สังเกตอาการอย่างไร?... ว่าเข้าข่าย "ภาวะหัวใจล้มเหลว?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือภาวะที่หัวใจทำงานได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ภาวะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ นอกจากเกิดจากการทำงานและโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติแล้ว ยังพบในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ อื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

สังเกตอาการอย่างไร?... ว่าเข้าข่าย "ภาวะหัวใจล้มเหลว?

ความรุนแรงของโรคมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ดังนั้นการสังเกตอาการจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ารู้เร็วเราจะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากหัวใจวายได้ สังเกตอาการอย่างไร?... ว่าเข้าข่าย "ภาวะหัวใจล้มเหลว?

  • ในระยะเริ่มแรกของภาวะหัวใจล้มเหลว จะมีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือจะรู้สึกว่าออกแรงได้น้อยลง เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
  • ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการเหนื่อยแม้กระทั่งทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ หรือแม้แต่กิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้ปกติ ก็กลับรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องทำ
  • และระยะที่รุนแรงมากจะพบว่าแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ยังรู้สึกเหนื่อย นอนราบแล้วไอ แขนขาบวม ซึ่งหากพบเห็นอาการในระยะนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะเป็นอันตรายมากอาจทำให้หัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลันได้

อย่างไรก็ตามหากเราสังเกตเห็นอาการผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย หรือเป็นๆ หายๆ ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจวินิจฉัย ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่รอช้าไม่ได้ หากรู้เร็วและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นและมีโอกาสหายได้

การดูแลสุขภาพร่วมกับการตรวจเช็กสุขภาพหัวใจจึงเป็นอีกแนวทางสำคัญในการป้องกัน ซึ่งในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่หลอดเลือดหัวใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบกับสุขภาพในอนาคต จึงควรตรวจสุขภาพหัวใจเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ การพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำหรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ ไม่เครียด ไม่สูบบุหรี่ จะช่วยให้หัวใจแข็งแรงและป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจก่อนวัยอันควรได้ในระยะยาว


ข่าวภาวะหัวใจล้มเหลว+ความดันโลหิตสูงวันนี้

ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้หัวใจ

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทานอาหารดีมีประโยชน์หรือออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ที่นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังทำให้หัวใจแข็งแรงอีกด้วย เพราะการออกกำลังกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจ ลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพหัวใจ

การป้องกันความดันโลหิตสูง 1.การลดน้ำหนัก ... การป้องกันความดันโลหิตสูง — การป้องกันความดันโลหิตสูง 1.การลดน้ำหนัก 2.การลดปริมาณเกลือในอาหาร 3.การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4.การงดหรือลดการดื่ม...

ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่เรื่องไกลตัวและมีอั... รู้ระวังหัวใจ ไม่ให้ล้มเหลว — ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่เรื่องไกลตัวและมีอันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องในสัปดาห์แห่งการให้ความรู้เรื่อง หัวใจล้มเหลว(Heart Failure...

IEM นำเสนอระบบวัดความดันโลหิต และความเร็วของการไหลเวียนเลือดภายในงาน Medica 2014

ความเสี่ยงของการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง ไตวาย และภาวะหัวใจล้มเหลวนับเป็นปัจจัยชี้ขาดว่า ควรจะเริ่มรักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะระดับคอเรสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่...

"ซินแทค เอบี" จับมือ "เมดิเทรียล" ผลักดันการพัฒนาระบบพยุงการเต้นของหัวใจที่ล้ำสมัย

ซินแทค เอบี (Syntach AB) หรือ "ซินแทค" มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศว่า บริษัทฯ ได้จับมือเป็นพันธมิตรภายใต้ข้อตกลงกับเมดิเทรียล ยุโรป (Meditrial Europe Ltd) หรือ "เมดิเทรียล" เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางคลินิกและกฎระ...

ซินแทค เอบี ได้รับ 17.5 ล้านยูโรจากการร่วมลงทุนจากภาครัฐ พร้อมแต่งตั้งแพทริก เอ็นเจ ชเนเจลสเบิร์ก เป็นซีอีโอคนใหม่ และแต่งตั้งแคนเซล อิซิคลิ เป็นรองประธานฝ่าย RA/Q

ซินแทค เอบี (Syntach AB) สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการแพทย์ของสวีเดน ได้รับทุนสนับสนุนสูงถึง 15 ล้านยูโรจากสภานวัตกรรมแห่งยุโรป (European...