ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพและทันตสาธารณสุข เชิญชวนคนไทยทุกวัยดูแลสุขภาพช่องปาก เนื่องในวันสุขภาพช่องปากโลก (World Oral Health Day) วันที่ 20 มีนาคม 2568 พร้อมเผยข้อมูลจากสมาพันธ์ทันตแพทย์โลกว่า สุขภาพช่องปากที่ดีมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ลดความเครียด และลดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
ตามที่สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก (FDI World Dental Federation) ได้กำหนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสุขภาพช่องปากโลก (World Oral Health Day) ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และทันตสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันจัดกิจกรรม "World Oral Health Day 2025" ในประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปาก โดยในปีนี้รณรงค์ภายใต้คำขวัญ "A Happy Mouth is a Happy Mind" สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพช่องปากที่ดีและสุขภาพจิตที่แข็งแรง เนื่องจากการมีสุขภาพช่องปากที่ดีไม่ได้หมายถึงแค่การมีฟันที่แข็งแรงและเหงือกที่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการสื่อสาร การรับประทานอาหาร และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ลดโอกาสของการเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าโรคในช่องปากเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่พบบ่อยที่สุดในประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาฟันผุ โรคเหงือก และการสูญเสียฟัน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้ การดูแลสุขภาพช่องปากจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรได้รับความสนใจในทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเพื่อให้มีพฤติกรรมการแปรงฟันที่ดี ไปจนถึงวัยทำงานที่ต้องเผชิญกับภาวะเครียดและละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง รวมถึงวัยสูงอายุที่อาจมีปัญหาฟันสึกหรือสูญเสียฟัน ซึ่งส่งผลต่อการเคี้ยวอาหารและโภชนาการโดยตรง นอกจากนี้ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ยังต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ดูแลเพื่อให้สามารถรักษาสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม
สำหรับกิจกรรมวันสุขภาพช่องปากโลก "World Oral Health Day 2025" ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้เน้นสร้างการรับรู้และสนับสนุนให้ประชาชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น โดยรณรงค์และสร้างกระแสภายใต้แฮชแท็ก #WOHD25 และ #WOHDTH2025 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแชร์ข้อมูลและร่วมสนุกกับกิจกรรมออนไลน์ โดยมีกิจกรรมหลักที่จัดขึ้นทั้งก่อนหน้าและตลอดเดือนมีนาคม อาทิ การประกวดคลิปวิดีโอในหัวข้อ "A Happy Mouth is a Happy Mind" ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาทันตแพทย์ และทันตแพทย์ ร่วมกันสร้างสรรค์สื่อรณรงค์เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและสุขภาพจิต โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะถูกนำไปเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และภาคีเครือข่าย รวมถึงกิจกรรมรณรงค์สุขภาพช่องปากในชุมชนและสถานศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนคลินิกทันตกรรมและโรงพยาบาลทั่วประเทศในการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากฟรีหรือในราคาพิเศษแก่ประชาชน
นอกจากนี้ ยังได้เผยแพร่วิดีโอให้ความรู้ในหัวข้อ "สุขภาพช่องปากสำคัญกับ… อย่างไร?" โดยนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากในสี่ช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษ จากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากในทุกช่วงชีวิต ผ่านทางโซเชียลมีเดียของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และภาคีเครือข่าย
รศ.ทญ.ดร.ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า สมาพันธ์ทันตแพทย์โลก (FDI) ได้กำหนดแนวทางการรณรงค์เนื่องในวันสุขภาพช่องปากโลก ปี 2025 ภายใต้คำขวัญ "A Happy Mouth is a Happy Mind" ซึ่งทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้นำแนวคิดนี้ไปขยายต่อเป็นแนวคิดหลักของประเทศไทย คือ "Your Mouth's Health is the Key to a Happier, Healthier, and More Confident You" หรือ "สุขภาพช่องปากที่ดีคือกุญแจสู่ความสุข ความมั่นใจ และสุขภาพที่แข็งแรง" เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในทุกช่วงวัย ผ่านกิจกรรมและการรณรงค์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดทำคลิปวิดีโอให้ความรู้ผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
"สุขภาพช่องปากเป็นมากกว่าการมีฟันที่แข็งแรง แต่ยังส่งผลต่อความมั่นใจและสุขภาพจิตของบุคคล ผู้ที่มีปัญหาฟันผุหรือโรคเหงือกมักจะหลีกเลี่ยงการพูดคุยและเข้าสังคม หรืออาจเกิดภาวะซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่กำลังเริ่มต้นพฤติกรรมการดูแลช่องปาก วัยทำงานที่ต้องดูแลสุขภาพฟันและเหงือกเพื่อให้มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุที่ต้องใส่ใจสุขภาพช่องปากเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้ใกล้ชิด เพื่อให้สามารถมีสุขภาพช่องปากที่ดีและลดภาระของผู้ดูแล การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของฟันเท่านั้น แต่เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพจิตที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กล่าวเพิ่มเติม
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมเวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ทางการแพทย์ สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก และ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน "การประชุมโรคหายากระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 3" (The 3rd Southeast Asia Rare Disease Summit 2025 Special Edition) ภายใต้แนวคิด "United for Rare: Transforming Policies, Empowering Change in SEA" รวมพลังเพื่อการปฏิรูประบบนโยบายและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยงาน
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัย ผนึกกำลัง 7 องค์กร ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือการจัดประชุมสุขภาพช่องปากโลก วันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2567
—
กระทรวงสาธารณสุข โดย ก...
กรมอนามัย ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย รณรงค์ป้องกัน “4 เน้น 4 เดือน” ลดผู้ป่วยไข้เลือดออก
—
แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายแพทย์หญิงนงนุช...
ประชุมวิชาการทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ครั้งที่ 116 (2/2566)
—
ทันตแพทย์ อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา (ที่ 4 จากขวา) นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศ...
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อได้
—
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำโครงการ "ให้...
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดโครงการ รู้ว่าเสี่ยง เลี่ยงเสียศูนย์ (#KnowMyRisk)
—
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ (ที่ 4 จากซ้าย) ร่วมกับ ศ...
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ขอเชิญร่วมงานเปิดตัวโครงการ #รู้ว่าเสี่ยง เลี่ยงเสียศูนย์ (#KnowMyRisk)
—
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญผู้สนใจร...