แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย ดร. ชานัน ติรณะรัต ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายแพทย์ สกล สุขพรหม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว ความสำเร็จของความร่วมมือในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสียโรงพยาบาล "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้นวัตกรรมในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสีย" โดยมี นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย นางณีรนุช อาภาจรัส ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม นายสุชาติ สุขเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้บริหาร บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กรมควบคุมมลพิษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมงาน
5 หน่วยงานหลักประกอบด้วย โรงพยาบาลพระนั่งเกล้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมควบคุมมลพิษ กรมอนามัย และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พาชมต้นแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบำบัดยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นกลุ่มยาหลักของยาต้านจุลชีพในน้ำเสีย ณ ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
การดื้อยาต้านจุลชีพ ถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ภัยคุกคามต่อสุขภาพโลก เป็นประเด็นท้าทายเพราะเป็นวิกฤติร่วมของทุกประเทศทั่วโลก ในปี 2562 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพสูงถึง 4.95 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตโดยตรงจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพประมาณปีละ 1.27 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ในปี 2558 สมัชชาอนามัยโลกได้รับรองแผนปฏิบัติการ "การดื้อยาต้านจุลชีพ" และขอให้ประเทศสมาชิกจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพ ในปี 2563 องค์การสหประชาชาติได้บรรจุเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพให้เป็นตัวชี้วัดภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่ SDG (Sustainable Development Goal) ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่แผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งในแผนฯ การดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย หมายถึง การดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรีย หรือยาต้านแบคทีเรีย หรือยาปฏิชีวนะ
กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จึงร่วมมือกันและมอบให้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาโครงการ"การบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสียโรงพยาบาลโดยใช้กระบวนการร่วมระหว่างโอโซนและถ่านกัมมันต์ที่ดัดแปรพื้นผิว" งานวิจัยได้พัฒนาระบบนวัตกรรมต้นแบบการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสีย โดยติดตั้งระบบต้นแบบที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบบำบัดทางชีวภาพ เข้าสู่ระบบโอโซนและถังกรองถ่านกัมมันต์ที่ดัดแปรพื้นผิว รองรับน้ำเสียได้สูงสุด 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สามารถลดการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะออกสู่สิ่งแวดล้อมมากกว่าร้อยละ 90 ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 4 บาทต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้นักวิจัยได้พัฒนาวิธีในการวิเคราะห์ยาปฏิชีวนะแต่ละกลุ่มทำให้การตรวจสอบได้ง่ายและราคาไม่แพง
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า "กรมอนามัยจึงเห็นความสำคัญของการจัดการต้นทาง คือ การลดการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ จะทำให้เชื้อดื้อยาจุลชีพลดลง ซึ่งส่งผลต่อการติดเชื้อลดลง ลดอัตราการตาย ลดค่ารักษาพยาบาล ประชาชนมีสุขภาพดี ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น"
ดร. ชานัน ติรณะรัต ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า "กลุ่มยาต้านแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะมีหลายประเภทและแต่ละประเภทมีสารเคมีหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ ระบบบำบัดทางชีวภาพสามารถบำบัดได้เพียงบางส่วน จึงปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อม การวิจัยถึงวิธีการบำบัดยาปฏิชีวนะน้ำเสียจึงสำคัญโดยเฉพาะน้ำเสียจากโรงพยาบาล"
ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า "คณะวิศวกรรมศาสตร์ เราได้คิดค้นเทคโนโลยีสำหรับน้ำเสียโรงพยาบาลที่สามารถบำบัดยาปฏิชีวนะได้มากกว่าร้อยละ 90 ดูแลง่าย และราคาไม่แพง นับเป็นนวัตกรรมที่มีความปลอดภัยสามารถขยายผลงานวิจัยเชิงปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี"
นายแพทย์ สกล สุขพรหม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า "โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน และพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมต้นแบบการบำบัดยาปฏิชีวนะให้แก่สถานพยาบาลทั่วประเทศ"
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า "เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นวิกฤติร่วมของทุกประเทศ การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบำบัดยาปฏิชีวนะถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสียโรงพยาบาล เพื่อลดเชื้อดื้อยาจุลชีพในสิ่งแวดล้อม"
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนช้อปสินค้าเกษตรแปรรูปคุณภาพดี งาน ""ยกไร่สุวรรณ" มาไว้ที่เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ตั้งแต่ 8-13 พฤษภาคมนี้
—
เดอะไนน์ เซ็...
สุดยอดศึกหุ่นยนต์อัจฉริยะ Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ปิดฉากสุดมันส์ เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพก้าวสู่เวทีโลก
—
การแข่งขัน Thailand Open ...
ราชภัฏรำไพฯ จับมือ ม.เกษตรฯ ยกระดับศักยภาพรอบด้าน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น
—
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส...
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025 ความร่วมมือ
—
รศ.ดร.ยศวีร...
ชมรมนิสิตเก่าม.เกษตรศาสตร์ จ.เพชรบุรี รวมพลังหัวใจรักษ์ทะเล! "Run for Ocean #4" วิ่งเพื่อโลก ฟื้นคืนชีวิตให้ทะเลไทย ณ บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
—
ช่วงเช้าตรู่ขอ...
สัมมนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR
—
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ British Council Thailand ขอเรียน...
มทร.กรุงเทพ จับมือ 4 มหาวิทยาลัยดัง และ วิทยุการบิน ยกระดับกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน
—
รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร....