ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กยท. โดยสถาบันวิจัยยาง ได้คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ยางพาราใหม่ตามกระบวนการขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จได้ยางพาราพันธุ์ RRIT 3904 เข้าสู่คำแนะนำพันธุ์ยาง พร้อมขยายส่งมอบสู่เกษตรกร โดยยางพันธุ์นี้ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี รวมถึงให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 400 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 ถึง 2 เท่าตัว โดยพันธุ์ RRIT 3904 นี้ ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ RRII 203 และ PB 235 นอกจากมีความโดดเด่นด้านผลผลิตน้ำยางแล้ว ยังเด่นด้านการเจริญเติบโต ลำต้นตรงแตกกิ่งน้อยทำให้ได้ปริมาณเนื้อไม้มากเมื่อตัดโค่น ใบเขียวเข้ม ค่อนข้างต้านทานต่อโรคทางใบ เช่น โรคราแป้ง โรคไฟทอปธอร่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานจากประเทศมาเลเซียว่ายางพันธุ์ PB 235 ซึ่งเป็นพ่อของยางพันธุ์นี้ได้รับผลกระทบจากโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา น้อยกว่าเมื่อเทียบกับยางพันธุ์อื่นๆ ซึ่ง อยู่ระหว่างสำรวจและติดตามผลกระทบของโรคใบร่วงชนิดใหม่ต่อยางพันธุ์นี้ด้วย และหวังว่าลักษณะเด่นด้านการต้านทานโรคใบร่วงชนิดใหม่จากพันธุ์พ่อ จะถ่ายทอดมาสู่ลูก
ดร. กฤษดา กล่าวด้วยว่า ยางพันธุ์ RRIT 3904 ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์เบื้องต้น เปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น และเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 แหล่งปลูก และมีการปลูกทดสอบสาธิตในหลายพื้นที่ รวมแล้วใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี ตามขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ ข้อมูลผลการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ดีทุกพื้นที่ ทีมวิจัยจึงมั่นใจในศักยภาพของยางพันธุ์นี้ ที่จะขยายผลสู่เกษตรกรเพื่อปลูกทดแทนยางพันธุ์เดิม ขณะนี้มีเกษตรกรชาวสวนยางให้ความสนใจและปลูกยางพันธุ์ RRIT 3904 แล้วกว่า 1,000 ไร่
“สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ต้องการกิ่งพันธุ์ RRIT 3904 เพื่อนำไปขยาย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี เบอร์โทร 0-7738-1960-1 ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา เบอร์โทร 0-3813-6225-6 ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ เบอร์โทร 0-4466-6079 ศูนย์วิจัยยางหนองคาย เบอร์โทร 0-4249-0924 ได้ในวันและเวลาราชการ หรือติดต่อต้นพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ยางเพื่อการค้าที่ได้รับอนุญาต” ดร. กฤษดา กล่าวทิ้งท้าย
ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนพี่น้องเกษตรชาวสวนยางว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว ซึ่งโรคที่จะตามมาในช่วงหน้าฝนและส่งผลเสียต่อยางพาราหลักๆ ได้แก่ โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum โดยอาการของโรค ระยะแรกใบจะเป็นรอยสีเหลืองกลม ต่อมาจะเป็นลักษณะช้ำดำกลมขนาดใหญ่ และเนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นแห้งสีน้ำตาลซีด แผลเรียบโครงสร้างเนื้อเยื่อใบที่เป็นแผลแห้งยังคงสมบูรณ์ รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ ใบเหลือง ในสภาพที่เหมาะสม
กยท. เตือนฝนตกหนักน้ำท่วมสวนยาง กังวลไฟทอปโธรา ฉวยโอกาสช่วงอากาศชื้น แนะวิธีดูแลและป้องกัน
—
กยท. ห่วงใยชาวสวนยาง เตือนช่วงฝนตกหนักน้ำอาจท่วมขัง กังวลโรคไ...
กยท. เตือนย้ำ! ชาวสวนยางตั้งการ์ดสูง หมั่นดูแลสวนยางในช่วงฤดูฝน หวั่นโรคใบร่วงชนิดใหม่ หวนระบาดจากอากาศที่ร้อนและชื้น
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เตือนเก...
กยท. เผยสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราดีขึ้นเกือบ 100 % ย้ำชาวสวนยางการ์ดอย่าตก เชื้อร้ายอาจกลับมาอีก
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยสถานการณ์โรคใบร...
กยท. เผยสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราดีขึ้นเกือบ 100 % ย้ำชาวสวนยางการ์ดอย่าตก เชื้อร้ายอาจกลับมาอีก
—
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยสถานการณ์โรคใบร...
สถาบันวิจัยยาง กยท. ยกทัพ! ทีมนักวิจัย พนักงาน และลูกจ้าง ประจำการ ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
—
สถาบันวิจัย...
สถาบันวิจัยยาง กยท. ยกทัพ! ทีมนักวิจัย พนักงาน และลูกจ้าง ประจำการ ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
—
สถาบันวิจัย...
ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100 ล้าน
—
สำนักงานพัฒ...
STA สนับสนุน "ทำยางไทยอย่างยั่งยืน" ส่งต่อองค์ความรู้แก่เกษตรกร สหกรณ์ และผู้ค้ายาง ในงานปิดกรีดยาง ประจำปี 68 จ.พิษณุโลก
—
"บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี" ("...