Kaspersky ชี้ ค้าปลีกใน APAC โดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์

27 Dec 2023

จากการศึกษาล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) สำหรับสถิติระดับโลก พบว่า องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เหมาะสม (25%) อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากที่สุดในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา

Kaspersky ชี้ ค้าปลีกใน APAC โดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์

 

การสำรวจล่าสุดยังเผยให้เห็นว่าบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 19% ประสบปัญหาทางไซเบอร์ เนื่องจากการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่เพียงพอในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงเรื่องการเงินของบริษัท เกือบหนึ่งในห้า (16%) ยอมรับว่า ไม่มีงบประมาณสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ

แคสเปอร์สกี้ได้ทำการศึกษา[1] เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านไอทีที่ทำงานให้กับ SME และเอ็นเทอร์ไพรซ์ต่างๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในบริษัท การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยพิจารณาทั้งพนักงานภายในและผู้รับเหมาภายนอก นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ผลกระทบที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในแง่ของการจัดสรรงบประมาณ มีการสำรวจผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด 234 ราย

การกระจายงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทำให้บริษัท 19% ต้องทนต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สถานการณ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น องค์กรค้าปลีกประสบปัญหาการละเมิดทางไซเบอร์มากที่สุดเนื่องจากขาดงบประมาณ (37%) ตามมาด้วยบริษัทโทรคมนาคม (33%) และภาคโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ พลังงาน น้ำมัน และก๊าซ (23%)

นายเอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "คาดว่าอีคอมเมิร์ซจะมีมูลค่า 2.05 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในตลาดเอเชียแปซิฟิกภายในสิ้นปี 2566 การค้าปลีกเป็นอุตสาหกรรมที่ประสบกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์อย่างมาก เนื่องด้วยอาชญากรไซเบอร์จะติดตามเส้นทางการเงิน บริษัทค้าปลีกเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวด้านดิจิทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและเป็นขุมทรัพย์ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลด้านการเงิน"

"การศึกษาล่าสุดของเราพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้คุกคามรู้ว่าจะกำหนดเป้าหมายโจมตีบริษัทใด รู้ข้อมูลที่ต้องการ และรู้ว่าจะหาได้จากที่ไหน ผมขอสนับสนุนให้ทุกอุตสาหกรรมในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่จัดการข้อมูลสำคัญ ให้จัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีขึ้น เพื่อความปลอดภัยของธุรกิจของตน และที่สำคัญที่สุดคือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า" นายเฮียกล่าวเสริม

ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมบางกลุ่มก็ประสบเหตุการณ์ทางไซเบอร์จำนวนน้อยกว่า อย่างอุตสาหกรรมการผลิตประสบปัญหาทางไซเบอร์ 11% เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ ส่วนการขนส่งและโลจิสติกส์พบการโจมตี 9%

เมื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (83%) กล่าวว่า ตนมีความพร้อมที่จะตามทันหรือแม้กระทั่งนำหน้าภัยคุกคามใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม พบว่ามีบริษัท 16% ทำงานได้ไม่ดีนัก และบริษัท 15% รายงานว่า ตนมีเงินทุนไม่เพียงพอที่จะปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทอย่างเหมาะสม

ในขณะเดียวกัน ยังมีบริษัทที่ไม่มีการจัดสรรต้นทุนสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เลย โดย 2% อ้างว่าไม่มีงบประมาณเฉพาะสำหรับความจำเป็นในการป้องกันทางไซเบอร์

ในแง่ของการกระจายเม็ดเงินสำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้น อุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก คือบริการทางการเงิน โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 100% ที่ทำงานในส่วนนี้ระบุว่าองค์กรของตนพร้อมจะตามทันและนำหน้าภัยคุกคามใหม่ๆ ทั้งหมด

บริษัทของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกระตือรือร้นที่จะดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ของตนในอีก 1-1.5 ปีข้างหน้า หนึ่งในการลงทุนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือซอฟต์แวร์ตรวจจับภัยคุกคาม (46%) และการฝึกอบรม โดยบริษัทครึ่งหนึ่ง (50%) วางแผนที่จะจัดสรรงบประมาณโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และ 46% สำหรับการฝึกอบรมพนักงานทั่วไป

มาตรการยอดนิยมอื่นๆ ที่องค์กรวางแผนจะดำเนินการในเร็วๆ นี้ ได้แก่ การเปิดตัวซอฟต์แวร์ป้องกันอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์ (42%) การจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเพิ่มเติม (37%) และการนำโซลูชันคลาวด์ SaaS มาใช้ (45%)

นายอิวาน วาสซูนอฟ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์องค์กร แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า "ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ จะต้องจัดการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และถือว่าความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในเป้าหมายทางธุรกิจ แน่นอนว่าการลงทุนจะต้องมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแผนกรักษาความปลอดภัยข้อมูลยังต้องเผชิญกับภารกิจในการเพิ่ม ROI ของการลงทุนในความปลอดภัยข้อมูลและปกป้องการลงทุนให้กับผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการบริหาร นอกจากนี้ นอกเหนือจากการลด MTTD และ MTTR แล้ว การรักษาความปลอดภัยข้อมูลยังได้รับมอบหมายให้ลดต้นทุนของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยอีกด้วย"

