แต่ละปี ประชากรครึ่งโลกเสี่ยงต่อไวรัสไข้เลือดออกที่แพร่โดยจากยุงลาย มีผู้ป่วยถึง 100 ล้านคนที่ต้องเข้าพักฟื้นในโรงพยาบาล แต่จนถึงปัจจุบัน ยังคงไม่มียาเฉพาะในการรักษาโรคนี้
นับเป็นเวลากว่าทศวรรษที่ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้ทุ่มเททำวิจัยคิดค้นยาแอนติบอดียับยั้งไวรัสไข้เลือดออก ซึ่งผ่านการทดสอบในหนูและลิง โดยแอนติบอดีรุ่นแรกนี้มีบริษัทยาต่างประเทศมาเซ็นสัญญาลงทุนพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์แล้ว
ขณะนี้บริษัทได้ขนาดของยาที่จะนำไปใช้ทดสอบในอาสาสมัครในปีหน้า (พ.ศ. 2567) แล้ว เป็นแอนติบอดีที่จับโปรตีนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสเข้าเซลล์มนุษย์ไม่ได้ โดยมีเป้าหมายใช้รักษาในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ในช่วง 7 วันแรกของการติดเชื้อ
แต่ปัญหา คือ อาการความรุนแรงของโรคเช่น เกล็ดเลือดต่ำ การรั่วของเส้นเลือดและการเพิ่มของไวรัส จะเกิดในช่วง 7 วันหลังที่ยารุ่นแรกไม่สามารถจัดการได้ปัจจุบันได้ต่อยอดพัฒนาแอนติบอดีตัวใหม่ในการลดความรุนแรงของโรคในช่วง 7 วันหลัง
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยถึงความสำเร็จล่าสุดที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ปานน้ำทิพย์ รามสูตนักศึกษาปริญญาเอก นางสาวรจนวรรณสุทธิโชติ และทีมวิจัย สามารถพัฒนายาแอนติบอดีชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก โดยได้รับการจดสิทธิบัตร และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับโลก"Biomedicines 2023, 11(1), 227" ในปีนี้
โดยแอนติบอดีรุ่นใหม่นี้ สามารถยับยั้งไวรัสในช่วง 7 วันแรก และยังสามารถลดอาการความรุนแรงของโรค ที่จะเกิดใน 7 วันหลังของการติดเชื้อได้ด้วย ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่มียารักษาไข้เลือดออกที่รักษาอาการป่วยของโรคได้ทั้ง 2 ช่วง
นอกจากนี้ นวัตกรรมแอนติบอดีรุ่นใหม่นี้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ "Lab to Market" จาก "ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี" (Yothee Medical Innovation District - YMID) ซึ่งอยู่ภายใต้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) โดยขณะนี้มีการจัดตั้งบริษัท Spin off เพื่อพัฒนานวัตกรรมนี้สู่เชิงพาณิชย์
ผลงานวิจัยดังกล่าวอยู่ระหว่างการทดลองในห้องปฏิบัติการ มีกำหนดทดสอบจริงในอาสาสมัครในปี พ.ศ. 2567 โดยจะเป็นการลงทุนทางสุขภาพของประเทศที่คุ้มค่า ด้วยศักยภาพของการเป็นยาแอนติบอดีที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะสามารถใช้รักษาโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุน พสวท. ปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ "SEE THE SEA : ค้นหาทะเล ค้นหาตัวตน"ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-3 พฤษภาคม 2568 ณ สิริน พลา รีสอร์ท แอนด์ เรสเทอร์รองท์ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School
—
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...
ซีเอ็มเอ็มยูเปิดขุมทรัพย์และอานิสงส์สมรสเท่าเทียม โอกาสอัพจีดีพีไทยโต 0.3% กางผลวิจัย "Love Wins Marketing" ถอดรหัสตลาดหัวใจหลากสี
—
ถอดรหัสการตลาดหลัง พ....
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้ง มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัสดุรีไซเคิลจากกระดาษลูกฟูก 100% ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้...
เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568
—
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...
เคพีไอ คว้ารางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2025 ด้านนวัตกรรมประกันภัยรถยนต์
—
เคพีไอ คว้ารางวัล BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION ...
Group-IB ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย
—
กรุ๊ป-ไอบี (Group-IB) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีความปลอดภัยไ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
#ANAMAINEWS วันนี้ (10 เมษายน 2568) แพทย์หญ...