ด้วยวงล้อเศรษฐกิจชาติที่ขับเคลื่อนด้วยโมเดล BCG ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีโลกสู่การเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ที่ทุกสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยถือภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติด้วยองค์ความรู้จากการใช้เทคโนโลยี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า ในฐานะ "ปัญญาของแผ่นดิน" ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีถือเป็นภารกิจสำคัญในการร่วมผลักดันเศรษฐกิจชาติสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน ด้วย "พลังแห่งชุมชน" บนพื้นฐานของ "เกษตรอัจฉริยะ" เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้องค์ความรู้จากการทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
3 ปีที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี จัดหลักสูตรเกษตรอัจฉริยะ "นวัตกรรมการผลิตพืชเพื่ออนาคต" แบบNon Degree ตามนโยบาย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ปัจจุบันพร้อม "ออกดอกออกผล" แล้ว สู่การสร้าง "Social Enterprise" เพื่อชุมชน
ด้วยหลักการแห่ง "Precision Agriculture" หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างแม่นยำ ภายใต้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตที่ปลอดภัยภายในระยะเวลาที่กำหนด ที่มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี มอบให้ชุมชนที่ผ่านมา ปัจจุบันได้เกิดเป็น "ผลิตผลใหม่ทางการเกษตร" จากการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้ "สังคมแห่งสุขภาวะ" ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของประชาชนในชุมชนและประเทศชาติ อาทิ "มะเขือเทศควบคุมความหวานระดับสูง" ที่จะทำให้มะเขือเทศไม่ได้ปรากฏเพียงใน "จานผัก" แต่จะสามารถจัดรวมกับ "จานผลไม้" โดยที่ยังคงอุดมไปด้วยสารอาหาร และเพิ่มเติมด้วยความหวานจากธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ หรือการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรผลิตพืชผักโซเดียมต่ำเพื่อคุณค่าที่คู่ควรกับ "จานสลัด" และพร้อมผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป
สิ่งท้าทายที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ จะอย่างไรให้ "Social Enterprise" แห่งชุมชนจังหวัดกาญจนบุรีเกิดความยั่งยืนภายใต้การทำงานที่สอดประสานระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดกาญจนบุรี (Agriculture and Innovation Center - AIC) พร้อม "คืนกำไรสู่ชุมชน" เพื่อการพึ่งพาตนเอง เป็นของขวัญตอบแทนการสนับสนุนของชุมชนจังหวัดกาญจนบุรีที่มีให้กันอย่างอบอุ่นและต่อเนื่องตลอดเวลาที่ผ่านมา ให้พร้อมเดินหน้าสู่การเป็น "Eco - Smart Campus" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติด้วย "พลังแห่งชุมชน" ต่อไป
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 สถาบันโภชนาการ และ วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านบุคลากร (Co-faculty) ระหว่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี และรศ. ดร. ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ เจรีรีตน์ ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจบุรีด้านวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนาม
สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567
—
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School
—
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...
ซีเอ็มเอ็มยูเปิดขุมทรัพย์และอานิสงส์สมรสเท่าเทียม โอกาสอัพจีดีพีไทยโต 0.3% กางผลวิจัย "Love Wins Marketing" ถอดรหัสตลาดหัวใจหลากสี
—
ถอดรหัสการตลาดหลัง พ....
"ศิริราช-กาญจนา x ห่านคู่" เปิดตัวเสื้อยืดโครงการ "Pay it Forward: จากลายเส้น…สู่โอกาสใหม่" ระดมทุนสร้างอาคารหอผู้ป่วยใน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
—
ศูนย์การแพท...
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้ง มุ่งมั่นสร้างสรรค์วัสดุรีไซเคิลจากกระดาษลูกฟูก 100% ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
กลุ่มบริษัท อินเตอร์ กรุ๊ป แพคเกจจิ้...
เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568
—
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...
ม.มหิดล ชูวิชาการธรณีศาสตร์ แก้โจทย์แผ่นดินไหว
—
แม้วิกฤติ COVID-19 จะยังคงไม่คลี่คลายจากจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ภาย...
ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี คว้ารางวัลตราสัญลักษณ์ G-Green (ระดับเงิน) ระดับประเทศ
—
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธ...