รศ.ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักบรรพชีวินวิทยาผู้บุกเบิกการศึกษาซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ในถ้ำทางภาคใต้ เปิดเผยว่า จากการสำรวจร่วมกับชมรมคนรักถ้ำกระบี่ พบหลักฐานใหม่ในถ้ำจังหวัดกระบี่ซึ่งชี้ชัดถึงการกระจายตัวของไฮยีนาลายจุดมายังภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 200,000-80,000 ปีก่อน นับเป็นหลักฐานใหม่ต่อจากที่เคยมีการบันทึกว่าพบซากดึกดำบรรพ์ของไฮยีนาที่จังหวัดชัยภูมิ
จุดเริ่มต้นของการสำรวจเริ่มขึ้นในปี 2560 จากการแจ้งของชาวบ้านว่าพบกระดูกแรดฝังอยู่ในผนังถ้ำยายรวก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ โดยได้รับการประสานงานจากกรมทรัพยากรธรณีให้ลงพื้นที่สำรวจร่วมกับชาวบ้าน นอกจากกระดูกแรด ยังมีการค้นพบซากของไฮยีนาลายจุด กวางป่า และเม่นใหญ่แผงคอยาว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ววน. (Fundamental Fund) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนพัฒนาอัจฉริยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์จากกรมทรัพยากรธรณี พร้อมทั้งความร่วมมือจากชมรมคนรักถ้ำกระบี่ และการอนุญาตจากกรมป่าไม้ในการสำรวจถ้ำ
ผลการตรวจวิเคราะห์ผงเคลือบฟันของไฮยีนาและสัตว์อื่น ๆ โดยส่งไปตรวจหาสัดส่วนคาร์บอนไอโซโทปในประเทศเยอรมนี พบว่าไฮยีนาน่าจะกินกวางเป็นอาหาร และอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า จากการหาอายุของฟันสัตว์ในถ้ำยายรวกโดยตรงด้วยวิธีการสั่นพ้องของสปินอิเล็กตรอน (ESR) ควบคู่กับวิธีอนุกรมยูเรเนียม (U-series) ในประเทศสเปน พบว่าไฮยีนาที่พบมีอายุประมาณ 200,000 ปี
นอกจากนี้ รศ.ดร.กันตภณ ยังกล่าวถึงหลักฐานการค้นพบไฮยีนาในถ้ำกระดูก อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งพบโดยชาวบ้านและมีการสำรวจเบื้องต้นโดยทีมนักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี 2545 และล่าสุดจากการแจ้งของชมรมคนรักถ้ำกระบี่ในพื้นที่ถ้ำเขาโต๊ะหลวง อ.เมือง จ.กระบี่ ได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นพบซากฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์จำนวนมาก ได้แก่ ไฮยีนาลายจุด อุรังอุตัง แรดชวา กวางป่า เม่น หมูป่า และวัว ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าในอดีตพื้นที่จังหวัดกระบี่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของไฮยีนาและสัตว์โบราณอื่น ๆ ที่บางชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
จากการศึกษาสภาพแวดล้อมในยุคน้ำแข็ง พบว่าระดับน้ำทะเลในเวลานั้นต่ำกว่าปัจจุบัน พื้นที่อ่าวไทยจึงกลายเป็นพื้นดิน และบริเวณจังหวัดกระบี่เป็นทุ่งหญ้าสะวันนา เมื่อทุ่งหญ้าหายไป สัตว์บางชนิดปรับตัวได้และเข้าไปอาศัยในป่า เช่น กวางป่า กระทิง วัวแดง ต่อมาเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน อากาศร้อนขึ้นและป่าฝนเข้ามาแทนที่ อีกทั้งมนุษย์ได้เข้ามาอยู่อาศัยและรุกรานพื้นที่เดิม ทำให้สัตว์ป่าต้องถอยร่นไปอยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติ
รศ.ดร.กันตภณ ร่วมกับนักวิจัยจากเยอรมนี ได้ทำการวิเคราะห์สัดส่วนคาร์บอนไอโซโทปในเคลือบฟันของสัตว์ป่าปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปรียบเทียบกับฟอสซิลในยุคน้ำแข็ง เช่น กวางป่า ละองละมั่ง เก้ง เนื้อทราย กระทิง วัวแดง และควายป่า เพื่อศึกษาการปรับตัวของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและการรุกรานของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรสัตว์ลดลง และนำไปสู่แนวทางการฟื้นฟูถิ่นอาศัยที่เหมาะสมในปัจจุบัน
"การค้นพบสัตว์ดึกดำบรรพ์ในถ้ำทางภาคใต้จนนำไปสู่การหาหลักฐานใหม่ ๆ เกี่ยวกับฟอสซิล เป็นความท้าทายของนักบรรพชีวินวิทยาซึ่งเกิดจากการออกเดินทางไปสำรวจในพื้นที่ ทำให้รู้ว่าหน้าที่ของนักบรรพชีวินวิทยาคืออะไร และการค้นพบนี้มีประโยชน์กับโลกอย่างไร การศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตผ่านซากดึกดำบรรพ์ ช่วยให้เราเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกในระยะยาว และสามารถเรียนรู้ข้อจำกัดของธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างเข้าใจ" รศ.ดร.กันตภณ กล่าวสรุป
พบกับการบรรยายที่เปิดมุมมองใหม่อย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของ Artificial Intelligence (AI) ต่อกลยุทธ์การตลาดและการ มีส่วนร่วมของลูกค้า โดย Professor Pau Virgili ในวันอังคาร ที่ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา 12:00-13:00 น. ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารศศปาฐศาลา ห้อง 201 ชั้น 2 เหมาะสำหรับนักวิจัย นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจการตลาดยุคใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/xwbXJPGhbdWEdS7N8อย่าพลาดโอกาสดี ๆ ที่จะเข้าใจโลกการตลาดในยุค AI
เปิดโลกอุตสาหกรรมสีเขียว! ดั๊บเบิ้ล เอ ต้อนรับนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ เยี่ยมชมโรงงานผลิตกระดาษ
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนา "SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์"
—
ใครที่มองหาโอกาสสร้างธุรกิจออนไลน์ให้เติบโต ห้าม...
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
—
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และ Top 200 ของ...
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE ครั้งแรก!! จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรี! กลางสยามสแควร์
—
จุฬาฯ รวมพลัง หมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต และพั...
Chulalongkorn Business School คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผนึกกำลัง ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ ประกาศความสำเร็จ HIT PROGRAM ปี 2
—
Chulalongko...
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year จาก "MDCU MedUMORE"
—
แพลตฟอร์ม O...
"MDCU MedUMORE" โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
—
แพลตฟอร์ม Onlin...
โซนี่ไทย จับมือ RAiNMaker และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุน iCreator Camp Gen 2 Presented by Sony
—
โซนี่ไทย จับมือ RAiNMaker และ คณะนิเทศศาสต...