คงจะเซ็ง! ไม่ใช่น้อย ถ้าเรากำลังกินอาหารอยู่อย่างเอร็ดอร่อย จู่ๆ ก็มีอาการ "แพ้อาหาร" ขึ้นมา หลายคนรู้ตัวว่าแพ้อาหารประเภทไหนบ้าง แต่ก็มีหลายคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการแพ้อาหารด้วยและเผลอไปกินอาหารชนิดนั้นจึงทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นมา
อาการแพ้อาหารถือเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น โดยสารกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ จะเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ และเมื่อร่างกายเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ก็จะหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ออกมา ทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ตามระบบในร่างกาย เช่น อาการคัน ไอ มีเสมหะ หายใจไม่สะดวก ลมพิษ เป็นต้น
ในส่วนของอาการแพ้อาหารจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ โดยเมื่อทานอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้แฝงอยู่ ก็จะเกิดอาการแพ้อาหารขึ้นมาได้ และอาหารที่มักพบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ อาหารทะเล (ปลา กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก ฯลฯ) ไข่ นม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วตระกูล Tree Nuts เช่น อัลมอนด์ วอลนัท มะม่วงหิมพานต์ แมคคาเดเมีย พิสตาชิโอ ฯลฯ แป้งสาลีและกลูเตน
ซึ่งการแพ้อาหารส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ที่มีประวัติของการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นแพ้อากาศ แพ้ฝุ่นละออง หรือเป็นหอบ หืด ก็จะทำให้เกิดอาการแพ้อาหารได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย โดยอาการแพ้อาหารนั้นแบ่งออกเป็น
จะเห็นว่าอาการแพ้อาหารสามารถเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่เป็นผื่นตามตัว ท้องเสีย หายใจลำบาก ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ซึ่งการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้นั้นต้องอาศัยทั้งประวัติการเจ็บป่วย ประวัติครอบครัว และการตรวจร่างกายมาประกอบกันเพื่อวินิจฉัยได้ตรงโรคที่สุด ทั้งยังช่วยแยกโรคที่อาจไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้แต่เป็นโรคทางกายอื่นๆ ได้อีกด้วย รวมถึงผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และการทดสอบพิเศษสำหรับโรคภูมิแพ้โดยตรง เช่น
อย่างไรก็ตาม การทดสอบทางผิวหนังแบบสะกิด (Skin prick Test) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ได้ผลรวดเร็ว แม่นยำ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีอื่นๆ ** การแพ้อาหารอาจเกิดจากพันธุกรรมแต่กำเนิดหรือเพิ่งเกิดขึ้นตอนโตก็เป็นได้ ซึ่งการทดสอบการแพ้อาหารอย่างถูกวิธีกับแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่แพ้ได้อย่างถูกต้อง ป้องกันไม่ให้เกิดการแพ้รุนแรง หรือใครที่ทานอาหารแล้วมีอาการแพ้ไม่แนะนำให้ซื้อยาแก้แพ้มาทานเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายแพ้รุนแรงกว่าเดิมได้ ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางดีที่สุดครับ…
เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยกันแล้ว "ฝนก้อตก แดดก้อออก" ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า อากาศแปรปรวนจนน่ากังวลว่าจะดูแลสุขภาพอย่างไร ให้แข็งแรงสู้แดดสู้ฝนได้ เทศกาลสงกรานต์กับวันหยุดยาวที่จะมาถึงนี้ อยู่ในช่วงที่อากาศร้อนถึงร้อนมากที่สุด อาจทำให้เกิดความไม่สบายเนื้อสบายตัวได้มาก บทความให้ความรู้โดย พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ (ว 34129) กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children's Health Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง 5 อาการต่าง ๆ
กระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายโรคหายากร่วมผลักดันนโยบายและเสียงผู้ป่วยใน งานประชุม Southeast Asia Rare Disease Summit ครั้งที่ 3
—
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ใน...
อันตรายจากฝุ่น PM2.5 กับภาวะ "เลือดกำเดาไหล"
—
ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตฝุ่น PM2.5 ที่พุ่งสูงจนหลายพื้นที่กลายเป็นพื้นที่สีแดง ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ ...
วันเด็กแห่งชาติปี 2568 กับกิจกรรมดีๆ เพื่อน้องๆ หนูๆ ที่โรงพยาบาลหัวเฉียว
—
คลินิกเด็ก : ศูนย์แม่และเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ปี 25...
โรงพยาบาลพญาไท 1 ร่วมเติมเต็มรอยยิ้มและความสุข ในวันเด็กแห่งชาติ 2568 กับธีม "Candy in the Wonderland"
—
โรงพยาบาลพญาไท 1 จัดกิจกรรมสุดพิเศษเพื่อมอบความสุ...
6 วิธีเอาชนะภูมิแพ้ ในวันที่อากาศหนาว
—
6 วิธีเอาชนะภูมิแพ้ ในวันที่อากาศหนาว ช่วงนี้อากาศเย็นลงอย่างเห็นได้ชัด ใครที่มีอาการภูมิแพ้อยู่แล้วคงจะรู้สึก...
พาลูกเที่ยวอย่างไร....ให้ปลอดภัยไร้โรค
—
วันเด็กแห่งชาติและวันตรุษจีนกำลังจะมาถึงนี้ หลายครอบครัวอาจจะเริ่มวางแผนพาเด็ก ๆ เที่ยวกันอยู่แน่ ๆเลย การ...
ผลกระทบ PM2.5 อันตรายกับทุกเพศทุกวัย
—
ฝุ่น PM2.5 คือปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะเกิดในช่วงต้นฤดูหนาว ต้นฤดูร้อน (เดือนธันวาคม ถึง ...
ลูกเป็นหวัด หรือ ภูมิแพ้ ดูยังไง?
—
การจะแยกให้ชัดว่าลูกเป็นหวัดหรือภูมิแพ้นั้นไม่ง่าย เพราะอาการของทั้งสองโรคนี้ใกล้เคียงกันมาก แล้วเราจะรู้ได้ยังไง?.....
โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้บริการ "ปรึกษาภูมิแพ้ในเด็กฟรี!" ผ่าน LINE@praram9v แถมแพ็กเกจราคาดี รับขวัญวันเด็กปี 2567
—
โรงพยาบาลพระรามเก้า ผู้เชี่ยวชาญในการร...