กรมอนามัย เผย 7 พื้นที่อับอากาศต้องระวัง แนะเจ้าของกิจการกำหนดมาตรการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงาน และตรวจวัดก๊าซพิษ และปริมาณออกซิเจนก่อนเข้าพื้นที่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยถังน้ำมัน ถังเก็บสารเคมี บ่อบำบัดน้ำเสีย อุโมงค์ระบายน้ำ อุโมงค์รถไฟ ห้องใต้ดิน ไซโลเก็บเมล็ดพืช หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นพื้นที่อับอากาศต้องระวัง แนะผู้ประกอบกิจการ และผู้ปฏิบัติงาน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำ 8 ประการ เช่น การตรวจวัดก๊าซพิษ ตรวจระบบไฟฟ้า ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัย

กรมอนามัย เผย 7 พื้นที่อับอากาศต้องระวัง แนะเจ้าของกิจการกำหนดมาตรการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงาน และตรวจวัดก๊าซพิษ และปริมาณออกซิเจนก่อนเข้าพื้นที่

นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงกรณีการเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการผลิตปลาร้าในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยคาดว่าอาจเกิดจากการได้รับก๊าซไข่เน่า หรือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่ไม่มีสี กลิ่นคล้ายไข่เน่า และเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก อาการเบื้องต้น เมื่อสูดดมก๊าซไข่เน่าในระดับความเข้มข้นต่ำถึงปานกลาง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา ตาแดง น้ำตาไหล เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และมีปัญหาการหายใจ แต่หากได้รับในระดับความเข้มข้นสูงถึงสูงมาก จะสูญเสีย การรับรู้กลิ่น หมดสติ ปอดบวม ระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้ โดยที่ความเข้มข้นระดับมากกว่า 200 ppm ไฮโดรเจนซัลไฟด์ จะยับยั้งขบวนการหายใจโดยใช้ออกซิเจนที่ระดับเซลล์ และไปทำปฏิกิริยากับฮีโมโกบินในเลือดอาจส่งผลให้เลือดเป็นสีเขียวได้ โดยในการปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงที่เป็นพื้นที่อับอากาศต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสุขภาพและสุขอนามัยเป็นสำคัญ ตัวอย่างของพื้นที่อับอากาศ อาทิเช่น ถังน้ำมัน ถังเก็บสารเคมีบ่อบำบัดน้ำเสีย อุโมงค์ระบายน้ำ อุโมงค์รถไฟ ห้องใต้ดิน ไซโลเก็บเมล็ดพืช เจ้าของกิจการควรมีมาตรการและกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำสำคัญ 8 ประการ ดังนี้ 1) วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตรายควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานชี้แจงหน้าที่ วิธีทำงานการป้องกันอันตรายให้ผู้ที่ต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงทราบ2) ประเมินสุขภาพของเจ้าหน้าที่ที่ต้องลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศก่อน หากพบว่ามีอาการป่วย บาดเจ็บ หรือร่างกายอ่อนเพลีย ควรหลีกเลี่ยงการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน และให้เปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่อื่นที่มีความพร้อมของร่างกายแทน 3) ขณะปฏิบัติงานให้จัดทำป้าย "พื้นที่ที่อับอากาศ พื้นที่เสี่ยง พื้นที่อันตราย ห้ามเข้า" ติดไว้ที่บริเวณหน้าทางเข้า - ออก และต้องมีระบบการขออนุญาตก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง 4) ตรวจสอบระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ สวิตช์ไฟต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ปกติ ไม่มีสายไฟขาดหรือชำรุด และควรมีระบบตัดไฟอัตโนมัติหากเกิดกรณีไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้ารั่วในพื้นที่ทำงาน

นายแพทย์ธิติ กล่าวต่อไปว่า ประเด็นที่สำคัญ คือ 5) การตรวจวัดก๊าซพิษ ก๊าซติดไฟและปริมาณก๊าซออกซิเจนต้องอยู่ระหว่าง 19.5 - 23.5 เปอร์เซ็นต์ ก่อนลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศทุกครั้ง และต้องกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานต่อคนที่ชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหรือหมดสติในขณะปฏิบัติงาน 6) ต้องมีระบบหรือกลไกการแจ้งขอความช่วยเหลือกรณีเจ้าหน้าที่ประสบเหตุในพื้นที่อับอากาศ และต้องมีผู้ควบคุม และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้า - ทางออก ตลอดเวลาที่มีการทำงาน โดยผู้ควบคุม และผู้ช่วยเหลือต้องมีความรู้ในการป้องกันตนเอง ขณะลงไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุด้วย 7) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล Personal Protective Equipment (PPE) อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสม และ 8) ผู้ที่จะต้องเข้าไปทำงานในที่อับอากาศมีลักษณะงานที่เสี่ยงต่อการได้รับหรือสัมผัสอันตรายจะต้องผ่านการอบรมความปลอดภัย ในการทำงานในที่อับอากาศ

"สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการพิจารณาอนุญาตในการประกอบกิจการประเภทดังกล่าว ควรต้องมีการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามมาตรฐานและถูกสุขลักษณะ ก่อนการออกใบอนุญาตและต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการทุกครั้ง" รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว


ข่าวจังหวัดเพชรบูรณ์+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

วว. ร่วมกับ มรภ. เพชรบูรณ์ นำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดเพชรบูรณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ นำโดย ดร. เรวดี อนุวัฒนา รักษาการ ผอ. ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ (ศนว.) พร้อมด้วยนักวิจัยอาวุโส ศนว. ได้แก่ ดร.วาสนา ฆ้องวงศ์ ดร.ปิยาลักษณ์ เงินชูกลิ่น และดร.ธนิสร์ วัยโรจนวงศ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ (ศนย.) ร่วมนำเสนอและให้ข้อมูลเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ต้นแบบภาชนะรักษ์โลกจากเยี่อกล้วย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ ก... กลับมาให้ช้อปฟินจุใจ!! เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ขนทัพสุดยอดสินค้า GI ทั่วไทยในงาน GI MARKET 2024 — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญ...

สถาบันไทยศึกษา ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร... ประชุมวิชาการ "เมืองโบราณศรีเทพ มรดกทางวัฒนธรรรมของโลก" — สถาบันไทยศึกษา ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ...

RT ส่งมอบงานโครงการฟื้นฟูทางหลวงหมายเลข 2... RT ส่งมอบงานฟื้นฟูทางหลวง จ.เพชรบูรณ์ มูลค่า 47.02 ลบ. — RT ส่งมอบงานโครงการฟื้นฟูทางหลวงหมายเลข 2196 ตอนนางั่ว-ทุ่งสมอ จังหวัดเพชรบูรณ์ กรมทางหลวง มูลค่า...

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสา... กรอบนอกจี๊ดใน!! บางกอกแอร์เวย์สเสริฟสกายไบท์สเซ็ทใหม่ "กล้วยกรอบไส้มะขาม" ต้อนรับเดือนเมษายน — บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เ...