"ความท้าทายเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้วิธีการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ตัวอย่างเช่น แคสเปอร์สกี้กำลังลงทุนในการพัฒนาพอร์ตโฟลิโอ SASE ของเรา รวมถึง XDR และ MDR ที่มี AI และ Machine Learning แบบบูรณาการ การตรวจจับและตอบสนองอัตโนมัติ การตรวจสอบภัยคุกคามอัตโนมัติ การบูรณาการแบบพร้อมใช้ทันทีที่แกะกล่อง และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใสของกระบวนการและพิสูจน์คุณค่าของโซลูชันของเรา เรายังจัดทำแดชบอร์ดและรายงาน C-level สำหรับ CISO ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเหตุการณ์ที่เราป้องกัน ความรวดเร็วในการตรวจสอบเหตุการณ์ และประสิทธิภาพของโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ปรับใช้ นอกจากนี้เรายังเน้นป้องกันความเสี่ยงของลูกค้าโดยเฉพาะ และแสดงแนวโน้มของอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้ลูกค้ากำหนดรูปแบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้โดยการกำหนดเป้าหมายการป้องกันตามภัยคุกคามที่มีในปัจจุบัน พร้อมปรับการลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็น"

รายงานฉบับเต็มและข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในธุรกิจ สามารถดูได้จากลิงก์นี้ https://www.kaspersky.com/blog/human-factor-360-report-2023/

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำวิธีการเพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุดจากงบประมาณที่มี ดังนี้

  • การใช้ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย Advanced Anomaly Control เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Response Optimum ซึ่งจะช่วยป้องกันกิจกรรม 'ที่ไม่ปกติ' ที่อาจเป็นอันตรายซึ่งเริ่มต้นโดยผู้ใช้หรือโดยผู้โจมตีที่ได้เข้าควบคุมระบบแล้ว
  • การใช้โซลูชั่นที่จัดการได้ง่าย Kaspersky Endpoint Security Cloud ได้รับการออกแบบมาสำหรับองค์กรขนาดเล็กหรือบริษัทที่ยังไม่มีงบประมาณสำหรับผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จำนวนมาก คอนโซล SaaS ที่โฮสต์แบบ all-in-one ช่วยให้ผู้ดูแลระบบเพียงคนเดียวก็สามารถจัดการงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่หลากหลายได้จากที่เดียว ด้วยขั้นตอนการทำงานที่เรียบง่ายและง่ายต่อการควบคุม
  • ลงทุนด้านการฝึกอบรมสำหรับทุกคนในบริษัท ตั้งแต่พนักงานทั่วไปไปจนถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจ การฝึกอบรม Kaspersky Automated Security Awareness Platform จะสอนพนักงานเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และรวมถึงการจำลองการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ในเวลาเดียวกัน การฝึกอบรมออนไลน์ของ Kaspersky Cybersecurity for IT Online จะช่วยสร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัยด้านไอทีที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ และสถานการณ์การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ดูแลระบบไอทีทั่วไป ในขณะที่ Kaspersky Expert Training จะช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยมีความรู้และทักษะล่าสุดในการจัดการและการบรรเทาภัยคุกคาม เพื่อปกป้ององค์กรจากการโจมตีที่ซับซ้อนที่สุด และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เพื่อพัฒนาความเข้าใจของผู้มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ และวิธีที่ดีที่สุดในการกระจายงบประมาณเพื่อก้าวนำหน้าภัยคุกคาม ให้ผู้บริหาร C-level มีส่วนร่วมกับ Kaspersky Interactive Protection Simulation เพื่อปรับปรุงการศึกษาระดับมืออาชีพเช่นกัน
  • พิจารณาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น Kaspersky Assessments family of professional services ที่จะช่วยระบุช่องว่างด้านความปลอดภัยในการกำหนดค่าระบบต่างๆ และการออกแบบสถาปัตยกรรมความปลอดภัยจะช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยด้านไอทีที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับบริษัท ทุกขั้นตอนการดำเนินการนั้นมีพื้นฐานมาจากความต้องการด้านความปลอดภัยที่แท้จริง ทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีข้อโต้แย้งที่น่าเชื่อถือในการจัดสรรงบประมาณ
  • ศึกษาเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีใช้จ่ายด้านไอที ผ่าน 'Cybersecurity on a budget' ของแคสเปอร์สกี้ ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เกี่ยวกับวิธีใช้จ่ายด้านไอทีในงบที่น้อยลง โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยไซเบอร์

[1] การสำรวจได้ดำเนินการใน 19 ประเทศ ได้แก่ บราซิล ชิลี จีน โคลอมเบีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ สเปน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

Kaspersky ชี้ ค้าปลีกใน APAC โดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit