2 บริษัทก่อสร้างชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ ม.วลัยลักษณ์ เซ็นเอ็มโอยูพร้อมมอบทุนกว่า 1 ล้านบาท หนุนงานวิจัยวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีตรีไซเคิล เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายพิสิษฐ์ จรัสพงศ์ถาวร กรรมการบริหาร บริษัท จีเอฟอาร์พี คิงส์ และนายประเสริฐ ตั้งเด่นไชย กรรมการผู้จัดการบริษัท ปัญญาคอนกรีต จำกัด ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมวัสดุแท่งคอมโพสิตและคอนกรีต โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นประธานในพิธี มีผู้บริหารของทั้ง 2 ฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องINNOVATION HUB อุทยานวิทยาศาสตร์ฯและห้องเกียรติยศ รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาวัสดุแท่งคอมโพสิตในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ศึกษาและวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์วัสดุแท่งคอมโพสิต พัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างคอนกรีตและนวัตกรรมการก่อสร้าง ศึกษาและวิจัยต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากคอนกรีตรีไซเคิล พร้อมทั้งการสนับสนุนความร่วมมือการทำวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต ภายใต้กรอบเวลา 3 ปี
โอกาสเดียวกันนี้ ทั้ง 2 บริษัทและม.วลัยลักษณ์ ยังได้การลงนามในสัญญาโครงการวิจัย จำนวน 2 โครงการ พร้อมสนับสนุนทุนการวิจัยให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย รวมทั้งสิ้น 1,075,000 บาท ด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการวิจัยในครั้งนี้ ว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก การนำวัสดุคอนกรีตรีไซเคิลและวัสดุแท่งคอมโพสิตมาใช้ จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทยได้
"ในอนาคตเรามีแผนในการก่อสร้างอาคารจริงขนาด 3 ชั้น ที่ใช้วัสดุแท่งคอมโพสิต 100% เป็นโครงสร้างเสริมแรง โดยจะตรวจวัดและติดตามผลด้านความทนทานและประสิทธิภาพของวัสดุต่อสภาพแวดล้อมจริงเป็นระยะเวลา 12 เดือน เพื่อประเมินความทนทานและความสามารถในการรองรับน้ำหนักในระยะยาว" รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ กล่าว
ส่วนการใช้คอนกรีตรีไซเคิลสำหรับผลิตลูกปูนหนุนเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีต จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่และลดขยะก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการสึกกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต ทนทานต่อการกัดกร่อนในสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง ที่สำคัญจะช่วยยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างได้อีกด้วย
ม.วลัยลักษณ์แถลงข่าวเตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ WRC 2025 เนื่องในโอกาสครบปีที่ 33 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกร่วมเป็นองค์ปาฐก มีนักวิชาการตอบรับเข้าร่วมแล้วกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตพันธุ์ รองวงศ์ ผอ.สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกันแถลงข่าวการจัดประชุม
มวล.เปิดเวทีระดมสมอง กำหนดกลยุทธ์ยกระดับระบบวิจัยฯ ขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
—
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเวทีระดมความเห็นเพื่อกำหนดกลยุทธ์ยกร...
เอ็นไอเอ เปิดตัว "นิลมังกรซีซั่น 3" ดันนวัตกรรมไทยจากโลคอลสู่โกลบอล
—
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง (แถวหน้าที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค...
"เฮงลิสซิ่ง" มอบน้ำดื่มให้แก่ สสส. จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจในการช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้พิการ
—
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา บริษัท เฮงลิสซิ่ง แอน...
AIT จับมือ BOI เปิดอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน สนับสนุนวิสัยทัศน์ประเทศ สู่ศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
—
เมื่อวันที่ 7 กัน...
เนต้า ออโต้ เซ็น MOU กับ HKSTP ตั้งสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติในฮ่องกง
—
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ฮ่องกง เนต้า ออโต้ (NETA Auto) และองค์การอุทยานวิทยาศาสตร์...
ทีม Daywork คว้ารางวัลชนะเลิศรับ 300,000 บาท จาก Krungsri UPcelerator เตรียมบินลัดฟ้าร่วมงานใหญ่ที่สิงคโปร์
—
ครั้งแรกกับ Krungsri UPcelerator Demo Day ที...
มหกรรมสินค้า U2T for BCG ลุยอีสานสำเร็จ "อว." ไม่หยุดพัฒนาสินค้าชุมชนสู่ตลาดผู้บริโภค
—
ลุยอีสานประสบผลสำเร็จเป็นที่พอใจ ภายหลังจาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เ...