โรงงานเสฉวนของซีเอทีแอลได้รับเลือกเป็นโรงงานประภาคารจากเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เสฉวน คอนเทมโพรารี แอมแปร์เอ็กซ์ เทคโนโลยี จำกัด หรือซีเอทีแอล-เอสซี (Sichuan Contemporary Amperex Technology Limited: CATL-SC) ซึ่งอยู่ในเครือของซีเอทีแอล (CATL) ได้รับเลือกให้เข้าร่วมเครือข่ายประภาคารโลก (Global Lighthouse Network หรือ GLN) จากเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum หรือ WEF) ทำให้เป็น "โรงงานประภาคาร" (Lighthouse Factory) แห่งที่สองของซีเอทีแอลถัดจากโรงงานหนิงเต๋อ (Ningde) ซึ่งเข้าร่วม GLN ในปี 2564 จนถึงขณะนี้ มีโรงงานประภาคารเพียงสองแห่งเท่านั้นในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลก ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นโรงงานผลิตของซีเอทีแอล

โรงงานเสฉวนของซีเอทีแอลได้รับเลือกเป็นโรงงานประภาคารจากเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก

เวทีการประชุมเศรษฐกิจโลกกล่าวถึงซีเอทีแอลว่า "เพื่อให้ทันกับการเติบโตทางธุรกิจที่สำคัญ และความคาดหวังด้านคุณภาพและความยั่งยืนที่สูงขึ้น ซีเอทีแอลได้สร้างพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ในเมืองอี๋ปิน โรงงานได้ปรับใช้ AI, IoT และระบบอัตโนมัติที่ยืดหยุ่นในเชิงลึกเพิ่มเติมจากโครงการริเริ่มด้านดิจิทัลของโรงงานประภาคารในเมืองหนิงเต๋อของซีเอทีแอล และได้ความเร็วในในสายการผลิตเพิ่มขึ้น 17% การสูญเสียผลผลิตลดลง 14% และการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์"

เครือข่ายประภาคารโลก เป็นชุมชนของไซต์การผลิตที่แสดงความเป็นผู้นำในการปรับใช้และบูรณาการเทคโนโลยีล้ำสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คุณฟรานซิสโก เบตติ (Francisco Betti) หัวหน้าฝ่ายการผลิตล้ำสมัยและห่วงโซ่คุณค่าจากเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก กล่าวว่า "โรงงานแห่งใหม่ของเครือข่ายประภาคารโลกแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างไร ในขณะที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของประชาชน และสิ่งแวดล้อม ความท้าทายสำหรับบริษัทและผู้กำหนดนโยบายคือ พวกเขาจะขยายสเกลนวัตกรรมเหล่านี้ในเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดได้มากเพียงใด"

เทคโนโลยีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ขับเคลื่อนผลิตภาพ ความยั่งยืน และความยืดหยุ่น

ในบริบทของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลอย่างครอบคลุมของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ซีเอทีแอลกำลังเร่งสร้างนวัตกรรมดิจิทัลในวงจรชีวิตเต็มรูปแบบของแบตเตอรี่ในด้านการออกแบบ, การผลิต, การใช้ประโยชน์ และการรีไซเคิลแบตเตอรี่ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับกระบวนการที่มีความแม่นยำสูง ความเร็วในการผลิตที่รวดเร็ว และคุณภาพสูง

  • การจัดการพลังงานสะอาด ซีเอทีแอลพัฒนาระบบการจัดการพลังงานที่รวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์กว่า 40,000 ตัวที่ติดตั้งในโรงงานผ่านโซลูชันไร้สาย Narrow Band-IoT และ 5G โดยได้รับการสนับสนุนจากอัลกอริทึมขั้นสูง ระบบได้คำนวณพารามิเตอร์การทำงานของอุปกรณ์แต่ละอย่างด้วยการใช้พลังงานที่เหมาะสมที่สุดของระบบ
  • การจัดการการผลิตอัจฉริยะ ด้วยการพัฒนาอัลกอริทึมการควบคุมกระบวนการเคลือบแบบวงปิด ซีเอทีแอล-เอสซี สามารถสร้างแบบจำลองและเรียนรู้พารามิเตอร์ที่รวมกันของผงและของเหลวมากกว่า 1,000 ชนิดอย่างลึกซึ้ง ทำให้ควบคุมการเคลือบฟอยล์ได้อย่างแม่นยำในระดับไมครอนและมิลลิกรัม จึงช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอของสินค้า

นอกจากนี้ จากการพัฒนาเสมือนจริงและการจำลอง สายการผลิตเพื่อใช้บรรจุสินค้าของซีเอทีแอล-เอสซีจึง สามารถดำเนินการแบบอัตโนมัติได้ถึง 80% และกระบวนการติดกาวอัตโนมัติทำให้ลดการใช้กำลังคนในกระบวนการติดกาวลงได้ 70% และได้อัตราการผ่านเกณฑ์ที่ 99.8%

  • การจัดการคุณภาพที่เหนือชั้น ด้วยการใช้อุปกรณ์ตรวจสอบภาพที่มีความแม่นยำสูงและเทคโนโลยี AI ทำให้ซีเอทีแอล-เอสซีรู้จำสินค้าได้อย่างแม่นยำถึงระดับไมครอน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าในการตรวจจับข้อบกพร่องในกระบวนการเชื่อม การพัน และกระบวนการก่อนหน้าภายใต้สภาวะของไหลที่มีความเร็วสูง
  • การจัดการความปลอดภัยที่แม่นยำสูง การจัดการความปลอดภัยมีความสำคัญต่อซีเอทีแอล-เอสซี ซึ่งปัจจุบันเป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ด้วยการรวมวิดีโอสตรีมมิ่งและเทคโนโลยี AI จึงช่วยลดความเสี่ยงของการตรวจสอบที่ผิดพลาด ระบบสามารถระบุข้อผิดพลาดในการดำเนินการได้โดยอัตโนมัติผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง เช่น การวางสัญญาณและการยึดช่องสัญญาณแบบผสม และสามารถติดป้ายกำกับและบันทึกภาพได้โดยอัตโนมัติ สนับสนุนโดยเทคโนโลยีความร้อนอินฟราเรดและ AI มีการตรวจสอบอุณหภูมิส่วนกลางของเซลล์แบตเตอรี่ในคลังสินค้าและการตรวจสอบอุณหภูมิของเซลล์แบตเตอรี่ในกระบวนการสำคัญที่อุณหภูมิสูง

ในฐานะผู้นำระดับโลกที่ได้รับการยอมรับเป็นโรงงานประภาคารแห่งแรกของโลกในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ซีเอทีแอลได้ลดอัตราข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ลงเหลือระดับ PPB (หนึ่งส่วนในพันล้านส่วน) ปัจจุบันซีเอทีแอลกำลังพยายามที่จะใช้ประสบการณ์ของโรงงานในเสฉวนในการผลิตอัจฉริยะที่คล่องตัวและยืดหยุ่นมาทำซ้ำในฐานการผลิตทั้งหมด 13 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานใหม่แบบคุณภาพสูง ท่ามกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1919057/image_1.jpg


ข่าวเศรษฐกิจโลก+อุตสาหกรรมวันนี้

อลิอันซ์ เปิดบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ทุกประเทศยังคงเผชิญแรงสั่นสะเทือน คาดไทยได้รับผลกระทบปานกลาง

กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เข้มข้นขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวาระที่สอง ประกาศใช้มาตรการภาษีแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) โดยตั้งเป้าเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดถึง 130% ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1890 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ

เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้... สร้างอนาคตดิจิทัลที่ปลอดภัย: ร่วมสู้ภัยไซเบอร์ที่พัฒนาการขึ้นทุกวัน — เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ภายใต้แรงขับเคลื่อนของเทคโนโลยีบล็อก...

เปิดวิสัยทัศน์ นายกฯ แพทองธาร ร่วมผนึกพลั... TNN ช่อง 16 จัดเวที Dinner Talk ยิ่งใหญ่แห่งปี — เปิดวิสัยทัศน์ นายกฯ แพทองธาร ร่วมผนึกพลังรัฐ-เอกชน ภารกิจพลิกฟื้นเศรษฐกิจ Mission Thailand เพื่อสร...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (T... TISCO ESU วิเคราะห์นโยบาย 100 วัน "ทรัมป์" ชี้ "NATO-IMF-ภาษี-ดอลลาร์" 4 เสาหลักพลิกโฉมเศรษฐกิจโลก — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เผ...

ภายใต้สถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่เผชิญกับความ... NPS ออกหุ้นกู้สำเร็จตามเป้าหมาย ส่งสัญญาณบวกของตลาดหุ้นกู้สำหรับหุ้นกู้คุณภาพ — ภายใต้สถานการณ์ตลาดหุ้นกู้ที่เผชิญกับความท้าทายจากสภาวะเศรษฐกิจโลกและของปร...

เมื่อเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอน การ... ซื้อทองดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ จริงไหม? — เมื่อเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอน การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการรักษา...

นางสาวอารีรัตน์ มุราชัย นักวิเคราะห์ บริษ... GCAP GOLD ลุ้นทองแท่งทำสถิติใหม่ 55,300 บาท จับตา "ทรัมป์" ลังเลขึ้นภาษีจีน — นางสาวอารีรัตน์ มุราชัย นักวิเคราะห์ บริษัท จีแคป จำกัด หรือ GCAP GOLD เปิดเ...