กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เปิดตัวโครงการการประเมินความต้องการเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Technology Needs Assessment: TNA) ฉบับที่ 2 อย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำถึงบทบาทของ TNA ในการเป็นกลไกพัฒนาและคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมเชื่อมโยงกับการสนับสนุนจากนานาชาติทั้งด้านองค์ความรู้และแหล่งทุน
"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย โครงการ TNA จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้และเชื่อมโยงกับแหล่งทุนระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ และนำไปสู่เป้าหมายของประเทศในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608" นางสาวศุภมาส กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ยังเน้นย้ำถึงบทบาทของกระทรวง อว. ในการสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และส่งเสริมนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้จริงในภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ พลังงาน การเกษตร อุตสาหกรรม และการจัดการของเสีย โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษา การวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระยะยาว
ด้าน ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. และผู้ประสานงานโครงการ TNA ของประเทศไทย ยังได้บรรยายสรุปภาพรวมของโครงการ โดยชี้ให้เห็นว่า TNA เป็นเครื่องมือสำคัญในการระบุความต้องการเทคโนโลยีเฉพาะด้านของประเทศไทย ทั้งการปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนและการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างประเทศ
"โครงการ TNA เป็นกลไกที่ดำเนินภายใต้การสนับสนุนของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ UNEP Copenhagen Climate Centre (UNEP-CCC) เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ระบุและจัดลำดับเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศไทยดำเนินโครงการ TNA ฉบับที่ 1 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2555 และในฉบับที่ 2 นี้ จะเป็นการต่อยอดเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนากลยุทธ์และแผนงานที่เข้าถึงแหล่งทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ดร.สุรชัย กล่าว
อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของงานในครั้งนี้ คือการบรรยายพิเศษหัวข้อ "TNA as a Catalyst: Unlocking Capital for Climate Technology" โดย Sara Traerup, Section Head, Technology - Transitions and System Innovation, UNEP-CCC และเวทีเสวนาในหัวข้อ "ก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย" โดยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน
สำหรับโครงการ TNA ของประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นจากฉบับแรกที่จัดทำแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2555 และได้รับการยกย่องในระดับสากลว่าประสบความสำเร็จในการบูรณาการผลการประเมินเทคโนโลยีเข้าสู่แผนนโยบายระดับชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในปัจจุบันประเทศไทยได้รับทุนสนับสนุนจาก Global Environment Facility (GEF) ในการดำเนินการ TNA ฉบับที่ 2 ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนากลยุทธ์ระดับประเทศและโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งทุนระยะยาว
TNA ยังมีบทบาทสำคัญในเวทีเจรจาระดับนานาชาติ เช่น การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) ซึ่งช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการขอรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการเงิน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ โครงการ TNA ฉบับที่ 2 นับเป็นอีกก้าวสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมคณะติดตาม นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง อว. ปฏิบัติภารกิจ ระหว่างวันที่ 9 11 มิถุนายน 2568 ณ เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ภารกิจที่ 1 ร่วมเป็นเกียรติในงาน The 9th Digital Belt and Rode Conference หรือ DBAR 2025 เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบรอบ 50 ปี พร้อมฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการ DBAR ซึ่งทั้งสอง
วว. ร่วมเปิดรับสมัครบุคลากรและนักศึกษาฝึกงาน @ อว. JOB FAIR 2025
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว....
วว. ร่วมเป็นเกียรติแสดงความยินดีเนื่องในงานครบรอบ 6 ปี คล้ายวันสถาปนากระทรวง อว. พร้อมรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ "คนดีศรี อว." ประจำปี 2567
—
นางสาวศุภมาส อ...
สอวช. เดินหน้านโยบาย"ชีววิทยาสังเคราะห์" ดันเศรษฐกิจฐานชีวภาพของไทยเชื่อม Deep Tech - ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมมูลค่าสูง
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าก...
อว.เพื่อประชาชน เปิดศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมโดรนเพื่อการเกษตร สู่ชุมชนยั่งยืน ในกิจกรรม ครม.สัญจร ณ วิทยาลัยการอาชีพนาแก จ.นครพนม
—
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ...
วว. นำเสนอนวัตกรรมเพิ่มมูลค่า "ข้าว" ภายใต้ ครม. สัญจร จังหวัดนครพนม/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทร...
กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform
—
กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...