กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือโชน ปุยเปีย นักออกแบบไทยรุ่นใหม่ ดึงเสน่ห์ผ้า GI ไทยให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลก ออกแบบชุดให้กับแมนเนเกน พิส สัญลักษณ์ประจำเมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมทรัพย์สินทางปัญญา จับมือนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ไฟแรง โชน ปุยเปีย เจ้าของแบรนด์ Shone Puipia ดึงเสน่ห์ผ้า GI ไทย ผ้าไหมยกดอกลำพูนและผ้าตีนจกแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบชุดสุดสร้างสรรค์จากผ้า GI ไทยให้กับ "แมนเนเกน พิส" (Manneken Pis) รูปปั้นเด็กฉี่สัญลักษณ์ประจำกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียมและสหภาพยุโรปต้นแบบแนวคิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พร้อมส่งมอบชุดอย่างเป็นทางการให้กับ สำนักงานเขตบรัสเซลส์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ณ ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจับมือโชน ปุยเปีย นักออกแบบไทยรุ่นใหม่ ดึงเสน่ห์ผ้า GI ไทยให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลก ออกแบบชุดให้กับแมนเนเกน พิส สัญลักษณ์ประจำเมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ตามนโยบายรัฐบาล ผ่านการผลักดันสินค้า GI ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าและโอกาสทางค้าให้กับสินค้า GI ปัจจุบันมีสินค้า GI ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว 234 รายการ โดยล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญาดึงนักออกแบบรุ่นใหม่สายเลือดไทย คุณโชน ปุยเปีย เจ้าของแบรนด์ Shone Puipia จบการศึกษามาจาก Royal Academy of Fine Arts Antwerp สถาบันแฟชั่นชั้นนำของประเทศเบลเยียม เพื่อออกแบบชุดให้กับประติมากรรมแมนเนเกน พิส รูปปั้นเด็กฉี่ สัญลักษณ์ประจำเมืองบรัสเซลส์ เมืองหลวงของสหภาพยุโรปซึ่งถือเป็นต้นแบบของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเบลเยียม และการจัดพิธีมอบอย่างเป็นทางการให้กับสำนักงานเขตบรัสเซลส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลเรื่องการจัดแสดงเครื่องแต่งกายให้กับประติมากรรมแมนเนแกน พิส เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 ภายใต้การสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ในการร่วมจัดกิจกรรมและประสานงานหน่วยงานประจำเมืองที่เกี่ยวข้อง

นางสาวนุสรา กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่อัตลักษณ์สินค้า GI โดยเฉพาะกลุ่มผ้า GI ไทย ให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลก สร้างโอกาสทางการค้าให้กับสินค้า GI ไทยในตลาดสากล และส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ โดยคุณโชนดึงอัตลักษณ์และนำเสนอเสน่ห์ความงามของผ้า GI ไทย 2 ชนิด คือ ผ้าไหมยกดอกลำพูน และผ้าตีนจกแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่ ทันสมัย ซ่อนอารมณ์ขันไว้ในการออกแบบชุดในลักษณะเลิกกระโปรงขึ้น พร้อมแนวคิด "ยิงกระต่าย เด็ดดอกไม้ (Spot the Rabbit, Pick the Flower)" รวมถึงถ่ายทอดความลื่นไหลของเพศสภาพโดยให้แมนเนแกน พิส สัญลักษณ์เด็กฉี่ผู้ชายสวมใส่ชุดกางเกงกระโปรงและเสื้อที่ตกแต่งด้วยโบว์ ซึ่งเป็นการสื่อสารเรื่องความหลากหลายทางเพศและความลื่นไหลของเพศสภาพ ผ่านงานดีไซน์ได้อย่างลงตัว

ปัจจุบันผ้า GI ไทยมีทั้งสิ้น 17 รายการ สร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 1,500 ล้านบาท ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการยกระดับภาพลักษณ์ผ้าไทยและสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผ้า GI ไทยให้สูงขึ้น นำมาสู่การมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน นางสาวนุสรา กล่าว


ข่าวกรมทรัพย์สินทางปัญญา+ทรัพย์สินทางปัญญาวันนี้

กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศความสำเร็จ นำระบบ GI SMARTTRACE นวัตกรรมตรวจสอบย้อนกลับสินค้า GI ทุเรียนนนท์ พร้อมขยายระบบไปทุเรียน GI รายการอื่น คาดเพิ่มความมั่นใจผู้บริโภค

นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงพื้นที่สวนทุเรียนนนท์ เพื่อร่วมประกาศความสำเร็จของ "ระบบ GI SMARTTRACE นวัตกรรมตรวจสอบย้อนกลับสินค้า GI ทุเรียนนนท์" ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการยกระดับมาตรฐานควบคุมตรวจสอบสินค้า GI ด้วยเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ พร้อมแผนขยายผลความสำเร็จส่งต่อให้ทุเรียน GI ในภูมิภาคอื่นนางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ทุเรียนนนท์ ถือเป็นหนึ่งในสินค้า GI พรีเมี่ยมที่มีชื่อเสียงเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรี มีรสชาติหวานมัน กลิ่นหอม

คอนเสิร์ตฟรีกลางสยาม! วันเสาร์ที่ 7 มิถุน... FEEL THE BEAT OF DIP คอนเสิร์ตฟรีกลางสยาม! วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2025 นี้ — คอนเสิร์ตฟรีกลางสยาม! วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2025 นี้! .FEEL THE BEAT OF DIP ...

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทร... "พิชัย-สุชาติ" เปิดศูนย์ IP One ยกระดับทรัพย์สินทางปัญญาไทยครบวงจร หนุนธุรกิจโตสู่ตลาดโลก — นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนา...