ปัจจุบันโลกของนวัตกรไม่ได้จำกัดอยู่ที่วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง วิชาชีพ "พยาบาล" ก็สามารถต่อยอดทางการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์บริการให้ตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ผ่านการเสริมทักษะสู่การเป็น "พยาบาลนวัตกร" ได้เช่นกัน
ครั้งแรกในประเทศไทยมหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสองปริญญา มุ่งผลิต"พยาบาลนวัตกร" สู่ความเป็นเลิศทางการบริหารการศึกษา ร่วมพัฒนาชาติสู่การเป็นประเทศนวัตกรรม
รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือผู้เป็นเบื้องหลังสำคัญในการผลักดันให้บุคลากรในสายวิชาชีพพยาบาล ได้ยกระดับสู่การเป็น "พยาบาลนวัตกร" เพิ่มคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยทักษะการใช้เทคโนโลยี ผ่านหลักสูตรเปิดใหม่ ปริญญาเอกสองปริญญา พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา)
นอกจากนี้ งานวิจัยเกี่ยวกับการกระจายตัวของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศ ที่ผ่านมาพบว่า กว่าร้อยละ 80 ของ "พยาบาลด็อกเตอร์" เป็นบุคลากรพยาบาลคุณภาพระดับบริหารในสถาบันการศึกษา และสถาบันวิชาชีพพยาบาลของไทย จึงถือได้ว่าหลักสูตรปริญญาเอกสองปริญญาที่เกิดขึ้นนี้ จะสามารถตอบโจทย์การพัฒนาบุคลากรพยาบาลคุณภาพ
รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะผู้ร่วมผลักดันให้หลักสูตรเปิดใหม่ ปริญญาเอกสองปริญญา พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา) เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยว่า เป็นการเปิดมิติใหม่ทางการศึกษาพยาบาลศาสตร์ เพื่อร่วมพัฒนาชาติสู่การเป็นประเทศนวัตกรรม ด้วยการเพิ่มพูนทักษะบริหารการศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยี
ซึ่งวิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัย "ใจ" หรือ "จิตบริการ" หากได้เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องการผลิตสื่อ และสร้างสรรค์สื่อทางการศึกษา ก็จะเป็นการทำให้ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพมากยิ่งขึ้น โลกในทุกวันนี้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี จึงทำให้การใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถเรียนรู้อย่างลึกซึ้งถึง "วิธีการ" ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เพียงการใช้ตาดู หูฟังอาจยังไม่เพียงพอ จะต้องทำให้จับต้องได้ สัมผัสได้ด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.เอมพร รตินธร หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะประธานหลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตว่า การให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึง"หัวใจของนวัตกรรมการบริการ" ด้วยหลัก "การคิดเชิงระบบ" (Systematic thinking) คือเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรที่จะนำไปสู่การผลิตดุษฎีบัณฑิตคุณภาพ ที่จะสามารถวิเคราะห์ระบบ และประเมินนโยบายสุขภาพ พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมได้โดยสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย
ยกตัวอย่างการให้บริการด้านสูติศาสตร์ กรณีมารดาตกเลือดหลังคลอด การศึกษาสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตกเลือดหลังคลอด ที่พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตกเลือดนอกจากปัจจัยในตัวมารดาแล้ว ยังมีปัจจัยของระบบบริการมาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ การขาดพยาบาลผดุงครรภ์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการผดุงครรภ์ จากผลการศึกษานี้สามารถนำไปเสนอแนะนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาระบบบริการมารดาทารก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา) สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงแนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านแนวคิด
นั่นคือ "Content Knowledge" ที่หลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาความรู้เชิงลึกมีความสามารถ "Communication" (การสื่อสาร) ที่มีประสิทธิภาพตรงใจกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้รูปแบบ "Coaching" ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใกล้ความสำเร็จส่วนตัว ควบคู่ไปกับ "Class Management" การจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ "Creativity" ที่มีความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหาสาระวิชา กับรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตอบโจทย์ที่แท้จริงของผู้เรียน
แนวคิดดังกล่าวช่วยในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อพิชิตเป้าหมายสู่การเป็นหลักสูตรคุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่หลักสูตรฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 7 หลักสูตรเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดลให้เข้ารับการประเมินคุณภาพทางการศึกษาระดับอาเซียน "AUN-QA" (ASEAN University Network Quality Assurance) ในเร็วๆ นี้
สำหรับดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรปริญญาเอกสองปริญญานี้ จะเป็นการผลิตพยาบาลนวัตกรคุณภาพที่สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับทั้งปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา) จาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ขณะนี้มีนักศึกษากำลังศึกษาหลักสูตรสองปริญญาในปีการศึกษา 2565 และกำลังเปิดรับสมัครสำหรับปีการศึกษา2566 ผู้สนใจสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดและสมัครเรียนได้ผ่านเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลwww.grad.mahidol.ac.th ตั้งแต่บัดนี้ - 15 พฤษภาคม2566
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
ม.พะเยา ส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดหลักสูตรสำหรับนักจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้ภาคใต้ (UP City Administrator Course for Southern Research Node) บูรณาการ SDGs อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ มอบหมายให้สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (UPITI) และสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (UPILI) มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี ลงพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างสมรรถนะสำหรับนักจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้ ให้กับนักวิจัย
ม.พะเยา จัดงาน UPILI Knowledge Fair ครั้งที่ 12 ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ตลอดชีวิต
—
รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา พร...
ม.มหิดล-ม.ในสหพันธรัฐสวิส สร้าง AI ครูฝึกทักษะเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ
—
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วางแผนยุทธศาสตร์ 19 ปี (พ.ศ. 2561...
ม.พะเยา ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน คณะกรรมการประสานกิจเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เขตภาคกลาง
—
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยพะเยา โดยดร.วุฒิชัย ไช...
มหาวิทยาลัยพะเยา MOU ร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง กับ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
—
มหาวิทยาลัยพะเยา จัดโครงการผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา...
ม.มหิดล ภูมิใจนวัตกรรม "หุ่นฝึกฉีดยา" ฝึกทักษะนศ.พยาบาลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มความแม่นยำ และชำนาญ
—
ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมาดูโลก พ่อคอยโอบอุ้มเลี้ยงดู...
UP Book Fair 2022 ครั้งที่ 10 มหกรรม SHOP หนังสือแห่งปี
—
อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมเปิด...
ม.มหิดลสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ "ชุดทดลองกฎการอนุรักษ์พลังงาน" ผ่าทางตันเรียนรู้ฟิสิกส์ขั้นพื้นฐาน
—
นับตั้งแต่ได้มีการค้นพบ "กฎของแรงโน้มถ่วง แล...
ม.มหิดลจัดอบรมเปลี่ยนเด็กไทยให้เป็นอัจฉริยะ
—
ในยุคที่พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเป็นอัจฉริยะเหมือนดาวินชีอย่างในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ จนถึงปัจจุบัน...