวัด ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 289 กก./ไร่

สู้ภัยแล้ง ด้วยถั่วลิสงหลังนา สู่ 'ถั่วคั่วทรายหนองโน’ จ.อุดรธานี

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี (สศท.3) ติดตามสถานการณ์การผลิตถั่วลิสงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองโน บ้านหนองโน หมู่ 2 บ้านหนองโน ต.กุดจับ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี โดยสัมภาษณ์ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองโน (นางสมพร เจริญวัย) พบว่า เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2536 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 45 ราย โดยเกษตรกรมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งปี (ฤดูฝนและฤดูแล้ง) ประมาณ 388 ไร่ ให้ผลผลิต 102 ตัน/ปี ต้นทุนการผลิต 5,943 บาท/ไร่ เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ไทนาน 9 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีกลิ่นหอม รสชาติมัน เมล็ดเล็ก เหมาะสมสำหรับการทำถั่วคั่ว ระยะเวลาเก็บเกี่ยวถั่วลิสงช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และถั่วลิสงช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผลผลิตเฉลี่ย 262 กก./ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 3,227 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 30-35 บาท/กก. สู้ภัยแล้ง ด้วยถั่วลิสงหลังนา สู่ 'ถั่วคั่วทรายหนองโน’ จ.อุดรธานี

ด้านนางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าวเสริมถึงสถานการณ์ด้านตลาดว่า ปัจจุบันทางกลุ่มเป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากสมาชิกเกษตรกรและนำมาแปรรูปเป็นถั่วคั่วทราย โดยคัดถั่วที่มีคุณภาพ ส่วนถั่วที่ตกเกรดหรือขนาดเล็กจะมีพ่อค้ามารับซื้อนำไปแปรรูปขายภายในหมู่บ้าน และส่วนที่คัดเสีย เช่น ถั่วดำ เศษเปลือกที่เสียหาย ทางกลุ่มนำมาขายเป็นปุ๋ยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ถั่วลิสงที่นำมาแปรรูปเป็นถั่วคั่วทราย ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 117 บาท/กก. ทำให้กลุ่มได้ผลตอบแทนจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม 61 บาท/กก. นอกจากถั่วคั่วทรายซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายแล้ว ทางกลุ่มยังแปรรูปเป็นถั่วกระจก  ถั่วทอดสมุนไพร และถั่วเคลือบ โดยจำหน่ายผ่านหน้าร้านของกลุ่ม และร้านค้าต่าง ๆ ในจังหวัดอุดรธานี เช่น Top markets Lemon Farm ร้านฮาวมัชในสนามบินอุดรธานี เป็นต้น และผ่านทางออนไลน์ facebook กลุ่มแม่บ้านถั่วลิสงคั่วทรายบ้านหนองโน รวมถึงมีการ  ออกร้านตามงานต่างๆ อีกด้วย สู้ภัยแล้ง ด้วยถั่วลิสงหลังนา สู่ 'ถั่วคั่วทรายหนองโน’ จ.อุดรธานี

ทั้งนี้ ถั่วลิสงนับเป็นพืชทางเลือกของ จ.อุดรธานี ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากเป็นพืชที่มีอายุสั้น ปลูกได้ตลอดปี และใช้น้ำน้อย ซึ่งในช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับการเพาะปลูกข้าว ทำให้เกษตรกรปลูกถั่วลิสงในช่วงฤดูแล้งได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ และตลาดมีความต้องการต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองโนถือเป็นต้นแบบของวิสาหกิจชุมชนจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อพัฒนาผลผลิต สร้างรายได้ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นจนประสบความสำเร็จ ซึ่งในอนาคตทางกลุ่มมีแนวโน้มจะขยายพื้นที่ปลูกถั่วลิสงสำหรับนำมาแปรรูปเป็นถั่วคั่วทราย และเพื่อรองรับความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับเกษตรกรหรือท่านที่สนใจข้อมูลทางกลุ่มยินดีให้เข้ามาศึกษาดูงานได้ หรือขอคำปรึกษาได้ที่นางสมพร เจริญวัย ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองโนหมู่ที่ 2 บ้านหนองโน ต.กุดจับ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี โทร. 08 3339 8556


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามผลการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพเพื่อเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้สามารถผลิตพืชสมุนไพรและแมลงเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกาตรและสหกรณ์ ร่วมบูรณาการ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเกษตรกรรม กรมวิชาการเกษตร สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมอาชีพประมง เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ หนุนสร้างรายได้เกษตรกร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสห...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... 3 ปี ผลสำเร็จแปลงใหญ่ทุเรียนหนองโสน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วรวมกว่า 23.79 ล้านบาท — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กร...

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกร... ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร — ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...