กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบย้อนกลับทุเรียนนนท์ จับมือเกษตรกรทุเรียนนนท์และเครือข่ายหน่วยงานในจังหวัด เข้าร่วมโครงการ "GI SMARTTRACE นวัตกรรมตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้า GI" สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า GI ทุเรียนนนท์
นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้า GI อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสินค้า GI ที่มีระบบควบคุมคุณภาพแล้ว 183 สินค้า จากสินค้าทั้งหมด GI 224 สินค้า คิดเป็นร้อยละ 82 และเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้า GI และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า GI มากยิ่งขึ้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้จัดทำโครงการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า GI โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ภายใต้โครงการ "GI SMARTTRACE นวัตกรรมการตรวจสอบย้อนกลับ
สำหรับสินค้า GI" ซึ่งกรมฯ ได้ดึงทุเรียนนนท์เป็นสินค้านำร่องในกลุ่มสินค้าทุเรียน GI เพื่อนำไปเป็นต้นแบบให้กับทุเรียน GI ในภูมิภาคอื่นๆ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคสินค้า GI ทุเรียนนนท์สามารถตรวจสอบได้ว่า ทุเรียนที่ซื้อมาจากสวนไหน เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อไร ผู้ปลูกคือใคร และสินค้ามีความพิเศษและเชื่อมโยงกับความพิเศษในพื้นที่อย่างไร ซึ่งนำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคที่ได้รับการยืนยันถึงคุณภาพสินค้าของทุเรียนนนท์ที่เชื่อมโยงกับแหล่งผลิต
นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมในวันนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในจังหวัด กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้า GI ทุเรียนนนท์ ที่ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย กว่า 80 ราย เข้าร่วมรับฟังโครงการ "GI SMARTTRACE นวัตกรรมตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้า GI" ซึ่งจะนำมาสู่ความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคถึงแหล่งที่มาของทุเรียนนนท์ โดยเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการจะได้คำแนะนำวิธีใช้งานระบบ และสิทธิประโยชน์ของโครงการ เช่น การถ่ายภาพสวนวิว 360 องศา การบอกเล่าเรื่องราวของทุเรียนนนท์ (Story Telling) เป็นต้น ซึ่งระบบดังกล่าวเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้งานระบบดังกล่าวได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในอนาคตกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะขยายการใช้งานระบบดังกล่าวไปยังสินค้า GI ในประเภทอื่นๆ ต่อไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในสินค้า GI สร้างรายได้ให้กับพื้นที่อย่างยั่งยืน นำมาสู่เศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป
กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรฐกิจ (บก.ปอศ.) ทบทวนมาตรการและแผนปฏิบัติการเร่งด่วน และจัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ทลายแหล่งจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญากลางกรุง นำกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้กับผู้กระทำความผิด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 ณ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า "กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการละ
กรมทรัพย์สินทางปัญญาลงพื้นที่แหล่งผลิต "ลิ้นจี่นครพนม" ผลไม้ GI สินค้าดีเมืองพระธาตุพนม จับมือกลุ่มพันธมิตร Tops Market ขยายช่องทางการตลาด
—
กรมทรัพย์สินท...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมจัดกิจกรรม "วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก" ประจำปี 2568จัดเสวนา "จังหวะดนตรี จังหวะ IP" ต่อยอด Soft Power ด้วย Music IP
—
กรมทรัพย์สินทา...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาหารือร่วมกับเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดกา...
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ FAO หนุนพัฒนา GI ภูฏานผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ต่อยอดการส่งเสริมสินค้า GI ไทยสู่ตลาดโลก
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้การต้อน...
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกและ CEA นำร่องสร้างดัชนีชี้วัดซอฟต์พาวเวอร์ไทย
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโ...