คุณมีบัญชีออนไลน์นิรนามหรือไม่ ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกยืนยันว่าคุณไม่ได้มีบัญชีนิรนามคนเดียว
ผู้ใช้ออนไลน์จำนวนมากกว่า 3 ใน 10 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ยอมรับว่ามีโปรไฟล์โซเชียลมีเดียโดยไม่ใช้ชื่อจริง ภาพถ่ายจริง หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information หรือ PII) งานวิจัย "Digital Reputation" จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,240 คนจากภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของการไม่เปิดเผยตัวตนถูกใช้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 35% ตามด้วยเอเชียใต้ 28% และออสเตรเลียที่ 20%
แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ออนไลน์ต้องการรักษาตัวตนมากที่สุดคือ Facebook (70%), YouTube (37%), Instagram (33%) และ Twitter (25%)
ความรู้สึกแวบแรกเรื่องการใช้ "โปรไฟล์ไร้ชื่อและไร้ใบหน้า" นั้นมีสองแง่มุม ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า ข้อมูลนิรนามทำให้ผู้ใช้ออนไลน์แต่ละคนสามารถไขว่คว้าสิ่งต่างๆ ตามความสนใจของตน รวมถึงการพูดและแสดงความคิดเห็นอย่างได้เสรี แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำกิจกรรมที่มุ่งร้ายและเป็นอันตรายได้เช่นกัน
ผู้เข้าสำรวจเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ระบุว่ามีบัญชีที่ไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อใช้เสรีภาพในการพูด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ในขณะที่ 48% ต้องการที่จะดื่มด่ำกับสิ่งที่ชอบอย่างลับๆ ที่ไม่อยากให้เพื่อนรู้
ผู้เข้าสำรวจจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (34%) ยังใช้บัญชีนิรนามเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับใครบางคนหรือข่าวออนไลน์โดยไม่ใช้ตัวตนจริง แม้ว่าผู้ใช้ 30% จะใช้บัญชีโซเชียลมีเดียที่ไม่ระบุชื่อสำหรับกิจกรรมที่ไม่เป็นอันตรายในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับศิลปินที่ชื่นชอบและความสนใจต่างๆ แต่ก็ยังพบว่าผู้ใช้ 22% มีส่วนร่วมในการสะกดรอยทางออนไลน์ด้วย
มีผู้ใช้เพียงส่วนน้อย (3%) ที่ระบุว่าใช้บัญชีไม่ระบุตัวตนเพื่อเบี่ยงเบนอีเมลสแปมจากบัญชีจริง หลีกเลี่ยงการโดนเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหาย (หรือ doxing) รวมถึงการใช้บัญชีนิรนามเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การเล่นเกม และการป้องกันไม่ให้หน่วยงานภายนอกเข้าถึงบัญชีอีเมลจริงของตน
ประเด็นสำคัญของการค้นพบนี้คือผู้บริโภคใน APAC เริ่มตระหนักถึงชื่อเสียงที่สร้างขึ้นทางออนไลน์ และความสำคัญต่อชีวิตจริงของตนมากขึ้น จากพื้นฐานดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 49% จะตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์หรือบริษัทก่อนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ
ประเด็นที่น่าสังเกตสำหรับธุรกิจ คือผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากกว่าครึ่ง (51%) เน้นย้ำถึงความสำคัญของชื่อเสียงทางออนไลน์ของบริษัท เกือบ 5 ใน 10 คน (48%) ยืนยันว่าตนได้หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีเรื่องอื้อฉาวหรือได้รับข่าวเชิงลบทางออนไลน์
นอกจากนี้ 38% ยังเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทหรือแบรนด์ที่เข้าไปพัวพันกับวิกฤตบางอย่างทางออนไลน์ เกือบครึ่งหนึ่ง (41%) ยังเปิดเผยด้วยว่าชื่อเสียงของผู้รับรองแบรนด์มีผลต่อมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์
เมื่อถามถึงความโปร่งใสของแบรนด์บนเพจออนไลน์ ผู้ใช้ใน APAC จำนวน 50% คิดว่าบริษัทต่างๆ ไม่ควรลบความคิดเห็นเชิงลบในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัท
นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "จากจุดประสงค์แรกเริ่มในการค้นหาและเชื่อมต่อกับเพื่อนและครอบครัว โซเชียลมีเดียมีการพัฒนาและจะพัฒนาต่อไปในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการเข้าสังคมและระบุตัวตนซึ่งกันและกัน แต่ตอนนี้เรามาถึงจุดแยกบนถนนที่มีการใช้โปรไฟล์เสมือนของทั้งบุคคลและบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสิน"
นายโยวกล่าวเสริมว่า "การสำรวจล่าสุดของเรายืนยันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคเชื่อมั่นบริษัทต่างๆ โดยยึดจากชื่อเสียงทางออนไลน์ เหมือนกับที่พฤติกรรมของบุคคลบนโซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการกำหนดคะแนนเครดิต เพื่อคัดกรองความสามารถในการจ้างงาน และการอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอวีซ่า จากผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริงเหล่านี้ เราต้องเรียนรู้การปรับสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเพื่อให้สามารถรักษาชื่อเสียงดิจิทัลที่สำคัญยิ่งขึ้นของเราได้"
เพื่อช่วยผู้บริโภคในการปกป้องชื่อเสียงทางออนไลน์ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนที่เราทุกคนสามารถทำได้เพื่อให้ได้รับการปกป้องและปลอดภัยทางออนไลน์ ดังนี้
ทีม Kaspersky ICS CERT ค้นพบแคมเปญที่กำหนดเป้าหมายโจมตีองค์กรอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้โจมตีใช้บริการคลาวด์ที่ถูกกฎหมายเพื่อจัดการมัลแวร์และใช้แผนการส่งมอบมัลแวร์หลายขั้นตอนที่ซับซ้อนโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ทำให้สามารถแพร่กระจายมัลแวร์ในเครือข่ายขององค์กรที่เป็นเหยื่อ ติดตั้งเครื่องมือการดูแลระบบระยะไกล จัดการอุปกรณ์ ขโมยและลบข้อมูลที่เป็นความลับได้ แคมเปญ SalmonSlalom นี้มุ่งเป้าไปที่หน่วยงานของรัฐและองค์กรอุตสาหกรรมในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้
ครั้งแรก! Kaspersky เตรียมเปิดเวทีงานประชุมความปลอดภัยไซเบอร์ภาคอุตสาหกรรมใน APAC
—
แคสเปอร์สกี้ประกาศจะจัดงาน "Kaspersky Industrial Cybersecurity Confere...
Kaspersky APAC Cybersecurity Weekend 2024 ระบุภัยคุกคามใหม่และความท้าทายที่ขับเคลื่อนโดย AI
—
งานประชุมสุดยอดด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของแคสเปอร์สกี้ในศรีลัง...
Kaspersky ชี้ ค้าปลีกใน APAC โดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์
—
จากการศึกษาล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) สำหรับสถิติระดับโลก พบว่า องค์กรโ...
แคสเปอร์สกี้ชวนส่องพฤติกรรมช้อปปิ้งใน APAC พบ 93% รอเปย์ช่วงลดกระหน่ำ
—
ผลการสำรวจระดับโลกใหม่ล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เรื่อง 'The Super Sale Gam...
Kaspersky เผย องค์กรธุรกิจใน APAC เกินครึ่ง เลือกลงทุนเอ้าต์ซอร์สด้านความปลอดภัยไซเบอร์
—
ผลสำรวจฉบับใหม่จากแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ระบุว่า ผู้นำองค์กรต่...
Kaspersky เผย การละเมิดความปลอดภัยข้อมูลโดยพนักงานใน APAC อันตรายพอๆ กับการโดนแฮก
—
การละเมิดนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรโดยพนักงานนั้นอันตรายพอๆ กับก...
โรงเรียนนานาชาติไบรท์ตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ ได้รับการยอมรับระดับโลก! ติดอันดับโรงเรียนชั้นนำเอเชียแปซิฟิกโดย Spear'S
—
โรงเรียนนานาชาติไบรท์ตัน คอลเลจ กรุงเท...
'สัตว์เลี้ยง' MVP ตัวจี๊ดของการเดทยุคนี้
—
ในโลกของการเดทออนไลน์ สัตว์เลี้ยงไม่ใช่แค่เพื่อนซี้สุดน่ารัก แต่ยังเป็นไอซ์เบรกเกอร์ เป็นตัวช่วยในก...