ผลการวิจัยล่าสุดบ่งชี้ว่า การเพิ่มยาแพทย์แผนจีน ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล (TCM Qili Qiangxin Capsules) ซึ่งพัฒนาและผลิตโดยบริษัท อี้หลิง ฟาร์มาซูติคัล (Yiling Pharmaceutical) ให้เป็นมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถลดความเสี่ยงในการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการแย่ลง และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ศาสตราจารย์ ซินลี่ หลี่ (Prof. Xinli Li) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ เปิดเผยผลการวิจัยดังกล่าวในระหว่างการประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology (ESC) Congress) ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการชั้นนำระดับโลกในสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด จัดขึ้นที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ศาสตราจารย์ ซินลี่ หลี่ ชี้ให้เห็นว่า ผลการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง มีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอก และดำเนินการแบบพหุสถาบัน ซึ่งมีผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจำนวน 3,119 รายในโรงพยาบาล 133 แห่งทั่วจีนแผ่นดินใหญ่และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เข้าร่วมการวิจัยตลอดระยะเวลาการรักษา 12-36 เดือน พบว่า ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดผลลัพธ์หลักร่วม (primary composite endpoint) กล่าวคือ การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลงและการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ลงได้ถึง 22%
เมื่อปี 2556 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยานี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยโรคหัวใจอเมริกัน "Journal of the American College of Cardiology" (JACC) ซึ่งเป็นวารสารด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดย JACC ยกย่องให้ ฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล เป็นความสำเร็จทางวิชาการที่โดดเด่นสำหรับปีนั้น "งานวิจัยนี้ยืนยันประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ของฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล และผลการเสริมฤทธิ์เมื่อใช้ร่วมกับยาแผนตะวันตก โดยให้ประโยชน์หลายประการสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว"
สำหรับงานวิจัยล่าสุดนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นการวิจัยแบบสุ่ม ปกปิดข้อมูลสองทาง และมีกลุ่มควบคุมด้วยยาหลอกครั้งแรกที่มุ่งเป้าไปที่ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ของการใช้ยาแพทย์แผนจีนในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ทั้งนี้ ในระหว่างการประชุม ศาสตราจารย์ แคโรลีน แลม (Prof. Carolyn Sp Lam) ที่ปรึกษาอาวุโสแห่งศูนย์หัวใจแห่งชาติสิงคโปร์ (National Heart Centre Singapore) และโรงเรียนแพทย์ หยง ลู่ หลิน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS Yong Loo Lin School of Medicine) ซึ่งได้รับเชิญให้เข้าร่วมการอภิปรายในครั้งนี้ เน้นย้ำว่า งานวิจัยนี้นำเสนอหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับฉีลี่ เฉียงซิน แคปซูล ซึ่งเป็นยาแผนโบราณที่ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวหลายล้านคนในประเทศจีนใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยหลักฐานดังกล่าวยืนยันว่ายานี้สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลง และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนยืนยันข้อมูลความปลอดภัยในระยะยาวของยาด้วย งานวิจัยนี้ยกระดับหลักฐานทางคลินิกให้กับวงการการแพทย์แผนจีน พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานใหม่ด้านหลักฐานทางคลินิกสำหรับการแพทย์แผนโบราณ
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2197845/On_August_26_local_time_Prof_Xinli_Li_delivered_academic.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2197846/On_August_26_local_time_Prof_Carolyn_Sp_Lam_a.jpg
อุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นปัญหาด้านการสาธารณสุขที่สำคัญ งานวิจัยThai Acute Decompensated Heart Failure Registry (Thai ADHERE) ระบุว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน มีสาเหตุหลักมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจพิการและโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โดยอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการนอนโรงพยาบาลซ้ำของผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังสูงมากหากเทียบกับโรคเรื้อรังอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โครงการ "คลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว" ในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
รพ.ธนบุรี2 ขอเชิญร่วมฟังเสวนาเรื่อง "ภาวะหัวใจล้มเหลว ในผู้ป่วยเบาหวาน"
—
รพ.ธนบุรี2 ขอเชิญทุกท่านร่วมฟังเสวนา เรื่อง "ภาวะหัวใจล้มเหลว ในผู้ป่วยเบาหวาน" ...
ผู้สูงวัย เสี่ยง!! โรคหัวใจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
—
โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะ...
CT CALCIUM SCORE การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ
—
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผ...
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่ต้องผ่าตัด
—
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท 100% โดยไม่ต้องผ่าตัด ที่ศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง กับโรงพยาบาลรามคำแหง โ...