สศก. เผยผลศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหนุนเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน หันปลูกถั่วลิสงเพิ่มรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นายเอกราช ตรีลพ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกถั่วลิสงของเกษตรกร เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกถั่วลิสงมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามาตรการการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรังของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ สศก. โดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ปลูกถั่วลิสงที่สำคัญใน 8 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ และสกลนคร โดยการสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 411 ราย แบ่งเป็น เกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสง 195 ราย และเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 216 ราย

สศก. เผยผลศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหนุนเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน หันปลูกถั่วลิสงเพิ่มรายได้

สำหรับผลการศึกษา ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกถั่วลิสง ปีเพาะปลูก 2565/66 พบว่า มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะต้นทุนค่าแรงงาน โดยต้นทุนการผลิตของถั่วลิสงรุ่น 1 (ถั่วฝน) อยู่ที่ 12,871.24 บาทต่อไร่ มีค่าแรงงานคิดเป็นร้อยละ 54.36 ของต้นทุนการผลิตถั่วลิสงรุ่น 1 ทั้งหมด ขณะที่ต้นทุนการผลิตถั่วลิสงรุ่น 2 (ถั่วแล้ง) สูงกว่าเล็กน้อย อยู่ที่ 14,291.16 บาทต่อไร่ มีค่าแรงงานคิดเป็นร้อยละ 53.67 ของต้นทุนการผลิตถั่วลิสงรุ่น 2 ทั้งหมด ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตของการปลูกถั่วลิสงรุ่น 2 มากกว่าถั่วลิสงรุ่น 1 เนื่องจาก ถั่วลิสงรุ่น 2 มีค่าใช้จ่ายการดูแลรักษาที่สูงกว่า โดยเฉพาะค่าแรงงานการดูแลรักษา รวมถึงการให้น้ำที่เพียงพอกับความต้องการของพืช สศก. เผยผลศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการตัดสินใจปลูกถั่วลิสงหนุนเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน หันปลูกถั่วลิสงเพิ่มรายได้

ด้านผลผลิตต่อไร่ พบว่า ถั่วลิสงรุ่น 2 มีผลผลิตเฉลี่ย 630.37 กิโลกรัมฝักสดต่อไร่ ขณะที่ถั่วลิสงรุ่น 1 มีผลผลิตเฉลี่ย 559.77 กิโลกรัมฝักสดต่อไร่ สำหรับราคาเฉลี่ยของถั่วลิสงรุ่น 2 มีราคาเฉลี่ย 26.41 บาทต่อกิโลกรัม และถั่วลิสงรุ่น 1 มีราคาเฉลี่ย 25.28 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ผลตอบแทนถั่วลิสงรุ่น 2 เฉลี่ยไร่ละ 16,648.07 บาท คิดเป็นกำไร 3.74 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ถั่วลิสงรุ่น 1 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 14,150.99 บาท คิดเป็นกำไร 2.29 บาทต่อกิโลกรัม

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปลูกถั่วลิสง ภาพรวม พบว่า มีทั้งปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกถั่วลิสงมากขึ้น และปัจจัยที่ส่งผลให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกถั่วลิสงลดลง โดยปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกถั่วลิสงเพิ่มขึ้น ได้แก่ การอบรมความรู้ด้านการปลูกถั่วลิสง ซึ่งการได้รับความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปลูกถั่วลิสงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจและกระตุ้นให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกถั่วลิสงเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรที่ผ่านการอบรมมีแนวโน้มที่จะปลูกถั่วลิสงมากขึ้นถึงร้อยละ 29.68 นอกจากนี้ การมีรายได้ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น เป็นอีกปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ โดยพบว่าหากเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จะตัดสินใจปลูกถั่วลิสงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.34 ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกถั่วลิสงลดลง ได้แก่ การมีพื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทาน ซึ่งส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะปลูกถั่วลิสงลดลงถึงร้อยละ 17.75 เนื่องจากว่าเกษตรกร ในเขตชลประทานมีทางเลือกในการปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า และอีกปัจจัยหนึ่ง คือ อายุของเกษตรกร โดยพบว่าเกษตรกรที่มีอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะปลูกถั่วลิสงลดลงร้อยละ 1.07 เพราะเกษตรกรสูงอายุมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายในการทำการเกษตรที่ต้องใช้แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปลูกถั่วลิสงที่เป็นพืชที่มีการใช้แรงงานสูงในการผลิต ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาในส่วนของการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกถั่วลิสง

ดังนั้น แนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกถั่วลิสงเพิ่มขึ้น ควรเน้นการส่งเสริมและสนับสนุน ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปลูกถั่วลิสงของเกษตรกร โดยภาครัฐควรมุ่งเน้นการส่งเสริมการปลูก ถั่วลิสงในพื้นที่นอกเขตชลประทานเป็นหลัก เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่เหล่านี้อาจมีทางเลือกในการปลูกพืชที่หลากหลาย น้อยกว่า และถั่วลิสงเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ซึ่งเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งการส่งเสริมนี้ ควรมาพร้อมกับการจัดอบรม ให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปลูกถั่วลิสงอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีมาตรการจูงใจทางการเงิน เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกถั่วลิสงมากขึ้น เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ การสนับสนุนปัจจัยการผลิตถั่วลิสง และการสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมถึงควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง โดยสนับสนุนการพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง มีคุณภาพดี และทนทานต่อโรคและแมลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรในระยะยาว สำหรับท่านที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2579 0611 ในวันและเวลาราชการ


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+เศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

สศท.2 เกาะติดสถานการณ์ผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 68 รวม 6 จังหวัด แตะ 55,000 ตัน เพิ่มขึ้น 12.47%

นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตทุเรียนภาคเหนือตอนล่าง ปี 2568 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ พิษณุโลก ตาก และน่าน (ข้อมูล ณ 4 มิถุนายน 2568) โดย สศท.2 ประชุมร่วมกับคณะทำงาน ย่อยพัฒนาระบบข้อมูลปริมาณการผลิตและโลจิสติกส์ไม้ผล ภาคเหนือ ครั้งที่ 2/2568 พบว่า มีเนื้อที่ยืนต้นรวม 100,559 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 92,474 ไร่ (เพิ่มขึ้น 8,085 ไร่ หรือร้อยละ 9)

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมอาชีพประมง เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ หนุนสร้างรายได้เกษตรกร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสห...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...