ในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวไร่สับปะรดเฝ้าระวังโรคยอดเน่ารากเน่า ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสับปะรด อาการที่ต้น ใบยอดมีสีซีด โคนใบหรือฐานใบเน่าช้ำมีสีขาวอมเหลืองขอบแผลสีน้ำตาล และส่งกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว เมื่อดึงส่วนยอดจะหลุดได้โดยง่าย ถ้าอาการรุนแรงกลุ่มใบตรงกลางต้นจะหักล้มพับลงมา อาการที่ราก เริ่มแรกมีอาการใบสีซีดคล้ายอาการที่ต้น ใบด้านล่างจะนิ่มกว่าปกติ และแห้งตายลามเข้ามาจากปลายใบ ต้นชะงักการเจริญเติบโต รากมีแผลสีน้ำตาล เปื่อย และเน่า หากดึงจะหลุดออกมาจากดินได้โดยง่าย อาการที่ผล ผลมีขนาดเล็ก ผลจะเน่าเป็นจุดสีเขียวเข้ม เมื่อผ่าดูภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเป็นสีน้ำตาล
เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรคยอดเน่ารากเน่า ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล อัตรา 50-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 1 เดือน จำนวน 2 ครั้ง หรือให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค จากนั้นให้โรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง
หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้นำส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายทันที หากเกษตรกรจะปลูกสับปะรดในฤดูถัดไป ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง กรณีเกิดน้ำท่วมขังควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงโดยเร็ว และให้เลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค ก่อนปลูก เกษตรกรควรแช่จุกหน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล อัตรา 50-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15-20 นาที
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรูในปีที่ผ่านมาทำให้จังหวัดศรีสะเกษเจอสถานการณ์ลมแรงและฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากมีน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย จึงได้สั่งการให้ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดศรีสะเกษออกให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบหลังจากน้ำลดเพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่ประสบภัย และมอบปัจจัยการผลิต โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก ในพื้นที่ อำเภอกันทรารมย์ อำ
กรมวิทย์ฯ บริการ เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพยางแท่ง เอสทีอาร์ (STR) ตามมาตรฐานสากล
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ศูนย์ทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์
—
นายภัสชญภณ ...
กรมวิชาการเกษตร ลุยถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันจาวมะพร้าว สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ตั้งเป้าบุกตลาดพรีเมียมภายใต้แบรนด์สินค้าชุมชน
—
นางสาวศุภมาศ...
กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าผลักดันระบบบริหารงานวิจัย สู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
กรมวิชาการเกษตร ปลื้มเทคโนโลยีปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ดินเค็ม ให้ผลผลิตคุณภาพรสชาติหอมหวาน
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ก...
กรมวิชาการเกษตร จัดใหญ่โชว์งานวิจัยใช้ได้จริง พร้อมเปิดเวทีจัดกิจกรรมสาธิตสร้างอาชีพเสริม ดีเดย์พร้อมเปิดงาน 31 ม.ค. นี้
—
กรมวิชาการเกษตร ขนทัพจัดเต็มนำผ...
กรมวิชาการเกษตร เปิดพิพิธภัณฑ์พืชชวนผู้สนใจเข้าชม "หนังสือเก็บพันธุ์ตัวอย่างพรรณไม้เล่มแรกของไทย" มรดกแห่งความรู้ด้านพฤกษศาสตร์
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์...
กรมวิชาการเกษตรเดินสายถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับเพาะเลี้ยงไข่ผำ อาหารแห่งอนาคต ด้วยมาตรฐาน GAP
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ป...
กรมวิชาการเกษตร ผนึกความร่วมมือ เจียไต๋ ขับเคลื่อนเกษตรยุคใหม่ เสริมแกร่งภาคเกษตรไทย พัฒนานวัตกรรม และเครื่องจักรกลการเกษตร
—
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิ...