จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ประจำปี 2566 ใน theme "ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends" ระหว่างวันที่ 15 - 17 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00 - 22.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ และบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ร่วมจัดงาน ได้แก่ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนของจุฬาฯ Night at the Museum @ Chula เป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) โดยเริ่มจัดกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2559 จากความสำเร็จของกิจกรรมท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum 2022 ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 30,000 คน ในปีนี้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ใน theme "ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends" ซึ่งเป็น theme ที่มิวเซียมสยามกำหนดขึ้น เนื่องจาก "ช้าง" เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย จึงตั้งใจให้ "ช้างเป็น soft power ของไทย"
รศ.ดร.วิเชฎฐ์ เผยถึงจุดเด่นของงาน Night at the Museum @ Chula ในปีนี้ว่า "พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีความหลากหลายขององค์ความรู้ รวมทั้งมีตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตทุกกลุ่ม รวมถึง "ช้าง" ซึ่งเป็นความพิเศษของนิทรรศการปีนี้ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนซึ่งมีการใช้แสงและสีเข้ามาช่วย เป็นการเปลี่ยนมุมมองการชมพิพิธภัณฑ์ ทำให้ภาพที่เห็นแตกต่างออกไปจากปกติ ผู้ชมจะได้สัมผัสความงดงามของสิ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในมิติที่แตกต่างจากเวลากลางวัน" ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ความพิเศษของ Night at the Museum @ Chula ปีนี้
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ
นิทรรศการพิเศษ
พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีเทคโนโลยีทางภาพ
ภาควิชาจุลชีววิทยา
จากน้ำพุร้อน, บรั่นดี ที่ได้จากงานทดลองในภาควิชาฯ
งานเสวนา และตอบคำถามชิงรางวัล
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566
- พูดคุยเรื่อง "วัณโรคในช้าง" โดย ศ.ดร. ธนาภัทร ปาลกะ
- สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ต ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา
วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566
- พูดคุยเรื่อง "ไมโครไบโอม(ในช้าง)" โดย อ.ดร.ณัฐภณ ป้อมบุบผา
- สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ฯ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566
- พูดคุยเรื่อง "จุลินทรีย์ย่อยสลายพลาสติก และการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้จากจุลินทรีย์" โดย รศ.ดร.วันชัย อัศวลาภสกุล และ รศ.ดร.สุชาดา จันทร์ประทีป นภาธร
- สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ฯ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาฟิสิกส์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.museum.sc.chula.ac.th/ และ https://www.facebook.com/NHMCU
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3634-5, 0-2218-3624
รศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักบรรพชีวินวิทยาผู้บุกเบิกการศึกษาซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ในถ้ำทางภาคใต้ เปิดเผยว่า จากการสำรวจร่วมกับชมรมคนรักถ้ำกระบี่ พบหลักฐานใหม่ในถ้ำจังหวัดกระบี่ซึ่งชี้ชัดถึงการกระจายตัวของไฮยีนาลายจุดมายังภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 200,000-80,000 ปีก่อน นับเป็นหลักฐานใหม่ต่อจากที่เคยมีการบันทึกว่าพบซากดึกดำบรรพ์ของไฮยีนาที่จังหวัดชัยภูมิ จุดเริ่มต้นของการสำรวจเริ่มขึ้นในปี 2560 จากการ
SNPS ต้อนรับนิสิตจุฬาฯ ถ่ายทอดองค์ความรู้ "นวัตกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน"
—
บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS ให้การต้อ...
อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สำรวจพบร่องรอย "เมืองโบราณอีกเมือง ตั้งซ้อนทับ เมืองเก่านครราชสีมา"
—
" อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร...
CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย "เหงื่อ"
—
นวัตกรรมการแพทย์ครั้งสำคัญของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ...
กะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลกจากดอยสอยมาลัย - หลังคาเมืองตาก ค้นพบโดยอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนานาชาติระดับ Q1
—
ทีมวิจัยจาก...
จุฬาฯ แสดงความยินดีนักกีฬาโอลิมปิกจุฬาฯ มอบเสื้อสามารถแก่พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ และจัดเสวนา "Work-Life Balance กับ Chula Olympic Heros"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล...
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสู่การขยายพันธุ์และอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea Griff. ex Lindle.)
—
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในประเทศไทยเก...
จุฬาฯ จับมือ 6 พันธมิตร AI ชั้นนำเปิดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง NEXUS AI ตามวิสัยทัศน์ AI University
—
ผู้นำยุคใหม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในปัญญาประดิษฐ์ A...
จุฬาฯ - การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ "จุฬาฯ - การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge"
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทย...
ถอดบทเรียน Passion with Purpose
—
ผู้บริหารบางจากฯ จุดประกายผู้นำรุ่นใหม่ รู้คุณค่าและรักในสิ่งที่ทำ สู่ความยั่งยืน นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการ...