ทำไมต้องขูดหินปูน & ขูดหินปูนเจ็บไหม?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

คราบหินปูน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียรวมตัวกับโปรตีนหรือเศษอาหาร กลายเป็นแผ่นจุลินทรีย์เกาะตามฟันและช่องเหงือก เมื่อทับถมกันจะมีลักษณะเป็นคราบหินปูนและเกาะแน่นที่ฟัน ซึ่งคราบหินปูนเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟัน ต้องกำจัดออกด้วยเครื่องมือทางทันตกรรมเท่านั้น

ทำไมต้องขูดหินปูน & ขูดหินปูนเจ็บไหม?

หลายคนกลัวการขูดหินปูน เพราะกลัวเจ็บ กลัวเปลืองเงิน แต่ถ้าเราไม่กำจัดคราบหินปูนออกจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในช่องปากตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคปริทันต์ โรคเหงือกหรือโรคฟันผุ ที่อาจลุกลามจนต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งไปเลย

ข้อดีของการขูดหินปูน

  • สุขภาพช่องปากแข็งแรง คราบหินปูนเป็นสาเหตุของโรคเหงือก เหงือกมีเลือดออก เหงือกร่น หรือเหงือกบวม การขูดหินปูนช่วยทำให้สุขภาพในช่องปากของเราแข็งแรงขึ้น
  • ช่วยลดปัญหากลิ่นปาก เพราะสาเหตุของกลิ่นปากมาจากคราบหินปูน
  •  เพิ่มความมั่นใจเวลายิ้ม ฟันสะอาด ดูสุขภาพดี ช่วยเสริมบุคลิกภาพของเราให้ดูดีขึ้น
  •  ช่วยให้ฟันมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น การดูแลรักษาฟัน ไม่ให้มีคราบหินปูนมาเกาะ จะช่วยให้รากฟันและเหงือกแข็งแรง ทำให้ฟันไม่สึกกร่อนและไม่ฟันผุ ฟันจึงอยู่กับเราไปได้จนแก่
  •  ฟันแข็งแรง กินอะไรก็อร่อย เมื่อทานอาหารได้อย่างเต็มที่ก็จะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตามมาได้ด้วย

การป้องกันการเกิดคราบหินปูนสะสม สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด แปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเพื่อขจัดคราบเศษอาหารที่ติดตามร่องฟันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดคราบแบคทีเรียและหินปูนสะสมได้ ที่สำคัญควรไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และขูดคราบหินปูนที่สะสม เท่านี้ก็ช่วยให้เรามีสุขภาพช่องปากและฟัน ที่สะอาดและแข็งแรงแล้วครับ...

ขูดหินปูนเจ็บไหม?

ในช่วงที่ยังมีหินปูนไม่มากนัก จะเป็นการรักษาทางทันตกรรมที่เรียบง่าย มักไม่รู้สึกเจ็บขณะขูดหินปูน หรืออาจจะเจ็บเสียวฟันบ้างเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องฉีดยาชา แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานจนเริ่มมีหินปูนสะสมใต้เหงือก มีการอักเสบ การขูดหินปูนก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บอยู่บ้าง


ข่าวจุลินทรีย์+ขูดหินปูนวันนี้

วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน.

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานต้อนรับ นางสาวศศิธร พลัตถเดช รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พร้อมคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมศึกษาดูงาน โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ วว. ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) และศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง

โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็น... วิธีป้องกันและข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยจากการเปียกน้ำ — โรคที่มักจะมากับความเปียกชื้นและอาจจะเป็นแหล่งของไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับน้ำ ซึ่งเป็นสา...

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนา... "หน้าร้อน" อาหารบูดง่าย กรมอนามัยแนะ หลัก "5 ถูก" อาหารปลอดภัย ไม่เสี่ยงโรค — แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในฤดูร้อนอุณหภูมิโดยทั...

Novonesis ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมชีวภาพ... ก้าวใหม่! Novonesis ร่วมกับรัฐบาลไทย-เดนมาร์ก พัฒนาอุตสาหกรรมโคนม ด้วยนวัตกรรมชีวภาพ — Novonesis ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมชีวภาพ (Bio Solutions) ได้ประกาศ...

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแ... THANARA นวัตกรรมความงามผสานไมโครไบโอมฟื้นฟูสุขภาพผิวด้วย 4P-Biotics สูตรเฉพาะจากออล-ดีเอ็นเอ — อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมแ...

นักวิจัยจากนาโนเทค สวทช. พัฒนาเครื่องย่อย... สวทช. เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็น "ปุ๋ยหมักชีวภาพ" ลด CO2 นำร่องสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ — นักวิจัยจากนาโนเทค สวทช. พัฒนาเครื่องย่อยระบบถังคู่ (BioComposter) พร้อมใบ...