ลมพิษ ผื่นลม ผื่นซ่อนเร้น โรคผิวหนังเรื้อรังที่เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก

11 Nov 2022

"เคยไหม ...อยู่ดี ๆ ผิวเราก็มีผื่นขึ้นนูนแดงขึ้นมา หรือบางทีก็อาจเป็นปื้นๆ เกาแล้วก็ยิ่งนูนยิ่งแดงจนรู้สึกร้อน ผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงก็หายไป วันต่อมาก็วนกลับมามีผื่นนูนคันเหมือนเดิมอีก ถ้ามีอาการแบบนี้ละก็คุณอาจจะเป็นลมพิษแล้วก็ได้ ... " 

ลมพิษ ผื่นลม ผื่นซ่อนเร้น โรคผิวหนังเรื้อรังที่เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก

ลมพิษ เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 

  1. ลมพิษเฉียบพลัน 
  2. ลมพิษเรื้อรัง โดยลมพิษเรื้อรัง แบ่งย่อยเป็นผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นเองและลมพิษที่เกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิภายนอก ภายในร่างกาย แรงกดทับ การขูดขีด แสงแดด การสัมผัสต่าง ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัจจัยกระตุ้นมาจากอาหาร  ยา หรือสภาวะแวดล้อม และมีส่วนหนึ่งของผู้ป่วยไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ลมพิษสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยแต่พบมากในช่วงวัยกลางคน

สาเหตุและกลไกการเกิดโรคในมุมมองการแพทย์แผนจีน

สาเหตุหลักๆ มาจากพื้นฐานร่างกายที่มีมาแต่กำเนิด (Congenital/??) ไม่แข็งแรงร่วมกับสาเหตุอื่น เช่น สภาวะอากาศ อาหาร หรือสภาวะทางอารมณ์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดลมพิษ โดยทางแพทย์จีนแบ่งออก ดังนี้

  • จากลมร้อน (ความร้อน)
  • จากลมเย็น (ความเย็น)
  • กระเพาะและลำไส้ร้อนชื้น
  • จากเว่ย์ชี่ (??) อ่อนแอ
  • ภาวะชี่เลือดอุดกั้น
  • ภาวะชี่และเลือดพร่อง

ประเภทของลมพิษตามหลักแพทย์จีน

  1. กลุ่มอาการจากลมร้อน (ความร้อน)  เมื่อเจอความร้อนผื่นจะขึ้น ผื่นมีสีแดงจัด เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกร้อน
  2. กลุ่มอาการจากลมเย็น (ความเย็น)  เมื่อเจอความเย็นหรือน้ำเย็นมีผื่นขึ้น ผื่นมีสีแดงระเรื่อหรือสีขาว
  3. กลุ่มอาการกระเพาะและลำไส้ร้อนชื้น ผื่นมีสีแดงสด พบเป็นบริเวณกว้าง มีอาการคันมากอาจพบโรคหรืออาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย
  4. กลุ่มอาการเว่ย์ชี่อ่อนแอ ผื่นมักมีขนาดเล็ก เมื่อมีเหงื่อออก เจอลมหรือความเย็นผื่นจะขึ้น มักจะมีเหงื่อออกมาก ไม่สบาย เป็นหวัดง่าย
  5. กลุ่มอาการชี่เลือดอุดกั้น ผื่นมีสีแดงคล้ำ มักพบในบริเวณที่มีการกดทับ
  6. กลุ่มอาการชี่และเลือดพร่อง  มีลมพิษเรื้อรังเป็นๆ หายๆ มาหลายเดือนหรือหลายปี มักจะมีผื่นขึ้นเมื่อร่างกายเหนื่อยล้า และผื่นปรากฏในช่วงบ่ายหรือกลางดึก

วิธีการรักษาโดยการแพทย์แผนจีน 

  1. การใช้ยาจีน ตำรับยาเฉพาะบุคคล 
  2. การฝังเข็ม  โดยจะเลือกใช้จุดบนเส้นลมปราณม้ามและลำไส้ใหญ่เป็นจุดหลักในการรักษา การเคาะบริเวณที่เป็นผื่นด้วยเข็มเจ็ดดาวก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง กำจัดสิ่งก่อโรคที่อยู่บริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อ  ระบายความร้อนจากเลือด และระบายความชื้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกอายุรกรรมภายนอก คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 ต่อ 114, 115

เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.

LINE OA : https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=xis9636n

ลมพิษ ผื่นลม ผื่นซ่อนเร้น โรคผิวหนังเรื้อรังที่เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit