ยูนิเซฟมอบเครื่องผลิตออกซิเจน 550 เครื่องเพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู้โควิด-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ยูนิเซฟมอบเครื่องผลิตออกซิเจน 550 เครื่อง มูลค่า 17 ล้านบาท เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทย โดยส่งมอบให้กระทรวงสาธารณสุขเพื่อกระจายแก่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ระบาดหนัก พร้อมกับเดินหน้าสนับสนุนประเทศไทยในด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19

ยูนิเซฟมอบเครื่องผลิตออกซิเจน 550 เครื่องเพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู้โควิด-19

นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า "การรับมือกับโควิด-19 ระลอกนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและช่วยเหลือคนกลุ่มเปราะบาง และด้วยการสนับสนุนจากผู้บริจาคและพันธมิตร ยูนิเซฟได้รวบรวมกำลังในการสนับสนุนบุคลากรด่านหน้า เพื่อที่พวกเขาจะได้ช่วยต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วยและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ และครอบครัวที่กำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งนี้" ยูนิเซฟมอบเครื่องผลิตออกซิเจน 550 เครื่องเพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู้โควิด-19

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา นอกจากการส่งมอบเครื่องผลิตออกซิเจนแล้ว ยูนิเซฟได้สนับสนุนภาคีทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • แจกจ่ายอุปกรณ์เพื่อสุขอนามัยกว่า 607,000 ชิ้น เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ สเปรย์แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ให้แก่เด็กและประชากรกลุ่มเปราะบางกว่า 275,000 คน
  • แจกจ่ายกล่องมหัศจรรย์และถุงมหัศจรรย์ 8,360 ชุด แก่เด็กในชุมชนยากจน เด็กที่ไม่มีผู้ดูแล เด็กที่ถูกกักตัวหรือแยกตัว (เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือติดเชื้อ) และเด็กข้ามชาติในชุมชนและแคมป์ก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบ โดยแต่ละชุดประกอบด้วย หนังสือ ของเล่น และอุปกรณ์การเรียนรู้ คู่มือสำหรับพ่อแม่/ผู้ดูแล เพื่อช่วยให้เด็กเล็กสามารถเรียนรู้ต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
  • สนับสนุนการจัดตั้งระบบรับมือกับโควิด-19 ในชุมชน สำหรับชุมชนคลองเตย ชุมชนคนรายได้น้อยในเมือง ชุมชนแรงงานข้ามชาติ และแคมป์ก่อสร้าง ซึ่งรวมถึงการจัดระบบการกักตัวและจัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กภายในชุมชน ระดมกำลังและอบรมอาสาสมัครในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 พร้อมติดตามและให้การดูแลผู้ติดเชื้อ รวมถึงการดูแลด้านสุขภาพจิต ประสานงานส่งต่อและอำนวยความสะดวกให้เด็กและครอบครัวได้เข้าถึงหน่วยบริการด้านสุขภาพ การคุ้มครองเด็ก ตลอดจนความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่จำเป็น
  • พัฒนาแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อลดการแยกเด็กออกจากครอบครัว โดยเน้นย้ำว่าเด็กไม่ควรถูกแยกจากพ่อแม่หรือผู้ดูแลในกรณีที่ต้องมีการกักตัวเมื่อติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19
  • ร่วมสนับสนุนการจัดตั้ง "ศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19" เพื่อให้ความช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูและเยียวยาเด็กและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งรวมถึงกรณีเด็กกำพร้า เด็กขาดผู้ดูแลระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองเข้ารับการรักษา เด็กป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา และเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา
  • สนับสนุนให้เด็กกำพร้าหรือเด็กที่สูญเสียผู้ดูแลหลักได้รับบริการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัว ซึ่งรวมถึงครอบครัวเครือญาติ ครอบครัวอุปถัมภ์ และครอบครัวบุญธรรม โดยหลีกเลี่ยงการส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อพัฒนาการของเด็กในระยะยาว
  • จัดการอบรมให้บุคลากรด่านหน้าเรื่องการให้ความช่วยเหลือดูแลสภาพจิตใจของเด็ก เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่กำลังเผชิญกับความเศร้าและการสูญเสีย
  • สนับสนุนการจัดอบรมผู้นำและสมาชิกชุมชน รวมถึงแรงงานข้ามชาติกว่า 8,000 คน เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 และการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และแคมป์ก่อสร้าง
  • แจกจ่ายคู่มือเรื่องโควิด-19 รวมถึงคู่มือการกักตัวที่บ้าน ทั้งในภาษาไทย เมียนมา และกัมพูชาให้แก่เด็กและผู้ใหญ่กว่า 180,000 คนในชุมชนกลุ่มเปราะบางและแรงงานข้ามชาติ

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+องค์การยูนิเซฟวันนี้

สมศักดิ์ ชูต้นแบบ NCDs Prevention Center 12 เขตสุขภาพ และโรงเรียนรักษ์ไต ล้านนา R1 พร้อมหนุน ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอระดับสูง รุ่นที่ 3 สานต่อนโยบายคนไทย ห่างไกล NCDs

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดและมอบเกียรติบัตรอำเภอขับเคลื่อนต้นแบบศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน (NCDs Prevention Center) ระดับเขตสุขภาพ 12 แห่ง และอำเภอขับเคลื่อนนำร่องโครงการขับเคลื่อนอำเภอสุขภาพดีส่งเสริมป้องกันรอบรู้เท่าทันโรคไตเรื้อรังอย่างยั่งยืน (Lanna Healthy Package Model) "โรงเรียนรักษ์ไต ล้านนา R1" จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. รุกเข้มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมการระบาดโรคลิชมาเนียในกรุงเทพฯ

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคลิชมาเนียในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งการรณรงค์ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจาก...

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จ... ให้การต้อนรับคณะกระทรวงสาธารณสุข — สุพัตรา จิราธิวัฒน์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักนโยบายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ...

พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavil... พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ — พิธีเปิดอาคารนิทรรศการไทย (Thailand Pavilion) สุดยิ่งใหญ่ นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ในงา...