ภาคีเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) สถาบันการศึกษา ภาคีตัวแทนผู้ป่วย และประชาสังคม นำโดย ACCESS Health International, Asian Venture Philanthropy Network (AVPN), SingHealth Duke-NUS Global Health Institute และ บริษัท ทาเคดา ฟาร์มาซูติคัล จำกัด ผู้นำด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกที่มีพันธกิจมุ่งส่งเสริมการเข้าถึงยาและการรักษาอย่างเท่าเทียม ร่วมกันจัดการประชุม Southeast Asia Access to Medicines Summit ครั้งแรก ที่กรุงเทพมหานคร ชูกรอบคำมั่นสัญญาลดอุปสรรคการเข้าถึงยาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำความมุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในภูมิภาค
ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ความก้าวหน้าสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) ได้ชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 20191 หลายประเทศยังคงเผชิญกับโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่เปราะบาง และมีช่องว่างสำคัญในการคัดกรอง วินิจฉัย และการเข้าถึงการรักษา การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล องค์กรด้านสุขภาพ และผู้นำในอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืนและสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสม และได้รับยาจำเป็นอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง2
นางสาวศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง กล่าวว่า "ในฐานะอดีตผู้ป่วยมะเร็งที่ผ่านการรักษาหลายรูปแบบมานานกว่า 3 ปี พบว่าผู้ป่วยมีความท้าทายมากมายที่ต้องเผชิญนอกเหนือจากความเจ็บป่วยทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาที่สูง สิทธิในการเข้าถึงยา รวมถึงการเข้าถึงการรักษาที่เสมอภาคสำหรับทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งและโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งการประชุม Southeast Asia Access to Medicines Summit ในครั้งนี้ จะช่วยผลักดันเสียงของผู้ป่วยให้ดังยิ่งขึ้น สร้างความตระหนักให้กับสังคมในวงกว้าง ไปจนถึงภาครัฐที่จะเป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ ดิฉันเชื่อว่าผู้ป่วยในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีฐานะทางสังคมเป็นอย่างไร ก็ควรมีโอกาสเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วและเท่าเทียมกัน ซึ่งจะส่งผลไปถึงระบบสาธารณสุขของไทย ที่จะดีขึ้นตามลำดับด้วย"
นางอรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิมิตรภาพบำบัด กล่าวว่า "ข้อมูลประสบการณ์การรักษาของผู้ป่วย (Patience Experience Data) และการรับฟังเสียงของผู้ป่วยเป็นแนวทางการเข้าถึงการรักษาที่ถูกยกให้เป็นโมเดลการพัฒนานโยบายด้านสาธารณสุขระดับโลก ผ่านการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และกลุ่มตัวแทนผู้ป่วย เพื่อผลักดันสิทธิหลักประกันสุขภาพให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม สำหรับประเทศไทยความร่วมมือดังกล่าวได้รับการตอบรับและถูกผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง มีโครงการขยายการเข้าถึงยาและวัคซีนจำนวนมากประสบความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนยังคงต้องดำเนินต่อไป ผ่านการขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมการเข้าถึงยาและการรักษาต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคหายาก ที่ทั้งการรักษาและยามีราคาสูง ทำให้ไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาแบบเดียวกับยาประเภทอื่น ๆ ในการบรรจุเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติได้ จำเป็นจะต้องได้รับการพิจารณาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อมุ่งให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาและการรักษาอย่างยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"
นายดิออน วอร์เรน ผู้อำนวยการ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย บริษัท ทาเคดา ฟาร์มาซูติคัล จำกัด กล่าวว่า "แม้ระบบสาธารณสุขจะมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่ประชาชนจำนวนหนึ่งของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและยาที่จำเป็นเมื่อเจ็บป่วย เรา ตระหนักถึงบทบาทสำคัญในการร่วมมือขจัดอุปสรรคด้านการเข้าถึงยาและการรักษา ผ่านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) สถาบันการศึกษา กลุ่มตัวแทนผู้ป่วย และประชาชร ภายใต้กลยุทธ์การเข้าถึงยาทั่วโลกของทาเคดา (Takeda Access to Medicine) เราให้ความสำคัญกับการจัดหา ความสามารถในการจ่ายยา และการส่งเสริมศักยภาพของระบบสาธารณสุขทั่วโลกให้มีความยืดหยุ่นและครอบคลุม การประชุม Southeast Asia Access to Medicines Summit ในครั้งนี้ถือเป็นการส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรของทาเคดา ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การพัฒนาในอุตสาหกรรมยาเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขในวงกว้าง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่การพัฒนาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายในระยะยาว"
ประเด็นสำคัญของการประชุมคือ Southeast Asia Access to Medicines Pledge ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาจากภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในระยะยาวทั่วทั้งภูมิภาค พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม สามารถเข้าร่วมได้มากยิ่งขึ้น โดยคำมั่นสัญญานี้ประกอบด้วย
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ตอกย้ำบทบาทสำคัญด้านการพัฒนาเด็ก ครอบครัวและชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในฐานะที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีพันธกิจในการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวมาแล้วกว่า 50 ปี เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศเดือนแห่งการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว ล่าสุด ทางมูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้จัด โครงการอบรมหลักสูตรครอบครัวสุขสันต์ ขึ้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมีครอบครัวกว่า 30 ครอบครัวเข้าร่วม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูก ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้การ
มูลนิธิศุภนิมิตฯ มอบโล่ The Heart of Giving : หัวใจแห่งการให้ ปีที่17 สร้างวินัยเด็กไทย อดทน-อดออม-แบ่งปัน กระแสตอบรับเกินคาด
—
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไ...
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เผย ผลสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย โลกร้อนมาเป็นอันดับ 1
—
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อน...
มูลนิธิศุภนิมิตฯ ส่งแคมเปญ "BEST GIFT เติมชีวิตด้วยการให้" ชวนคนไทย ส่งมอบของขวัญ แบ่งปันโอกาสให้เด็กยากไร้และชุมชนยั่งยืน
—
ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี มูลนิธ...
World Ecolabel Day กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
—
หากพูดถึงวันสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมก็มีมากมาย เพื่อย้ำเตือนให้คนเราไม่ว่าจะอยู่ประเทศไทย สัญชาติอะไรเห...
มูลนิธิศุภนิมิตฯ เปิดเวที Youth Forum 2024 พื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนอย่างยั่งยืน
—
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (...
ปลื้ม! TEI คว้ารางวัล G-ทอง (ระดับดีเยี่ยม) สำนักงานสีเขียว (Green office) 2 ปีซ้อน
—
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ตอก...