แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำโครงการ "ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อได้" ภายใต้โครงการ #รู้ว่าเสี่ยง เลี่ยงเสียศูนย์ (#KnowMyRisk) ภายใต้การสนับสนุนของ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคนิวโมคอคคัสที่ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งเน้นเรื่องการเฝ้าระวังตนเอง การเข้ารับวัคซีนที่เหมาะสม รวมถึงการดูแลรักษา และการฟื้นฟูตนเองแก่ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงสูง
ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขา อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ ว่า "สถานการณ์โรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในปัจจุบันมีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่สูงขึ้น และถึงแม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะผ่อนคลายลง และเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่การเฝ้าระวังตนเอง และการป้องกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังคงพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 อันเกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อมักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย โดยอาจพบอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงเอชไอวี โรคมะเร็ง และการตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง นอกจากนี้ โรคไข้หวัดใหญ่ยังเป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส (Influenza virus) สามารถติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม และการสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย อาการมักมีไข้สูงเฉียบพลัน ไอ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอาการรุนแรง นอกจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่ยังต้องเฝ้าระวังแล้ว การป้องกันตนเองจากเชื้อโรคต่าง ๆ ก็ละเลยไม่ได้ อย่าง เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และโรคไอพีดี เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ง่ายคล้ายการแพร่ของโรคไข้หวัด ทำให้โรคนี้ติดต่อกันได้ง่าย และเกิดได้กับทุกคนในทุกช่วงวัย โดยหากได้รับเชื้อนิวโมคอคคัสเข้าสู่ร่างกาย ถ้าร่างกายแข็งแรงดีก็มักไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอก็จะทำให้เกิดโรค โดยเราสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และการได้รับวัคซีนไอพีดี เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกของการป้องกันโรคปอดอักเสบ อีกทั้งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบยังมีความสำคัญต่อผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19"
"สำหรับมาตรการการป้องกันทุก ๆ ภาคส่วน ยังคงเน้นย้ำให้ประชาชนเฝ้าระวัง และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิคุ้มกัน ไม่ว่าจะจากการติดเชื้อตามธรรมชาติเอง หรือจากวัคซีนจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงไวรัสมีการกลายพันธุ์ อาจทำให้ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมีอยู่เดิมไม่สามารถจะต้านทาน และช่วยในการป้องกันการเกิดโรครุนแรงได้ ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่ม 608 ได้แก่ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ควรได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหากเคยติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมาแล้วเกิน 3 เดือน โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นเข็มที่เท่าไร และแนะนำให้ฉีดกระตุ้น 1 เข็มทุกปี และประชาชนสามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง แต่หากไม่ได้ฉีดพร้อมกัน สามารถฉีดเมื่อไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะห่าง โดยเฉพาะในช่วงนี้ ซึ่งเป็นเทศกาลปลายปีประชาชนมีการเดินทางท่องเที่ยว หรือเลี้ยงสังสรรค์ รวมถึงเดินทางกลับภูมิลำเนาต่างจังหวัดกันเป็นจำนวนมาก การป้องกันตัวเองเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจจึงมีความจำเป็น การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้"
ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพและทันตสาธารณสุข เชิญชวนคนไทยทุกวัยดูแลสุขภาพช่องปาก เนื่องในวันสุขภาพช่องปากโลก (World Oral Health Day) วันที่ 20 มีนาคม 2568 พร้อมเผยข้อมูลจากสมาพันธ์ทันตแพทย์โลกว่า สุขภาพช่องปากที่ดีมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ลดความเครียด และลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ตามที่สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก (FDI World Dental Federation) ได้กำหนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสุขภาพช่องปากโลก (World Oral Health Day) ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายโรคหายากร่วมผลักดันนโยบายและเสียงผู้ป่วยใน งานประชุม Southeast Asia Rare Disease Summit ครั้งที่ 3
—
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ใน...
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัย ผนึกกำลัง 7 องค์กร ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดประชุมสุขภาพช่องปากโลก วันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2567
—
กระทรวงสาธารณสุข โดย ก...
กรมอนามัย ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย รณรงค์ป้องกัน “4 เน้น 4 เดือน” ลดผู้ป่วยไข้เลือดออก
—
แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายแพทย์หญิงนงนุช...
ประชุมวิชาการทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ครั้งที่ 116 (2/2566)
—
ทันตแพทย์ อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา (ที่ 4 จากขวา) นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศ...
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดโครงการ รู้ว่าเสี่ยง เลี่ยงเสียศูนย์ (#KnowMyRisk)
—
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ (ที่ 4 จากซ้าย) ร่วมกับ ศ...
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ขอเชิญร่วมงานเปิดตัวโครงการ #รู้ว่าเสี่ยง เลี่ยงเสียศูนย์ (#KnowMyRisk)
—
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญผู้สนใจร...