กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จับมือ กองทุนประกันวินาศภัย จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เชื่อมโยงข้อมูลผลตรวจ RT-PCR ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เจอ จ่าย จบ ย่นเวลาการตรวจสอบหลักฐาน หวังช่วยประชาชนได้รับเงินเยียวยาเร็วขึ้น
นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ ด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กับ กองทุนประกันวินาศภัย โดยมี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุม 110 ชั้น 1 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.นนทบุรี เพื่อลดระยะเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ประชาชนได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบการรายงานผล การตรวจวิเคราะห์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีโรคโควิด 19 ผ่านระบบ Co-Lab 2 ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศกำหนด เพื่อให้การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ของห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ไปยังหน่วยงานต่างๆ อาทิ การเชื่อมโยงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โรงพยาบาล หน่วยงานด้านสาธารณสุข เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยงจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาของผู้บริหารในการกำกับติดตามสถานการณ์ วางมาตรการป้องกันควบคุมโรค และตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการต่างๆ ในส่วนที่รับผิดชอบ รวมทั้งการติดตามข้อมูลการเบิกจ่ายเงินงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนของค่าบริการสาธารณสุขหรือค่าบริการทางการแพทย์ กรณีโรคโควิด 19
สำหรับความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัยครั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจ RT-PCR ให้กับกองทุนประกันวินาศภัยสามารถตรวจสอบยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จริง คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลา ในการตรวจสอบเอกสารของเจ้าหน้าที่ และช่วยให้ประชาชนผู้ติดเชื้อให้ได้รับเงินเยียวยารวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่นำออกจากระบบ CO-Lab 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกองทุนประกันวินาศภัยได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีคณะทำงานในการประสานความร่วมมือดังกล่าว
N Health Novogene จับมือ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เท็นกุ (Xcoo) บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มแปลผลการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็ง โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย บริษัท เอ็นเฮลท์ โนโวยีน จีโนมิกส์ จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ N Health ในเครือ BDMS ผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมที่ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลและรักษาสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล ผ่านห้องปฎิบัติการจีโนมิกส์โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ขั้นสูงและได้มาตรฐานสากล
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เฝ้าระวังตัวเรือด เชื้อลีจิโอเนลลา และเชื้อไวรัสโนโร ด้วย 3C
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ความเข้าใจ ระบบคุณภาพ OECD GLP สร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ
—
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศา...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยโควิด 19 สายพันธุ์ JN.1* ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
—
นายแพทย์ยงย...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาคุณภาพการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพิ่มความแม่นยำในการรักษาเบาหวาน
—
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิท...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...