สอวช. เดินหน้านโยบาย"ชีววิทยาสังเคราะห์" ดันเศรษฐกิจฐานชีวภาพของไทยเชื่อม Deep Tech - ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมมูลค่าสูง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (กอวช.) ครั้งที่ 3/2568 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. และผ่านระบบออนไลน์

สอวช. เดินหน้านโยบาย"ชีววิทยาสังเคราะห์" ดันเศรษฐกิจฐานชีวภาพของไทยเชื่อม Deep Tech - ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมมูลค่าสูง

ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้นำเสนอวาระเพื่อเสวนาในประเด็น "แผนที่นำทางการพัฒนาชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมชีวภาพของประเทศไทย" โดยเน้นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic Biology หรือ SynBio) ซึ่งเป็นศาสตร์สหสาขาระหว่างชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์ ที่สามารถออกแบบระบบชีวภาพใหม่ให้ตอบโจทย์เฉพาะด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมที่หลากหลาย เช่น ยาชีวภาพ พลังงานสะอาด วัสดุใหม่ และโปรตีนทางเลือก ที่อาจสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวางต่อมนุษยชาติโดย สอวช. ได้เริ่มขับเคลื่อนประเด็นนี้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2567 และได้มีการจัดประชุม SynBioConsortium มาอย่างต่อเนื่อง ได้รับความสนใจอย่างมากจากภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มความสำคัญระดับโลกของเทคโนโลยีนี้ สอวช. เดินหน้านโยบาย"ชีววิทยาสังเคราะห์" ดันเศรษฐกิจฐานชีวภาพของไทยเชื่อม Deep Tech - ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมมูลค่าสูง

ดร.กันตพิชญ์ ปรีดากรณ์ นักพัฒนานโยบาย ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจนวัตกรรม สอวช. กล่าวว่า เทคโนโลยี SynBio มีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดสูง ในการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ในหลายภาคส่วน เช่น ภาคเกษตร: การใช้จุลินทรีย์ ปรับปรุงพันธุ์พืช และปุ๋ยชีวภาพ ภาคอาหาร: การพัฒนาน้ำตาลจากพืชที่ให้รสหวานแต่ลดผลกระทบต่อสุขภาพ ภาคพลังงาน: การผลิตเอทานอลและเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบทางการเกษตร อุตสาหกรรมการแพทย์และเภสัชภัณฑ์:การเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งการพัฒนาระบบเหล่านี้จะลดการนำเข้าและส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมชีวภาพไทยอย่างยั่งยืน

ดร.กันตพิชญ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีฐานด้านชีวภาพที่เข้มแข็ง แต่ยังเชื่อมไม่ถึงเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) และยังขาดการจดสิทธิบัตรด้าน SynBio จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างกฎหมายและระบบสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้รองรับเทคโนโลยีใหม่นี้ พร้อมกันนี้ยังชี้ให้เห็นช่องว่างของการพัฒนากำลังคนในประเทศ ที่ต้องมีการวางเส้นทางอาชีพที่มั่นคงให้กับบุคลากรที่มีความสามารถให้ยังคงอยู่ในสาขานี้ และบัณฑิตที่จบไปแล้วต้องสามารถพัฒนาทักษะเพิ่มเติมเพื่อทำงานในด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมชีวภาพ และ Machine Learning หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้

ในส่วนของยุทธศาสตร์ 10 ปี ด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมชีวภาพของประเทศไทยได้วางแนวทางในการตั้งระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถด้านการวิจัยและเพิ่มการใช้ประโยชน์จากภาคอุตสาหกรรม โดยมีนโยบายประเทศที่ส่งเสริมให้ชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมชีวิภาพเป็นเทคโนโลยีเป้าหมายของชาติและมีการจัดสรรทุนเพื่อสนับสนุนเป้าหมายนี้ โดยอาจมีโปรแกรมการร่วมลงทุนกับต่างชาติ นอกจากนี้ ยังต้องสร้างการรับรู้ของสังคม ผ่านการจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและประชาสังคม พัฒนากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และสร้างความร่วมมือกับนานาชาติ มีการสร้างรากฐานองค์ความรู้ ผ่านการพัฒนาทักษะกำลังคน การให้ทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดบุคลากร มีระบบการวิจัยที่ให้ทุนวิจัยและอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยขั้นแนวหน้า ที่สำคัญจะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมและขยายตลาด โดยมีระบบสนับสนุนธุรกิจ มีทุนวิจัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายใหญ่คือการทำให้ชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมชีวภาพเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับนวัตกรรมและการเติบโตที่ยั่งยืนของประเทศ และช่วยเสนับสนุนการเพิ่มจีดีพีในภาพรวมของประเทศได้

สำหรับการดำเนินงานระยะต่อไปของ สอวช. นั้น จะทำใน 3 ด้านได้แก่ 1. Knowledge - พัฒนาหลักสูตร ทุนวิจัย ห้องปฏิบัติการ และกำลังคนด้าน SynBio 2. Funding - สนับสนุนการจัดสรรทุนวิจัยตามแผนที่นำทาง 3. Regulation - ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อกำกับดูแลและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การขับเคลื่อนเรื่อง SynBio จะต้องมองภาพรวมทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ให้เชื่อมโยงกัน โดยดึงกลุ่มSME เข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะในภาคเกษตรและภาคพลังงาน พร้อมชี้ให้เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องยกระดับให้เป็นระดับชาติ และเชื่อมโยงทรัพยากรชีวภาพกับการผลิตผลิตภัณฑ์นวัตกรรม โดยใช้กลไกด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(ววน.) เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเชิงระบบ


ข่าวนางสาวศุภมาส อิศรภักดี+สุรชัย สถิตคุณารัตน์วันนี้

อว.เพื่อประชาชน เปิดศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมโดรนเพื่อการเกษตร สู่ชุมชนยั่งยืน ในกิจกรรม ครม.สัญจร ณ วิทยาลัยการอาชีพนาแก จ.นครพนม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2568 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการเปิดศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรนเพื่อการเกษตร ที่จัดตั้งขึ้น ณ วิทยาลัยการอาชีพนาแก จังหวัดนครพนม โดยมี นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรี อว.,ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงอว., ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ว่าที่ร้อยตรีพงษ์อนัน เปลี่ยนเอก ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนาแก และ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬา

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (ที่ 4 จากขวา) รัฐ... 'Food ingredients Asia Thailand และ Vitafoods Asia 2025' จัดงานดินเนอร์ ทอล์ก เนื่องในวันสตรีสากล — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี (ที่ 4 จากขวา) รัฐมนตรีว่าการกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... "ศุภมาส" นำทีมเสวนา วิจัยไขคำตอบ ลดตระหนก สร้างตระหนัก สู่ทางรอดภัยแผ่นดินไหว — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งช...