กทม.เน้นย้ำความสำคัญเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED-จัดอบรมการใช้งานอย่างถูกวิธี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator, AED) ที่ติดตั้งตามพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ สูญหายว่า สนพ.โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้ติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED จำนวน 200 เครื่อง ในสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และสนามกีฬาของ กทม. ตามโครงการ "กทม.ฝ่าวิกฤต เพิ่มโอกาสรอดชีวิตในภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibirllator : AED)" เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยอัตโนมัติ  และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้ โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สนพ.ได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลในพื้นที่ติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงการเรียนรู้ขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิต เพื่อเพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่ง กทม.ได้ให้ความสำคัญกับการผลักดันนโยบายด้านความปลอดภัยในเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจนหมดสติจะต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีภายในเวลาไม่เกิน 4 นาที หากพบผู้ป่วยหมดสติ หยุดหายใจ ให้รีบโทร 1669 ศูนย์เอราวัณ เพื่อรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน เริ่มทำ CPR และเรียกหาเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ที่อยู่ใกล้เคียงมาช่วยฟื้นคืนชีพ เพื่อให้การฟื้นคืนชีพมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


ข่าวเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง+การแพทย์ฉุกเฉินวันนี้

กทม. รุกเฝ้าระวังโรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน-เตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเชิงรุกในการรณรงค์ส่งเสริมและให้คำแนะนำแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคและภาวะอาการผิดปกติของร่างกายในช่วงฤดูร้อนว่า สนพ. ได้เตรียมพร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์ความร้อน โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมสื่อสารเตือนภัยประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ตลอดจนกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข และ

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม.แจงหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินยังเพียงพอ หากเพิ่มจำนวนอาจมีปัญหาการบริหารจัดการ — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม.เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินช่วงเทศกาลฮาโลวีน — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม.กล่าวถึงการกำชับมาตรการดูแลความปลอดภ...

กทม. เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัดรับมือโรคลิชมาเนีย

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรคลิชมาเนีย (Leishmaniasis) รวมถึงการเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในสังกัด เพื่อรองรับการดู...

กทม. เร่งดูแลรักษาคนไข้เด็กหลังได้รับยาเกินขนาด พร้อมทบทวนมาตรฐานการดูแลคนไข้

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรียนแพทย์โรงพยาบาลสังกัด กทม. ฉีดยาเกินขนาด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 68...

กทม. บูรณาการทุกภาคส่วนร่วมดูแลความปลอดภัยคนกรุงฯ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 68

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลในสังกัด กทม. เพื่อดูแลความปลอดภัยประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 ว่า สนพ. เล็งเห็นผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดย...