คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) สนับสนุนให้อาจารย์นำความรู้ด้านวิศวกรรมพัฒนาและผลิตนวัตกรรมช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ระลอกแรกถึงปัจจุบัน โดยสนับสนุนงบประมาณ 1 ล้านบาทในสถานการณ์โควิด-19 ระลอกแรก และ 2 ล้านบาท สำหรับโควิด-19 ระลอกใหม่ รวม 3 ล้านบาท ภายใต้โครงการวิศวฯ ร่วมต้านภัย COVID-19 เพื่อผลิตนวัตกรรมที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ และส่งมอบแก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจรักษาผู้ป่วย พร้อมทั้งช่วยป้องกันโควิด-19 ให้กับทีมแพทย์และผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ
ผลงานนวัตกรรมต้านภัยโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมอาจารย์คณะวิศวฯ มก. ได้รับการตอบรับที่ดีจากทีมแพทย์ผู้ใช้งานจริง เช่น ตู้ความดันบวก Face Shield (อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า) ได้ใช้งานจริงในโรงพยาบาลกว่า 100 แห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลปทุมธานี และหุ่นยนต์พ่นละอองฆ่าเชื้อ ใช้งานจริงที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรณี COVID-19 กองทัพเรือ พื้นที่สัตหีบ (ส่วนหน้า) และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ จ.ชลบุรี ฯลฯ โดยคณะวิศวฯ ได้พัฒนาประสิทธิภาพของนวัตกรรมต้านภัยโควิด-19 อย่างต่อเนื่องจากคำแนะนำของทีมแพทย์
ตู้ความดันบวก มีหลักการทำงาน คือ แพทย์ผู้ตรวจจะอยู่ภายในตู้ตรวจ และผู้ป่วยอยู่ภายนอก โดยแพทย์จะเข้า-ออกตู้ตรวจผ่านประตูกระจก เพิ่มความปลอดภัย มั่นใจทั้งผู้ใช้งานและผู้เข้ารับการตรวจใช้ตรวจผู้ป่วยได้ 20-30 คน/ชั่วโมง/ตู้ ออกแบบและพัฒนาโดยทีมอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นำโดย ผศ.ดร.ประพจน์ ขุนทอง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รศ.ดร.วีรชัย ชัยวรพฤกษ์ ผศ.ดร.เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ ผศ.ดร.อรรถพร วิเศษสินธุ์ และ ผศ.ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์
Face Shield คณะวิศวฯ ผลิตโครง Face Shield จากเครื่องฉีดพลาสติกของศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ในปริมาณการผลิต 700-800 ชิ้น/วัน โดยมี ผศ.ดร.คุณยุต เอี่ยมสอาด ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นผู้ควบคุมการผลิต และมีบุคลากรตลอดจนนิสิตคณะวิศวฯ ร่วมประกอบแผ่นใสและยางยืด มีจุดเด่น คือ มีน้ำหนักเบา ปรับขนาดได้ และไม่เกิดฝ้าที่หน้ากาก
หุ่นยนต์พ่นละอองยาฆ่าเชื้อ พัฒนาโดย ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา และทีมนักวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นหุ่นยนต์สำหรับการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย ลดความเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานในการฉีดพ่นน้ำยา มีน้ำหนักเบา มีกล้องติดที่ตัวหุ่นยนต์ สามารถดูการปฏิบัติงานผ่านโทรศัพท์หรือจอขนาดเล็กได้ เหมาะสำหรับพื้นที่สาธารณะและบริเวณโดยรอบอาคาร
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตู้ความดันบวก https://www.eng.ku.ac.th/news/?p=5835
Face Shield https://www.eng.ku.ac.th/news/?p=5798
หุ่นยนต์พ่นละอองยาฆ่าเชื้อ https://www.eng.ku.ac.th/news/?p=5856
นายเจษฎ์กรณ์ มงคลศรีสวัสดิ กรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท สยามเทคนิคคอนกรีต จำกัด (มหาชน) หรือ STECH มอบเงินสนับสนุนให้นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีม Dongtaan Racing ประกอบด้วยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับทีม Dongtaan Racingในโครงการพัฒนาและสร้างรถฟอร์มูล่า ซึ่งล่าสุดเป็นตัวแทนประเทศไทยนำรถ Formula Student ไปคว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่น
STECH ลงนาม MOU ความร่วมมือทางวิชาการกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
—
นายเจษฎ์กรณ์ มงคลศรีสวัสดิ (กลาง) กรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาดและการข...
มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย สานต่อเจตนารมณ์ มอบทุนการศึกษา 1.3 ล้านบาท แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
—
มูลนิธิมิตซูบิชิ อิเล็คทริคไทย นำโดย นายเทสึยะ ชิ...
วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว...
ประชุมวิชาการวิศวกรรมแหล่งน้ำแห่งชาติ
—
ศ.ดร. วันชัย ยอดสุดใจ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด ...
UMI มอบเงินสนับสนุนจัดทำห้องประชุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
—
คุณปวีณา เหล่าวิวัฒน์วงศ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท สหโม...
ผู้บริหารบางจากฯ ร่วมแสดงทรรศนะ "SAF ทางเลือกใหม่กับอนาคตอุตสาหกรรมการบินของไทยสู่ยุคเศรษฐกิจสีเขียว" ในงานเสวนาวิชาการ 20th Aviation Talk
—
นายธรรมรัตน์ ...
สนุบสนุนจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
—
ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับมอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท จาก ชัยวัฒน์...