รักษาสุขภาพหัวใจในทุกช่วงชีวิต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

แม้ความก้าวหน้าในการรักษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีจะมากขึ้น แต่ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือนวายร้ายที่คอยคร่าชีวิตผู้คนมากมายเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคหลอดเลือดหัวใจได้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วปีละกว่า 17.9 ล้านคน นอกจากนี้ยังครองอันดับการเสียชีวิตของสหรัฐอเมริกามานานกว่า 50 ปี

รักษาสุขภาพหัวใจในทุกช่วงชีวิต

แล้วอะไรเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ความลับนี้ถูกซ่อนอยู่ในไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ของเรา เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป นำไปสู่อัตราโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และเบาหวานที่พุ่งสูงขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือการเพิ่มขึ้นนี้พบมากในประชากรที่ยังอายุน้อย

เริ่มที่รู้จักความเสี่ยงของตัวเอง

ถ้าอยากมีหัวใจที่แข็งแรง เริ่มต้นเราต้องเข้าใจก่อนว่าการรักษาสุขภาพหัวใจที่ดีควรปฏิบัติตัวอย่างไร ด้วยการไปพบแพทย์เป็นประจำทุกปีเพื่อประเมินสุขภาพ และถึงแม้ว่าปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แต่ตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมและตัวแปรอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ ความดันโลหิตสูงมักเป็นศัตรูตัวฉกาจที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสูงอันดับต้นๆ ของโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะมันจะแอบเข้ามาโจมตีหัวใจของเราโดยไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนใดๆ ทำให้การตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ และหากปล่อยไว้ไม่โดยไม่ได้รับการรักษา อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

โยนนิสัยที่ไม่ดีต่อสุขภาพทิ้งไป

หนึ่งในนิสัยที่ก่อกวนสุขภาพหัวใจของเรามากที่สุด คือ การสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่สามารถทำลายเยื่อบุที่บอบบางของหลอดเลือดแดงได้ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดและกลายเป็นหลอดเลือดตีบตัน จนนำไปสู่โรคที่เรียกว่า "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือบางคนอาจมีอาการหัวใจวายหรือนำมาสู่โรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกด้าน

พลังแห่งการเคลื่อนไหว เพื่อหัวใจที่สูบฉีด

การออกกำลังกายเป็นประจำมีประโยชน์มากกว่าแค่การลดน้ำหนักและมีหุ่นสวย แต่ยังช่วยให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้น เพราะการออกกำลังกายช่วยให้หลอดเลือดคลายตัวและขยายตัวเป็นจังหวะ ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์ในร่างกาย ที่ทำหน้าที่ควบคุมและปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้หัวใจของเราแข็งแรงขึ้น

แค่เลือกกินให้ดี ได้ทั้งอร่อยและสุขภาพดี

บอกลาการกินที่น่าเบื่อและสวัสดีการกินอาหารที่ทั้งอร่อยและดีต่อหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ผักสด โปรตีนไม่ติดมัน และธัญพืชเต็มเมล็ดที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่หัวใจของเราต้องการในแต่ละวัน รวมทั้งผักและผลไม้สดยังมีไฟเบอร์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมกินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง และถั่วเหลืองที่อัดแน่นไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ บำรุงระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ เนื้อปลายังสามารถกินเป็นอาหารทดแทนเนื้อวัวซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูงได้อีกด้วย

สุขภาพจิต ใครว่าไม่สำคัญ

แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับโรคหัวใจจะไม่ชัดเจน แต่ความเครียดอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของหัวใจได้ เช่น ความดันโลหิตสูง การกินที่มากเกินไป หรือการออกกำลังกายที่น้อยลง นอกจากนี้ ความเครียดระยะยาวยังทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดอย่างอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีควรหาเวลาว่างพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ชอบ เพราะคนที่มีระดับความเครียดต่ำมักมีแนวโน้มที่จะหาเวลาว่างเพื่อออกกำลังกายและเลือกกินอาหารที่ดี ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ถือเป็นพลังสำคัญต่อการปกป้องและรักษาสุขภาพหัวใจที่ดีไว้

สุดท้ายนี้ ไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพและกระฉับกระเฉงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยรักษาโรคหัวใจ หากตอนนี้เรายังไม่ได้มีไลฟ์สไตล์แบบสุขภาพที่ดี การเริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้ถือเป็นเวลาที่ดีที่จะนำเคล็ดลับข้างต้นมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้หัวใจได้สูบฉีดอย่างแข็งแรงและมีชีวิตชีวาทั้งในวันนี้และต่อไปในอนาคต


ข่าวโรคหัวใจและหลอดเลือด+โรคหลอดเลือดหัวใจวันนี้

ผลวิจัยเผย ตัวแปรในจีโนมที่ทำปฏิกิริยากันเองและกับสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

คณะนักวิทยาศาสตร์จาก ดีโค้ด เจเนติกส์ (deCODE genetics) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (Amgen) รวมถึงผู้ร่วมงานจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศไอซ์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารเซลล์ (Cell) ในหัวข้อ "ผลกระทบที่ซับซ้อนของตัวแปรในจีโนมที่มีต่อระดับไขมันและโรคหลอดเลือดหัวใจ" ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการค้นหาตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับความแปรผันเชิงปริมาณ และสมมติฐานที่ว่าตัวแปรเหล่านั้นต้องทำปฏิกิริยากันเองหรือกับส่วนประกอบอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร... ตรวจหาปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แล้วที่โรงพยาบาลธนบุรี 2 — โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่องอาการที่สังเกตได้ คื...

การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยี Cardiac MRI บอก... จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า? — การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยี Cardiac MRI บอกเราได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้การตรวจหัวใจด้วย Cardiac MRI...

นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหั... ภาพข่าว: งานสัมมนา ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย — นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท ...

โรงพยาบาลปิยะเวท จัดงานสัมมนา “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย”

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.30 12.00 น. นายแพทย์ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท เป็นประธานจัดงานสัมมนาเรื่อง “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย” เพื่อแนะนำนวัตกรรมในการรักษา...

โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โ... ผู้สูงวัย เสี่ยง!! โรคหัวใจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ — โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะ...

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.30 12.... งานสัมมนา “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย” — วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09.30 12.00 น. สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท ขอเชิญชวนผู้สนใจ...

สถาบันโรคหัวใจมอนทรีออลค้นพบวิธีรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเพาะบุคคลเป็นแห่งแรกของโลก

- ผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเหมาะสมและตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวใหม่ จะมีอัตราการเกิดหัวใจวายและอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คณะนักวิจัยจากสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล (Montreal Heart Institute) เผยผลการวิจัยซึ่งแสดง...