ครม.ไฟเขียว เปิดโควตานำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 64 - 66 พร้อมช่วยชาวสวนมะพร้าว กำหนดมาตรการเซฟการ์ด ห้ามนำเข้าเกิน 3.35 แสนตัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ว่า จากที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 รับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ ในเรื่องการเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลือง รวมทั้งเห็นชอบมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG) สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี 2563 นั้น

ครม.ไฟเขียว เปิดโควตานำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 64 - 66 พร้อมช่วยชาวสวนมะพร้าว กำหนดมาตรการเซฟการ์ด ห้ามนำเข้าเกิน 3.35 แสนตัน

การเปิดตลาดและบริหารการนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลือง พิกัดอัตราศุลกากร 2304.00.90 รหัสย่อย 02 เฉพาะที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อมนุษย์บริโภค และรหัสย่อย 29 เฉพาะที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ คราวละ 3 ปี (ปี 2564 – 2566) ในกรอบ WTO ได้แก่ JTEPA , AKFTA และ TCFTA รวมปริมาณ 230,559 ตัน ได้กำหนดภาษี ในโควตาร้อยละ 10 และนอกโควตาร้อยละ133 ส่วนกรอบการค้าอื่นๆ ตามความตกลง เช่น AFTA ไม่จำกัดปริมาณการนำเข้าภาษี 0% ส่วน TAFTA และ TNZCEP ภาษี 0% ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าและไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรการบริหารการนำเข้า ขณะที่หากนำเข้าจากประเทศนอกความตกลงภาษี 6% และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 2,519 บาท ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีวัตถุดิบใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากจนเกินความต้องการใช้ในประเทศ ครม. จึงเห็นชอบมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG) ภายใต้ความตกลง WTO และ AFTA สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี 2563 เพื่อเป็นมาตรการคู่ขนานตามข้อเรียกร้องเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกำหนดกฎระเบียบการนำเข้ามะพร้าวทั้งกะลา มะพร้าวอ่อน และมะพร้าวอื่นๆ (พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.00 0801.19.10 และ 0801.19.90 ตามลำดับ) ให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งกรอบความตกลง WTO และ AFTA

สำหรับการนำเข้ามะพร้าวภายใต้กรอบความตกลง WTO กำหนดให้นำเข้ามะพร้าวได้ 2 ช่วง รวม 6 เดือน คือ มกราคม - กุมภาพันธ์ และกันยายน - ธันวาคม (จากเดิม มกราคม-พฤษภาคม และ พฤศจิกายน-ธันวาคม) โดยกรอบความตกลง WTO นอกโควตาไม่กำหนดช่วงเวลานำเข้า ส่วนการนำเข้ามะพร้าวผลตามความตกลง AFTA กำหนดช่วงเวลานำเข้า 4 เดือน คือ กันยายน - ธันวาคม 2563 โดยจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ หากมีการนำเข้าเกินกว่าปริมาณ trigger volume ที่กำหนด คือ 335,926 ตัน จะมีการปรับภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54 เป็น ร้อยละ 72 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช อย่างไรก็ตาม หากพบว่า ปริมาณมะพร้าวในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการและการนำเข้ามะพร้าวไม่กระทบต่อราคาที่เกษตรกรได้รับ อาจพิจารณาไม่บังคับใช้มาตรการ SSG ซึ่งทางกรมศุลกากรจะเป็นผู้รายงานข้อมูลให้แก่ สศก. ต่อไป

จากการคาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวที่ออกสู่ตลาด พบว่า ปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 0.837 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 1.417 ล้านตัน ทำให้ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวมีวัตถุดิบไม่เพียงพอในการผลิต ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลงของ AFTA ปี 2563 จำนวน 15 ราย ซึ่งจะสามารถนำเข้ามะพร้าวผลได้หลังจากกรมการค้าต่างประเทศออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอและการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับเมล็ดถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ จะมีการเผยแพร่บนเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ และการอนุญาตให้มีการนำเข้าดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว (กันยายน - ธันวาคม 2563) เป็นช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคามะพร้าวผลแห้ง (ใหญ่) ที่เกษตรกรขายได้ในปี 2563 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 11.50 – 16.50 บาท/ผล


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...

หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคต... ผู้บริหาร TQR ขยันสุดๆ — หุ้นนายหน้าประกันภัยต่อรายแรกของไทย…อนาคตสดใส ต้องยกให้กับ บมจ.ที คิว อาร์ (TQR) เดินหน้าคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา...

ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ... TQM ร่วมมอบประกันอุบัติแก่เกษตรกรไทย ในโครงการ "คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา" — ดร.อัญชลิน พรรณนิภา ประธานกรรมการ บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (...