ม.มหิดล นครสวรรค์ ปรับหลักสูตร SMART Farmer สร้างคนสร้างรายได้เพื่อเกษตรยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เป็นเวลาเกือบครึ่งทศวรรษแล้วที่มีการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง(SMART Farmer) ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในปีการศึกษา 2566 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และยังคงมุ่งมั่นสร้างกำลังคนให้กับภาคเกษตร ภายใต้แนวคิด " ผลิตได้-ขายเป็น-ปลอดภัย-ยั่งยืน

ม.มหิดล นครสวรรค์ ปรับหลักสูตร SMART Farmer สร้างคนสร้างรายได้เพื่อเกษตรยั่งยืน

อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงหลักสูตร SMART Farmer ซึ่งเป็นที่มาของ "MUNA Farm สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ที่นอกจากจะเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติภาคสนามของนักศึกษาในหลักสูตรฯ แล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบชุมชนเกษตรแนวใหม่ สู่การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอาหารปลอดภัย เพื่อยกระดับสุขภาวะชุมชน ม.มหิดล นครสวรรค์ ปรับหลักสูตร SMART Farmer สร้างคนสร้างรายได้เพื่อเกษตรยั่งยืน

ปัจจุบัน MUNA Farm ได้ขยายศักยภาพการผลิตให้ครอบคลุมความต้องการของชุมชนเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีมากขึ้น ผ่านการบริโภคสินค้าเกษตรปลอดภัยจากโครงการฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในคุณภาพและความปลอดภัย อาทิ"ไข่ไก่อารมณ์ดี" จากการเลี้ยงแบบอิสระด้วยพืชสมุนไพรใบเตยที่ทำให้ได้ไข่ไก่ที่มีกลิ่นหอม และได้ขยายผลสู่ "ไข่เป็ดอารมณ์ดี" ที่มั่นใจได้ถึงความสะอาด เปลือกไม่เปื้อนมูล และปราศจากกลิ่นคาว จากการทดลองใช้อาหารไก่และอาหารเป็ดสูตรผสมพืชสมุนไพรต่างๆ อาทิ ฟ้าทะลายโจร ซึ่งดีต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์

จากวิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าหากได้นำพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมารับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายมนุษย์มีความแข็งแรงต่อสู้โรคได้ดีเพียงใด ในสัตว์ก็เช่นเดียวกัน จากที่ได้มีการให้อาหารที่มีส่วนผสมสมุนไพรฟ้าทะลายโจร พบว่าไก่จะไม่ป่วยง่าย และให้ผลผลิตที่ดี

นอกจากนี้ ทาง MUNA Farm ยังได้รับงบประมาณในการสร้างโรงเรือนปลูกพืชสมุนไพรท้องถิ่น อาทิ สะเดา แคป่าแจง ดองดึง ม้าห้อ ขมิ้น ไพล กะเพรา และฟ้าทะลายโจร โดยความร่วมมือทางวิชาการกับสภาการแพทย์แผนไทย และคลินิกแพทย์แผนไทย ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ เพื่อการผลิตพืชสมุนไพรที่สำคัญสำหรับรักษาผู้ป่วยต่อไปนอกจากนี้ MUNA Farm ยังมีแผนการผลิตพืชอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านอาหารเป็นสำคัญ

อาจารย์ ดร.ณัฐฐิญา อัครวิวัฒน์ดำรง หัวหน้ากลุ่มวิชาการและหลักสูตร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยแนวคิด "ผลิตได้-ขายเป็น-ปลอดภัย-ยั่งยืน" ของหลักสูตร SMART Farmer ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ของวิทยาเขตนครสวรรค์ นับเป็นการสนองยุทธศาสตร์ SDGs และ BCG ของชาติ โดยมีความโดดเด่นที่ไม่เพียงเน้นการใช้เทคโนโลยี แต่เน้นการสร้าง "ทุนมนุษย์" ให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเกษตรศาสตร์ มาใช้ในอาชีพ และมีmindset ของการเป็นผู้ประกอบการด้วย

โดยการพยายามตอบโจทย์ที่ท้าทายสังคมไทยในปัจจุบันว่าจะทำอย่างไรให้สามารถลบภาพเกษตรกรในความคิดของคนรุ่นใหม่ว่าเป็นเพียงอาชีพสร้างรายได้น้อย จนส่วนใหญ่หันไปประกอบอาชีพอื่น ด้วยการปลูกฝังบัณฑิตหลักสูตรSMART Farmer ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกิดความสำนึกในแผ่นดินเกิด โดยใช้องค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดรายได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง

ดังที่ได้ผลักดันให้บัณฑิตหลักสูตร SMART Farmer ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำproject ก่อนสำเร็จการศึกษา จนสามารถนำไปต่อยอดกิจการของครอบครัวตนเองต่อไปได้

ตัวอย่างผลงานโดยนักศึกษาหลักสูตร SMART Farmer โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้แก่ การพัฒนาวนเกษตรทุเรียนในสวนยางพารา มาทำปุ๋ยโดยผสมกับมูลสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิตปุ๋ย

การนำดอกไม้ อาทิ กุหลาบ และมะลิ จากฟาร์มปลูกพืชแบบผสมผสานมาพัฒนาชาสูตรต่างๆ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค และการสร้างสรรค์ Plant-based burger จากถั่วเหลืองและเห็ดหลากหลายชนิด ซึ่งให้โปรตีนและมีไฟเบอร์สูง เป็นต้น

SMART Farmer โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล จะไม่ได้เป็นเพียง "เกษตรกร" แต่จะ"เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและพลิกโฉม ให้ภาคเกษตรของไทยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป" และจะสามารถนำองค์ความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์ และการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาวะ ตลอดจนสร้างรายได้เลี้ยงตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนด้วยในขณะเดียวกันได้ต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+เกษตรยั่งยืนวันนี้

ม.มหิดลชูแนวคิดเกษตรยั่งยืน 'Resilience Agriculture’ สร้าง 'เศรษฐกิจชุมชน’ ก่อนก้าวสู่ 'เศรษฐกิจโลก’

แม้ไทยจะได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) มานานนับศตวรรษ โดยเริ่มต้นที่ด้านสาธารณสุข แต่ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate Change) ทำให้โลกในยุคปัจจุบันได้ขยายขอบเขตสู่ “การเกษตรและสิ่งแวดล้อม” ที่จะทำให้โลกยั่งยืนได้ต่อไปอย่างแท้จริง ภายใต้แนวคิด “Resilience Agriculture” รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการที่ยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ... เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568 — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...