บทสรุปข้อมูลเชิงลึกชุดใหม่จากโกลบอล มาริไทม์ ฟอรัม (Global Maritime Forum) ระบุถึง 4 วิธีการที่อุตสาหกรรมทางทะเลและการเดินเรือทำได้เลยในตอนนี้ เพื่อสนับสนุนให้การเดินเรือเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตแบบปลอดมลพิษอย่างยืดหยุ่นและยั่งยืน
"เราจำเป็นต้องชำระสะสางซัพพลายเชนของการเดินเรือและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของเรา โดยเราต้องร่วมมือกันทำให้เป็นมาตรฐานและสร้างความโปร่งใส มาร่วมกันแชร์ประโยชน์ของการลดความเร็วเรือและร่วมสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกัน" อิมาน อับดัลลา (Eman Abdalla) ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและซัพพลายเชนทั่วโลกของบริษัทคาร์กิลล์ โอเชียน ทรานสปอร์เตชัน (Cargill Ocean Transportation) หนึ่งในผู้ให้บริการส่งสินค้าในตู้แห้งจำนวนมากรายใหญ่ที่สุดในโลก
อุตสาหกรรมการเดินเรือกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจากตั้งเป้ามุ่งสู่การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดให้ได้ภายในปี 2593 การดำเนินการระยะสั้นที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของเรือที่มีอยู่จะมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยมลพิษลงได้ในปัจจุบันด้วยการประหยัดเชื้อเพลิง ประหยัดเงิน และประหยัดเวลาผ่านการเปลี่ยนแปลงความเร็วและประสิทธิภาพของเรือ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงระยะยาวได้มากขึ้นในการหันมาใช้เชื้อเพลิงปลอดมลพิษที่มีราคาแพงขึ้น และนำไปสู่การจ่ายค่าการปล่อยคาร์บอนในที่สุด
แม้เชื้อเพลิงและเทคโนโลยีปลอดมลพิษจะมีความจำเป็นต่อการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมนี้ แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ยังคงไม่พร้อมใช้งานในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ดังนั้นการลดต้นทุนเชื้อเพลิงด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการเดินเรือจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จก่อนเพื่อเตรียมการสู่การใช้งานเชื้อเพลิงปลอดมลพิษซึ่งมีราคาแพงกว่า อีกทั้งยังเป็นรากฐานสำหรับช่องทางสีเขียว (green corridors) ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างฮับท่าเรือหลักแต่ละแห่งที่ให้การสนับสนุนและสาธิตโซลูชันปลอดมลพิษ
การศึกษาวิจัยพบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของเรือและกองเรือผ่านการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงได้ถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ณ ราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าจะประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มากถึง 20% และจะได้มากยิ่งกว่านี้หากมีการใช้งานเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ การวิจัยยังชี้ด้วยว่า การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานยังมีศักยภาพที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีได้มากกว่า 200 ล้านตัน และแม้ว่าการปลดล็อกศักยภาพนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างเต็มที่นี้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษในปี 2573 และ 2593 ตามปณิธานความตกลงปารีสที่กำหนดเป้าหมายไว้ให้ควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม
บทสรุปของข้อมูลเชิงลึกนี้ได้มาจากการเก็บข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของโอกาสและอุปสรรคในระยะสั้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยใช้มุมมองที่เป็นระบบเพื่อสำรวจบทบาทของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในฐานะตัวช่วยให้เกิดการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมการเดินเรือในระยะยาว
บทสรุปดังกล่าวมีการระบุถึงโซลูชัน 4 ประเภท ได้แก่ ความโปร่งใสและการปรับปรุงมาตรฐานของข้อมูลประสิทธิภาพให้ดีขึ้น, การเพิ่มโครงการนำร่องและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด, การเปลี่ยนแปลงสัญญาเพื่อสนับสนุนให้ใช้แนวทาง Virtual arrival หรือการลดความเร็วเรือให้เป็นไปตามเวลาถึงปลายทางที่เลื่อนออกไปเมื่อเกิดความล่าช้าที่ท่าขนถ่ายสินค้า และนโยบายรวมถึงกฎระเบียบที่จะช่วยให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ โดยในบทสรุปข้อมูลเชิงลึกในอนาคตจะศึกษาตัวช่วยเหล่านี้ ซึ่งจะเจาะลึกลงไปในโซลูชันและตัวช่วยต่าง ๆ ที่ระบุ
องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organisation - IMO) คาดว่าจะนำกลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการปรับปรุงใหม่มาใช้ในการประชุม MEPC 80 ซึ่งเป็นการประชุมด้านปัญหาสภาพอากาศที่สำคัญที่สุดสำหรับภาคอุตสาหกรรมการเดินเรือที่จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีนี้ แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะยังคงไม่แน่ใจว่าผลลัพธ์ของการประชุม MEPC 80 จะเป็นการใช้กลยุทธ์ที่ตั้งเป้าไว้สูงหรือต่ำ แต่ไม่ว่าจะแบบไหน ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในระยะสั้นเพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตแบบปลอดมลพิษ
แรนดัล แครนท์ซ (Randall Krantz) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการลดการปล่อยคาร์บอนของโกลบอล มาริไทม์ ฟอรัม กล่าวว่า "ประสิทธิภาพการปฏิบัติการของเรือและกองเรือทั้งหมดจะสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมการเดินเรือ แต่มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแนวคิดแบบแหวกแนวในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อเปลี่ยนจากคำพูดเป็นการลงมือทำ"
ดาวน์โหลดบทสรุปข้อมูลเชิงลึกฉบับเต็ม ที่นี่
โกลบอล มาริไทม์ ฟอรัม เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะกำหนดอนาคตของการค้าทางทะเลทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างยั่งยืนและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
'บมจ. อุบล ไบโอ เอทานอล' หรือ UBE ผู้ผลิตและแปรรูปมันสำปะหลังแบบครบวงจร มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเอทานอลก้าวสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ และเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประกาศคว้าใบรับรอง ISO 14064-1:2018 มาตรฐานระดับสากลเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมเอทานอล ที่ว่าด้วยการรายงานและการตรวจสอบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร เดินหน้าโครงการบริหารจัดการพลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดซัพพลายเชน พร้อมขับเคลื่อนเทคโนโลยีต่อเนื่อง มุ่งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี 2568
"บู๊ทส์ ประเทศไทย" ผนึก "ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ประเทศไทย" ส่งทัพรถขนส่งพลังงานไฟฟ้า EV 100% ตั้งเป้าลดคาร์บอน 74 เมตริกตันต่อปี
—
บู๊ทส์ ประเทศไทย ร่วมมือกั...
ภาคก่อสร้างไทยยืนแกร่ง ย้ำมาตรฐานความแข็งแรง ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นภาคอสังหาฯ ไทย
—
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา สร้างความต...
เบทาโกร ยืนหนึ่งองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมน่าเชื่อถือสูงสุด คว้ารางวัล 2024-2025 Thailand's Most Admired Company
—
บริษัท เบทาโกร (จำกัด) มหาชน ผู้นำในธุร...
วิทยาลัยโลจิสติกส์ฯ SPU เปิดบ้านจัดกิจกรรม 'The Next Gen Logistics Adventure' พานักเรียนผจญภัยสู่โลจิสติกส์แห่งอนาคต
—
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหา...
ไทยพาณิชย์จัดงาน "Supply Chain Futureprenuer" ปูทาง AI ลดการปล่อยคาร์บอนให้ซัพพลายเชนสู่ธุรกิจยั่งยืน
—
ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงาน "Supply Chain Futureprenue...
เบทาโกร ทุ่มงบ 297 ล้านบาท เปิดโรงงานแปรรูปไก่แห่งใหม่ในลำปาง เสริมแกร่งซัพพลายเชนอย่างมั่นคง ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยพร้อมใส่ใจสิ่งแวดล้อม
—
บริษัท เบทาโกร จ...
ดูโฮม เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการซัพพลายเชนด้วยรีเล็กซ์ โซลูชันส์
—
ดูโฮมซึ่งเป็นผู้นำด้านค้าปลีกและค้าส่งในประเทศไทย เลือกใช้รีเล็กซ์ โซลูชันส์ ผู้ให้บริกา...