วศ. ลงพื้นที่ภาคเหนือยกระดับ SME กระดาษสา ปรับปรุงกระบวนการผลิตตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี หัวหน้ากลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม พร้อม ทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่นำเทคโนโลยีช่วยแก้ไขปัญหาผู้ประกอบการ SME ด้านการผลิตเยื่อปอสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา เน้นช่วยพัฒนากระบวนการผลิตให้มีคุณภาพมีการควบคุมคุณภาพเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานและตรงตามความต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ณ จังหวัดเชียงใหม่ และสุโขทัย
การดำเนินการดังกล่าวฯ วศ. ให้ความสำคัญถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยผู้ประกอบการให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการ SME ด้านการผลิตเยื่อปอสาและกระดาษสาหลายโรงงานพบปัญหาไม่สามารถผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ ส่งผลกระทบให้เกิดการคืนสินค้า หรือสินค้ากระดาษสาที่ผลิตมีคุณภาพด้อยลงต้องจำหน่ายราคาต่ำและจำหน่ายได้เฉพาะในประเทศเท่านั้น อีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ไม่สามารถลงทุนในการวิจัยเพื่อหาทางแก้ไขในกระบวนการผลิต และไม่สามารถลงทุนในส่วนของห้องปฏิบัติการในการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ ดังนั้น วศ. จึงได้ลงพื้นที่นำเทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพ สีสัน และรูปแบบของกระดาษสาให้มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยเทคนิคด้านการทดสอบและสอบเทียบเครื่องทดสอบกระดาษสนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ โรงงานกระดาษ จำนวน 4 โรงงาน ที่ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยี ประกอบด้วย(1) บริษัท ซี.เอส.พี. เชียงใหม่ กระดาษสา จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ (2) บริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ (3) ห้างหุ้นส่วนสามัญ ศิริพร กระดาษสา จังหวัดเชียงใหม่ (4) บริษัท ก้วงไถ่สเปเชียลเปเปอร์ จำกัด จังหวัดสุโขทัย โดยทั้ง 4 บริษัท วศ. ช่วยแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งปรับตั้งและสอบเทียบเครื่องทดสอบกระดาษในห้องปฏิบัติการทดสอบของโรงงานให้เป็นไปตามสามารฐานสากล นอกจากนี้ยังรับโจทย์ความต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตมาทำการทดลองเพื่อหาสูตรการผลิตที่เหมาะสมด้วย
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (สบร.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "Assessor Training Course for PTP" เร่งสร้างผู้ประเมินด้านการรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ โดยนางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ ผอ.สบร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้จัดโปร
กรมวิทย์ฯ บริการ ประกาศความพร้อม!! เปิดให้บริการรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน "DSS Recognized Lab" ยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการไทย
—
กรมวิทยาศาสตร์บ...
กรมวิทย์ฯ บริการ เดินหน้าพัฒนาผู้ประเมิน เสริมองค์ความรู้ การควบคุมคุณภาพผลการวิเคราะห์ทดสอบด้านสิ่งแวดล้อม
—
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริ...
กรมวิทย์ฯ บริการ ประชุมวิชาการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอการพัฒนาองค์ความรู้ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทย์ฯ บริการ ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันจากกัญชง ณ จังหวัดนครราชสีมา
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรว...
กรมวิทย์ฯ หารือ GISTDA เร่งสร้างความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและระบบทดสอบมาตรฐานสากล ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศแห่งอนาคต
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ก...
กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนเทคโนโลยีพัฒนาผู้ประกอบการด้านกระดาษและบรรจุภัณฑ์รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ
—
เมื่อวันที่...
กรมวิทย์ฯ บริการ จับมือ อพวช. หนุนบุคลากร "พัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์" เสริมพลังการสื่อสารสร้างการรับรู้ เข้าใจ และเข้าถึงประชาชน
—
กรมวิทยาศาสตร์บริ...
กรมวิทย์ฯ บริการ หารือ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าผลักดันระบบบริหารงานวิจัย สู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพ
—
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสต...
กรมวิทย์ฯ บริการ หนุนนักวิจัย "นำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม: สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ"
—
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 กรมวิทยาศาสตร์บริกา...