ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์ราคายางพารามีทิศทางค่อนข้างดี เห็นได้จากราคายางเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมาทะลุเพดาน 62 บาท ต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา นับว่าเป็นข่าวดีที่พอสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศได้ในระดับหนึ่ง
แม้ว่าราคายางจะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่เกษตรกรชาวสวนยางอย่าง คุณวรรณา สุวรรณขำ บ้านเลขที่ 98/1 ม.5 ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จังหวัดนราธิวาส ไม่นิ่งนอนใจ แต่กลับมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้อย่างไม่น่าเชื่อ คุณวรรณา เล่าว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราที่มีความผันผวนต่อเนื่องหลายปี ทำให้ตนเองประสบปัญหาต่อรายได้ที่มาจากอาชีพการทำสวนยางพาราเพียงทางเดียว จึงเริ่มมองหาโอกาสในการสร้างรายได้ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพการทำสวนยาง เพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว
โดยตนเองมีสวนยางที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรชาวสวนยางกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในเขตรับผิดชอบของ กยท. ส.ระแงะ จึงได้ศึกษาค้นคว้าวิธีการเลี้ยงปูนาเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว โดยคุณวรรณา เริ่มทำการเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จำนวน 10 คู่ นำมาผสมพันธุ์ และนำแม่ปูนาที่ท้องแก่พร้อมวางไข่แยกบ่อเพื่อฟักเป็นตัว จากนั้นนำลูกปูนามาอนุบาลเป็นระยะเวลา 2 เดือน และนำไปเลี้ยงต่อในบ่อ อีก 2 เดือน ก็จะสามารถคัดเลือกปูที่มีขนาดตามที่ตลาดต้องการ มาขายได้ ในราคา 80 – 160 บาท ต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นน้ำพริกปู ขายในราคา กระปุกละ 40 – 60 บาท ถือเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอย่างเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งถือเป็นเกษตรกรชาวสวนยางรายแรกของจังหวัดนราธิวาสที่เลี้ยงปูนาในสวนยาง
คุณวรรณา เล่าต่อว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนพัฒนายางพารามาตรา 49 (3) จาก กยท. ในโครงการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสวนยางพาราแบบผสมผสาน จำนวน 100,000 บาท ไปติดตั้งระบบน้ำโซล่าเซลล์ใช้ในสวนผสมผสาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต ทำให้สามารถเลี้ยงปูนาในสวนยางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ลดแรงงาน ลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรได้มากยิ่งขึ้น
“อาชีพการทำสวนยางยังคงสร้างรายได้ แต่เราไม่ควรพึ่งพาแค่ราคายางเท่านั้น มองหาโอกาสและลงมือทำ เพราะต่อให้วันที่ราคายางถูกลง เราก็ยังอยู่ได้” คุณวรรณา กล่าวทิ้งท้ายพร้อมรอยยิ้ม
"บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" ("STA" หรือ "บริษัทฯ") แบ่งปันองค์ความรู้ "ทำยางไทยอย่างยั่งยืน" แก่เกษตรกร ผู้ค้ายาง และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ภายในงานปิดกรีดยาง ประจำปี 2568 จังหวัดพิษณุโลก จัดโดยการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดพิษณุโลก มุ่งส่งเสริมการทำยางคุณภาพดี ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับบอกแหล่งที่มาของยางได้ (Traceability) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมยางพาราไทยอย่างยั่งยืน พร้อมนำเสนอแอปฯ Sri Trang Friends ชูเทค
กยท. หนุนงบ 16 ลบ. ดันอาชีพเสริมชาวสวนยาง สอดรับนโยบายรัฐบาล สร้างรายได้ระยะยาวแก่เกษตรกร
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สนับสนุนงบตามมาตรา 49(5) รวม 16 ลบ....
NER ลงนาม MOU กยท. ยกระดับการพัฒนาการซื้อขายยางพารา
—
นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ (ที่2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ...
กลุ่มบริษัท TEGH จับมือ Apollo และ การยางแห่งประเทศไทย จ.ฉะเชิงเทรา จัดประชุม การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (FSC) ประจำปี 2565
—
บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลด...
กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นนำกลุ่มเกษตรสวนยางเยี่ยมชม IRPC และสวนตัวอย่าง
—
คุณปาณิสรา รัตนปัญญาโชติ รองประธานกรรมการบริหาร (ด้านโรงงานและการตลาด) กลุ่มบริษัทอ...
ชาวสวนยางกาญจนบุรียังกรีดยาง-ขายยางได้ตามปกติหลังประกาศปิดพื้นที่ควบคุม COVID กยท. พร้อมดันมาตรการชะลอขายยางหากสถานการณ์ยืดเยื้อ
—
การยางแห่งประเทศไทย (กย...
จ่ายแน่ ประกันรายได้ยาง ระยะ2 งวดสุดท้าย 30 เม.ย. นี้
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดตัวเลขจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะ 2 งวดที่ 6 จ่าย 150...
กยท. ลงนาม MOU ทางธุรกิจร่วม บริษัท ท่าฉางรับเบอร์ มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการน้ำยางสด เพิ่มมูลค่ายาง
—
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่า...
กยท. เผย โครงการประกันรายได้ฯ งวด 5 ไม่ต้องชดเชยส่วนต่าง เหตุราคายางพาราอ้างอิงในตลาดสูงกว่าราคายางที่รัฐประกันทุกชนิด
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยควา...