Strip Test ชุดตรวจเนื้อสัตว์ต้องห้ามพร้อมกัน 5 ชนิดในอาหารฮาลาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

Strip Test ชุดตรวจสอบการปลอมปนเนื้อสัตว์ต้องห้ามในอาหารฮาลาลแบบฉับไว ใช้งานง่าย ได้ผลแม่นยำ ตรวจหาดีเอ็นเอสัตว์ได้ถึง 5 ชนิดพร้อมกันในการตรวจเพียงครั้งเดียว นวัตกรรมล่าสุดจากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

Strip Test ชุดตรวจเนื้อสัตว์ต้องห้ามพร้อมกัน 5 ชนิดในอาหารฮาลาล

อาหารปลอมปนเนื้อสัตว์ต้องห้ามในบทบัญญัติศาสนาเป็นข้อห่วงใยสำคัญของมุสลิมทั่วโลก จากสถิติสำรวจพบประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ตรวจพบเนื้อสุกรปลอมแปลงเป็นเนื้อวัว ในอินโดนีเซีย พบเนื้อหนูเจือปนในอาหาร และในเวียดนามพบเนื้อสุนัขปนเปื้อน ขณะที่ออสเตรเลียและมาเลเซียปรากฏอาหารฮาลาลปลอมปนเนื้อจิงโจ้ Strip Test ชุดตรวจเนื้อสัตว์ต้องห้ามพร้อมกัน 5 ชนิดในอาหารฮาลาล

การปลอมปนดังกล่าวไม่เพียงผิดข้อกำหนดทางศาสนาอิสลาม แต่ยังส่งผลด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

จากข้อห่วงใยข้างต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คิดค้น Strip Test ชุดตรวจหาเนื้อสัตว์ปลอมปนที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการผลิตอาหารสามารถตรวจสอบการปนเปื้อน ในอาหารได้ด้วยตัวเอง

"นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์ความกังวลเรื่องอาหารให้กับผู้บริโภคมุสลิมและบุคคลทั่วไปได้อย่างแน่นอน Strip Test อาศัยหลักการทำงานของการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอเป้าหมายจึงให้ผลตรวจสอบที่แม่นยำ ถูกต้อง 100% ภายใน 3 ชั่วโมง เร็วกว่าการส่งตัวอย่างไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการที่ปกติจะใช้เวลาหนึ่งถึงห้าวัน ทำการ นอกจากนี้ยังใช้งานง่าย ราคาถูกและสะดวกอีกด้วย" อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ กล่าว

นอกจากจะลดต้นทุนด้านเวลาในการตรวจสอบแล้วStrip Test ยังตรวจการปนเปื้อนของสัตว์ต้องห้ามในอาหารพร้อมกันในการตรวจเพียงครั้งเดียวได้ถึง 5 ชนิด ได้แก่ สุกร สุนัข แมว หนู และลิง ทั้งยังใช้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารได้ทั้งอาหารสด อาหารแปรรูป และวัตถุดิบอื่นๆ ด้วย

"เราอยากให้ผู้บริโภคมุสลิมและประชาชนทั่ว รวมทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารสามารถตรวจสอบอาหารได้ด้วยตัวเอง ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการเพื่อความปลอดภัยและสบายใจในการบริโภคอาหารฮาลาลของทุกคน" อาณัฐ เผยที่มาของการพัฒนาชุดตรวจ StripTest ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยี HRMA (High Resolution Melting Analysis) ที่ใช้อยู่ในห้องปฎิบัติการ นิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนสัตว์ต้องห้ามในอาหารฮาลาล 9 ชนิด ได้แก่ สุกร สุนัข แมว หนู ลิง ลา งู จระเข้ และกบ นอกจากนี้ที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ยังได้ให้บริการสาธารณะ อาทิ การตรวจสอบแหล่งที่มาของเจลาติน ตรวจสอบสัดส่วนกรดไขมัน และตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ปัจจุบันผู้ใช้ Strip Test ยังจำกัดแต่ผู้ประกอบการ หน่วยงานตรวจสอบฮาลาล และผู้บริโภคบางราย ที่มีพื้นความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แต่ในอนาคต ด้วยการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัท ทาเลโนเมะ ดีเอ็นเอ โปรเฟสเชอนัล จำกัด ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล นำทีมโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล และคณะผู้วิจัย หวังจะผลักดันให้นวัตกรรมนี้เข้าถึงมุสลิมและประชาชนทั่วไปโดยวางแผนจะจำหน่ายชุดตรวจ Strip Test ในราคา 300-500 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าการตรวจในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ถึง 10 เท่า

"นอกจากนี้ เราจะพัฒนาต่อยอดเป็นชุด Test kits แบบครบวงจรของการตรวจวัด ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถตรวจวัดผลได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ใช้ตรวจได้หน้างานจริง ผู้บริโภคสามารถใช้งาน ได้ง่าย เพียงอ่านคู่มือแล้วทำการทดสอบหาสัตว์ที่ปนเปื้อนในอาหารได้ด้วยตัวเอง" อาณัฐ กล่าวทิ้งท้าย


ข่าวศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล+ศูนย์วิทยาศาสตร์วันนี้

The Skinov'e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ

จากปุ๋ยสู่สูตรลับความงาม ทีมวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พบเปลือกกล้วยหอมทองปทุมมีสารลดการอักเสบจากสิวและฟื้นฟูผิวให้ชุ่มชื้น ต่อยอดเป็นสกินแคร์ "ฟิล์มใสรักษาสิว" เพิ่มทางเลือกผลิตภัณฑ์ธรรมชาติให้ผู้บริโภคและเป็นอีกหนึ่งช่องทางเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการเกษตร กล้วย ผลไม้พื้นถิ่นที่มีประโยชน์แทบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นใบ ลำต้น ดอก (ปลี) ผลที่หลายคนชอบและมักรับประทานเป็นประจำเพื่อบำรุงสุขภาพ และแม้กระทั่งเปลือก! อย่างเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ที่ทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ฮาลาล

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พัฒนา Halal R... Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล — ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พัฒนา Halal Route แอปพลิเคชันชี้พิกัดแหล่งร้านอาหาร ที่พัก มัสยิ...

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล... ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นำด้านการมาตรฐานและวิทยาศาสตร์ฮาลาลระดับโลก — ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อมโยงครัวไทยส...

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ... รมช.มนัญญา ประชุมหารือหน่วยงานด้านอาหารฮาลาล ผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยสู่สากล — นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเ...

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล... ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมจิตอาสา แจกอาหารฮาลาลฯ — ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันมาตรฐานฮาลาล แห่งประเทศไทย ร่วมกับ อิหม่...

"ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา... งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ฮาลาล (Halal Science Week 2019) ระหว่างวันที่ 1 – 8 สิงหาคม 2562 — "ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เชิญร่วมงาน "สัปดาห์...