"กล้วยไม้" ได้รับการยกย่องในฐานะ "ดอกไม้ประจำวันครู" จากคุณลักษณะที่คล้ายกับความเป็นครูที่ต้องใช้เวลาเฝ้าอบรมเคี่ยวเข็ญลูกศิษย์อยู่นาน กว่าจะได้เห็นลูกศิษย์ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ หากต้องการให้ได้ดอกที่งดงาม จะต้องมีการศึกษาเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจมาก่อนเป็นอย่างดี
เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยส่งออกกล้วยไม้เป็นอันดับ 1 ของโลกโดยมีมูลค่าถึง 2,000 ล้านบาทต่อปีซึ่งกล้วยไม้มีมากมายหลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สามารถย่อข้อมูลกล้วยไม้ที่มีมากมายมหาศาลมาอยู่ที่เพียงปลายนิ้ว
จากความหลงใหลในความงาม และความมากด้วยคุณค่าทางเศรษฐกิจของกล้วยไม้ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจสู่การสร้างสรรค์ผลงานแอปพลิเคชัน "ออคิเดเตอร์" ซึ่งได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2564 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผลงานโดยอาจารย์ ดร.วุฒิชาติ แสวงผลอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ ดร.วุฒิชาติ แสวงผล ได้อธิบายถึงแอปพลิเคชัน "ออคิเดเตอร์" ว่าพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการระบุสายพันธุ์และเชื่อมโยงข้อมูลกล้วยไม้แบบอัตโนมัติโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก ด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ออกแบบขึ้นนี้สามารถทำให้การสืบค้นข้อมูลกล้วยไม้เป็นเรื่องง่าย สะดวกรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เพียงใช้รูปถ่ายกล้วยไม้โหลดเข้าโปรแกรม "ออคิเดเตอร์" ก็จะสามารถบอกได้ทันทีว่าเป็นกล้วยไม้สายพันธุ์ใด จำแนกได้ตามสี รูปแบบดอก และลวดลายบนดอก ซึ่งมีความแม่นยำโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 95
ในเบื้องต้น "ออคิเดเตอร์" สามารถระบุสายพันธุ์กล้วยไม้ที่กำลังเป็นที่นิยมได้ถึง 14 ชนิด และกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อให้โปรแกรมมีความแม่นยำ และมีศักยภาพในการระบุจำนวนสายพันธุ์กล้วยไม้ไทยที่ครอบคลุมให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้พร้อมเปิดให้ดาวน์โหลดได้ทางมือถือ และคอมพิวเตอร์ต่อไป
อาจารย์ ดร.วุฒิชาติ แสวงผล เป็นศิษย์เก่าซึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีรุ่นแรกๆ จาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย แม้จะไม่ได้เป็นนักพฤกษศาสตร์โดยสายเลือด แต่ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นนักวิจัยที่ใฝ่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอจึงได้ทุ่มเทเวลาลงพื้นที่ตลาดกล้วยไม้ในจังหวัดนครปฐมพร้อมนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเก็บข้อมูลจากบรรดาผู้คร่ำหวอดในแวดวงกล้วยไม้ในชุมชน ซึ่งเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ตรงที่อัพเดทอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถคิดค้นออกมาเป็นแอปพลิเคชัน "ออคิเดเตอร์" ซึ่งหากเมื่อเปิดให้ใช้งานได้จริง ก็จะเหมือนมี "เซียนกล้วยไม้" พร้อมให้คำปรึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาอยู่ในมือ
นอกจากในการทำวิจัย อาจารย์ ดร.วุฒิชาติ แสวงผล ได้สอนให้นักศึกษาเรียนรู้เทคนิคการเขียนโปรแกรม AI แล้วยังได้ฝึกให้นักศึกษารู้จักการคิดต่อยอดเรียนรู้เพิ่มเติม และยังได้มองไปถึงประโยชน์ในการประยุกต์ใช้โปรแกรม "ออคิเดเตอร์" ที่คิดค้นขึ้นนี้เพื่อการจำแนกพืชพันธุ์สมุนไพร และตรวจสอบพันธุ์พืชในป่า เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติได้ต่อไปอีกด้วย
"การวิจัยไม่ยากอย่างที่คิด หากเลือกทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและสนุกไปกับหัวข้อนั้นๆ และยิ่งได้ผู้ร่วมวิจัย และผู้สนับสนุนที่มองไปในทิศทางเดียวกัน มีความสนใจในเรื่องเดียวกันแล้ว ก็จะยิ่งทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จได้ไม่ยาก แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นงานวิจัยที่สังคมได้ประโยชน์ด้วยจึงจะเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าและยั่งยืน" อาจารย์ ดร.วุฒิชาติ แสวงผล กล่าวทิ้งท้าย
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 4 หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ( Artificial Intelligence) ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หลักสูตรทั้งหมดออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการ Upskill และ Reskill เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและองค์กรในยุคดิจิทัล ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
SCGP เผยผลงาน Q1 เติบโต รุกตลาดในประเทศกลุ่มอาเซียน-เสริมพอร์ตสินค้าอุปโภคบริโภค-บริหารต้นทุน ชูแผนปรับตัวไวรับมาตรการภาษี
—
SCGP ประกาศผลการดำเนินงานไตรม...
PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า
—
PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...
SO เดินเกมรุก ปักธง New S-Curve ดันโซลูชัน Workforce ผสาน AI เจาะตลาดพรีเมียม ตอกย้ำฐานะการเงินแกร่ง จ่ายปันผล 85% ของกำไร
—
บมจ.สยามราชธานี หรือ SO เดินห...
เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน
—
ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...
OKMD ประกาศผล แพลตฟอร์มช่วยคนหูหนวก - เอไอออกแบบเสื้อผ้า คว้าชัยประกวด Learn Lab 2025 : Creativity Beyond AI
—
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์คว...
สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education"
—
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...
สคส. ดันไทยก้าวสู่มาตรฐานโลก คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลระดับสากล ร่วมประชุม APEC DESG ครั้งที่ 50 ณ เกาหลีใต้
—
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สค...
'Super AI Engineer Season 5' รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
—
สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT), หน่วยบริหารและจ...
"มทร.ล้านนา" เติมทักษะรู้เท่าทัน รอบรู้ เข้าใจการใช้ AI แก่นศ. อาจารย์ และบุคลากร
—
รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล...