ผลวิจัยเผย ตัวแปรในจีโนมที่ทำปฏิกิริยากันเองและกับสิ่งแวดล้อม มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

คณะนักวิทยาศาสตร์จาก ดีโค้ด เจเนติกส์ (deCODE genetics) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (Amgen) รวมถึงผู้ร่วมงานจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศไอซ์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารเซลล์ (Cell) ในหัวข้อ "ผลกระทบที่ซับซ้อนของตัวแปรในจีโนมที่มีต่อระดับไขมันและโรคหลอดเลือดหัวใจ"

ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการค้นหาตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับความแปรผันเชิงปริมาณ และสมมติฐานที่ว่าตัวแปรเหล่านั้นต้องทำปฏิกิริยากันเองหรือกับส่วนประกอบอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL cholesterol) หรือ ไขมันเลว มีส่วนโดยตรงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

สิ่งแวดล้อมและจีโนมต่างมีอิทธิพลต่อการเกิดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด โดยอิทธิพลดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกัน ยกตัวอย่างเช่น การดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี แต่จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่เป็นพาหะนำตัวแปรในจีโนมที่ทำให้การเผาผลาญแอลกอฮอล์ช้าลง กลับได้รับการปกป้องจากผลกระทบเชิงลบของการดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อหัวใจและหลอดเลือด ส่วนผู้ที่เป็นพาหะนำตัวแปรในจีโนมที่เกี่ยวข้องกับไขมันในตับ มีความเสี่ยงที่จะมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้นเมื่อบริโภคปลาที่มีไขมัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหนะ

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังแสดงให้เห็นว่าตัวแปรในจีโนมที่ทำปฏิกิริยากันเองนั้น ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอล โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โฮโมไซโกตของแอลลีล APOE2 ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มว่าจะมีคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในระดับสูงพอ ๆ กับผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหนะ แต่มีอนุภาคนำคอเลสเตอรอล (ApoB) น้อยกว่ามาก ขณะเดียวกัน โฮโมไซโกตเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจพอ ๆ กับผู้ที่ไม่ได้เป็นพาหนะ ซึ่งบ่งชี้ว่าปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรค ไม่ใช่จำนวนอนุภาคนำคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี นอกจากนี้ ผู้เขียนยังแสดงให้เห็นว่า ภาวะการหลั่งหมู่เลือดมีอิทธิพลต่อระดับคอเลสเตอรอลและความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ไม่ได้อยู่ในหมู่เลือด A1 แต่ไม่มีอิทธิพลต่อผู้ที่อยู่ในหมู่เลือด A1

ตัวอย่างเหล่านี้เน้นย้ำถึงวิธีการอันซับซ้อนและน่าทึ่ง ซึ่งจีโนมและสิ่งแวดล้อมทำปฏิกิริยากันและส่งผลต่อสุขภาพ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีแบบจำลองที่หลากหลายเพื่อทำความเข้าใจพันธุศาสตร์ของโรคในมนุษย์อย่างรอบด้าน

บริษัท ดีโค้ด ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านการวิเคราะห์และทำความเข้าใจจีโนมมนุษย์ บริษัทอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและข้อมูลประชากรจนค้นพบปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมของโรคที่พบบ่อยหลายสิบโรค จุดประสงค์ของการทำความเข้าใจพันธุศาสตร์ของโรคก็คือ การใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างสรรค์วิธีการใหม่ในการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค ทั้งนี้ ดีโค้ดเป็นบริษัทในเครือแอมเจน (NASDAQ:AMGN)

สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ
ธอรา คริสติน อัสเกียร์ดอตตีร์ (Thora Kristin Asgeirsdottir)
อีเมล: [email protected]
โทร: 00354 894 1909

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2208437/deCODE_genetics.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2208436/deCODE_genetics_Amgen_Logo.jpg


ข่าวมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน+โรคหัวใจและหลอดเลือดวันนี้

โรงพยาบาลพระรามเก้า ตอกย้ำความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เปิดภารกิจ "ดูแลหัวใจคุณ ด้วยหัวใจเรา" พร้อมยกระดับนวัตกรรมการรักษาแบบครบวงจร

นพ.อนุพงษ์ ปริณายก ผู้อำนวยการสถาบันหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระรามเก้า นำขณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมเทคโนโลยีการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด "ฆาตกรเงียบ" ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมแพทย์ นพ.ณัฐพล เก้าเอี้ยน อายุรแพทย์โรคหัวใจ และ นพ.สุทัศน์ คันติโต อายุรแพทย์โรคหัวใจ ร่วมให้ข้อมูลและสาธิตขั้นตอนการสวนหัวใจและการตรวจวินิจฉัยผ่านเครื่องมือที่ทันสมัย ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ พร้อมระบบความปลอดภัยมาตรฐานสากล ณ ห้องสวนหัวใจ (Cath Lab) อาคาร A

ปัจจุบันปัญหาการบริโภคโซเดียมเกินความจำเป... ผงปรุงรสจากพืชพื้นบ้าน: นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพและความยั่งยืนของชุมชน — ปัจจุบันปัญหาการบริโภคโซเดียมเกินความจำเป็นเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผ...

"โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพัน... โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก…ภัยร้ายที่อาจมองข้าม รู้ทันสัญญาณอันตราย! ก่อนสายเกินแก้ — "โรคลิ้นหัวใจ" นับเป็นปัญหาสำคัญที่สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ...

ดร.ก่องกานดา ชยามฤต: ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ คนใหม่

ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ ที่อยู่ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ความเชี่ยวชาญ ด้านพฤกษศาสตร์ป่าไม้ นิเวศวิทยา ด้านนโยบายและแผน การศึกษา ปริญญาตรี (ชีววิทยา)...