73 ปี กรมอนามัย แนะ 6 เสาหลัก 4 เสาร่วม หนุนคนไทยใส่ใจสุขภาพ สร้างสมดุลชีวิต ห่างไกล NCDs

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ครบรอบ 73 ปี แนะ 6 เสาหลัก 4 เสาร่วม ส่งเสริมคนไทยใส่ใจสุขภาพ สร้างสมดุลชีวิต ห่างไกลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs)

73 ปี กรมอนามัย แนะ 6 เสาหลัก 4 เสาร่วม หนุนคนไทยใส่ใจสุขภาพ สร้างสมดุลชีวิต ห่างไกล NCDs

วันนี้ (12 มีนาคม 2568) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันที่ 12 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมอนามัย โดยในปีนี้ กรมอนามัยครบรอบ 73 ปี เดินหน้าตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยนโยบายเด่นในช่วงนี้ก็คือโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ และโครงการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ประชาชนไทยป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ในแต่ละปี ประมาณ 4 แสนคน ใน ปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 4.8 ล้านคน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มากกว่า 13 ล้านคน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองมากกว่า 800,000 คน และข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2565 พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรค NCDs ในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง 73 ปี กรมอนามัย แนะ 6 เสาหลัก 4 เสาร่วม หนุนคนไทยใส่ใจสุขภาพ สร้างสมดุลชีวิต ห่างไกล NCDs

แพทย์หญิงอัมพร กล่าวต่อไปว่า การแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต้องอาศัยแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งประชาชนสามารถดูแลสุขภาพโดยใช้หลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ Lifestyle Medicine ผ่าน 6 เสาหลัก ได้แก่ 1) อาหาร เน้นกินอาหารครบ 5 หมู่ ถูกหลักโภชนาการ ลด หวาน มัน เค็ม ดื่มน้ำสะอาด กินอาหารสดใหม่ ปรุงสุก สะอาด 2) ออกกำลังกาย มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ที่สำคัญควรอบอุ่นร่างกาย และคลายอุ่นร่างกาย ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ประมาณ 5-10 นาที 3) นอนหลับ ควรมีสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี และมีระยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมในแต่ละวัย ได้แก่ ทารกแรกเกิด อายุ 0-3 เดือน วันละ 14-17 ชั่วโมง เด็กทารก อายุ 4-11 เดือน วันละ 12-16 ชั่วโมง เด็กหัดเดิน อายุ 1-2 ปี วันละ 11-14 ชั่วโมง เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-4 ปี วันละ 10-13 ชั่วโมง เด็กวัยเรียน อายุ 6-13 ปี วันละ 9-11 ชั่วโมง วัยรุ่น อายุ 14-17 ปี วันละ 8-10 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่ วันละ 7-9 ชั่วโมง และสตรีมีครรภ์ วันละ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ได้ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย

4) จัดการความเครียด ในสังคมยุคปัจจุบันเราต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อาจทำให้เกิดสภาวะเครียดและวิตกกังวล ซึ่งต้องมีสติรับมือกับความเครียด และความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น ควรหากิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ฟังดนตรี ออกกำลังกาย เต้น นั่งสมาธิ หรือ โยคะ เป็นต้น "5) การเลิกเหล้าและบุหรี่ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังและการเสียชีวิต สำหรับผู้ที่เสพติดบุหรี่และเลิกแอลกอฮอล์อาจต้องใช้ความตั้งใจและวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลาย รวมถึงแรงสนับสนุนจากคนรอบข้างเพื่อตัดขาดจากสารอันตรายเหล่านี้ วิธีที่ดีที่สุดลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีที่เหมาะสม

6) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของเรา โดยร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมอาสา พิธีกรรมทางศาสนา กิจกรรมกีฬาและออกกำลังกาย เป็นต้น และ 4 เสาร่วม ในการดูแลสุขภาพ ได้แก่ 1) สุขภาพช่องปาก ประชาชนควรยึดหลักการแปรงฟัน สูตร 222 โดยแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง นาน 2 นาที และปล่อยให้ช่องปากว่าง (สะอาด) 2 ชั่วโมงหลังการแปรงฟัน คือไม่กินอะไรหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง 2) สุขภาพทางเพศมีพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 3) อนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกันดูแลจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมในพื้นที่ชุมชน หรือสถานที่สาธารณะ ได้แก่ สถานที่ราชการ สถานที่ทำงาน สถานประกอบกิจการ การขนส่งสาธารณะ รวมถึงที่พักอาศัยให้สะอาด ปลอดภัย และเอื้อต่อการมีสุขภาพดี และ 4) หลักการแพทย์แม่นยำชะลอวัย ผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนส่งเสริมสุขภาพที่ดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว หรือ Wellness Plan ซึ่งเป็นแผนเฉพาะรายเพื่อพัฒนาทักษะ กาย ใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพดี" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว


ข่าวอัมพร เบญจพลพิทักษ์+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

สมศักดิ์ ชูต้นแบบ NCDs Prevention Center 12 เขตสุขภาพ และโรงเรียนรักษ์ไต ล้านนา R1 พร้อมหนุน ผู้บริหารสาธารณสุขอำเภอระดับสูง รุ่นที่ 3 สานต่อนโยบายคนไทย ห่างไกล NCDs

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิดและมอบเกียรติบัตรอำเภอขับเคลื่อนต้นแบบศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน (NCDs Prevention Center) ระดับเขตสุขภาพ 12 แห่ง และอำเภอขับเคลื่อนนำร่องโครงการขับเคลื่อนอำเภอสุขภาพดีส่งเสริมป้องกันรอบรู้เท่าทันโรคไตเรื้อรังอย่างยั่งยืน (Lanna Healthy Package Model) "โรงเรียนรักษ์ไต ล้านนา R1" จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยจังหวัดภูเก... ร้อนจัดอันตราย! ภูเก็ต ร้อนสุด กรมอนามัย แนะประชาชนเตรียมรับอากาศร้อน-พายุฤดูร้อน — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยจังหวัดภูเก็ต Heat Index อยู่ในระดับอันต...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคั... กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...

เดชอิศม์' แสดงความชื่นชม แพทย์หญิงนภา พฤฒ... 'เดชอิศม์' ชื่นชม 2 แพทย์หญิงกรมอนามัย ช่วยชีวิต 2 หนูน้อยแรกคลอด ขณะเกิดเหตุ แผ่นดินไหว — เดชอิศม์' แสดงความชื่นชม แพทย์หญิงนภา พฤฒารัตน์ และ แพทย์หญิงพิ...