ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี สะท้อนความสำเร็จจากการนำข้อมูล (Data) และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บนเส้นทางการเป็นผู้นำด้านการขับเคลื่อน Digital Transformation เพื่อสร้าง Customer Experience ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า มุ่งยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการในระดับเฉพาะบุคคล (Segment of One) พร้อมทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization ส่งมอบประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลูกค้ารายบุคคล เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง
นายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต แบ่งปันแนวคิดการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร ในงาน MarTech Expo 2025 ว่า Digital Transformation ในแบบของทีทีบี คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล มีเป้าหมายต้องการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยอย่างแท้จริง มุ่งมั่นพัฒนาบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการในระดับเฉพาะบุคคล (Segment of One) และก้าวไปสู่ระดับ Hyper-Personalization ที่สร้างประสบการณ์อย่างเหมาะสมให้กับลูกค้ารายบุคคล โดยใช้ Dataและ AI เป็นเครื่องมือ ซึ่งธนาคารเน้นให้ความสำคัญกับการเข้าใจลูกค้าเชิงลึก เพื่อให้ทราบพฤติกรรมและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
Hyper-Personalization คือ การนำเอา Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการสื่อสารและการบริการแบบเฉพาะบุคคล ช่วยให้ธนาคารสามารถกำหนดแนวทางการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น โดยทีทีบีนำข้อมูลที่มีมากกว่า 6.3พันล้าน Data Points จากลูกค้าที่ดูแลกว่า 10 ล้านราย มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้าง Customer Experience ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยใช้ Data และ AI เพื่อมอบบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าในระดับบุคคลผ่าน Personalized AI Engine บนแอป ttb touch ด้วยแนวคิด Humanized Digital Banking ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ช่วยให้ชีวิตทางการเงินลูกค้าดีขึ้นในทุกระดับ ดังนี้
Trust Security เป็นพื้นฐานสำคัญที่ธนาคารต้องทำให้ได้ โดยที่ทีทีบีใช้ Data และ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อช่วยให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ เช่น การแจ้งเตือนให้ปรับลดวงเงินการทำธุรกรรมให้เหมาะสม โดยดูจากพฤติกรรมการเดินบัญชีของลูกค้า หรือ การแจ้งเตือนลูกค้าบัตรเครดิตแสนกว่ารายที่ไม่เคยซื้อของออนไลน์ซื้อโฆษณา หรือใช้จ่ายต่างประเทศ โดยแนะนำให้ตั้งค่าปิดการใช้งานดังกล่าวบนเครดิตการ์ดในแอป ttb touch เป็นต้น
ทีทีบีใช้ Data และ AI วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้า ทำให้สามารถนำเสนอบริการที่ตรงใจลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม โดยศึกษาพฤติกรรมลูกค้ารายบุคคลว่าสะดวกในช่วงเวลาไหนมากที่สุด ทำให้ Personalized Card สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า และมีลูกค้าเปิดบัญชีเพิ่มขึ้น 24% หรือการสมัครบัตรเครดิตก็เพิ่มขึ้น 50% โดยมีการแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าผ่าน Personalized Message เช่น การแจ้งเตือนลูกค้าแต่ละคนให้ต่อประกันรถเมื่อใกล้ครบสัญญา เตือนให้ชำระหนี้ เป็นต้น ซึ่งมีผลตอบรับดีมาก และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในช่องทางดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด
ทีทีบี มุ่งเน้นการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ใช้ช่องทางดิจิทัลผ่านแอป ttb touch ธนาคารจึงใช้ Data และ AI เข้ามาสร้าง Journey ที่เป็นการเติบโตของแต่ละบุคคล เพื่อแนะนำบริการและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์อย่างเหมาะสม เช่น การแนะนำแผนการออมเงินหรือการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หรือทางเลือกในการจัดการหนี้สิน เพื่อให้ชีวิตทางการเงินดีขึ้น ซึ่งในปีนี้ลูกค้าที่ดีต้องได้มากกว่า เรียกว่าเป็นครั้งแรกของวงการธนาคารไทยที่มีโปรแกรม "ผ่อนดีมีรางวัล" โดยลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมดีจะได้รางวัล เช่น ดอกเบี้ยลดลง หรือกลุ่มคนออมก็จะแนะนำบัญชีเงินฝากแบบมีเหตุมีผล แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการย้ายบัญชีเงินฝากจะได้ผลตอบแทนเพิ่มอย่างไร เป็นต้น
"Data เป็นปัจจัยหลักสำคัญพื้นฐานที่จะช่วยให้การใช้เทคโนโลยีอย่าง AI วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อมอบประสบการณ์ทางการเงินเฉพาะบุคคล จะช่วยยกระดับให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี AI จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง ไม่หายไปอย่างแน่นอน แต่การมี Data และการเข้าใจลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นมาก ในการสร้าง Journey ระดับรายบุคคล และ AI จะเป็นตัวปลดล็อกให้ก้าวไปสู่การเป็น Hyper-Personalization ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ทีทีบีเข้าใจลูกค้าแบบรายบุคคลด้วยพลังของ Data และ AI เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ตรงใจและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง" นายนริศ กล่าวสรุป
นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อสูงต่อเนื่องกระทบการค้าโลก ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 3.4% จากการเปิดประเทศของจีนช่วยหนุนการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวเร็ว ประกอบกับการบริโภคในประเทศขยายตัวดีต่อเนื่อง ความเสี่ยงหลักในปีนี้เป็นการส่งออกสินค้าไทยมีโอกาสหดตัว และภาวะหนี้ครัวเรือนสูงโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ อย่างไรก็ดี ภาพรวมเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังคง
ทีเอ็มบีธนชาต จัดงาน "Turning Challenges into Opportunities" อัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจโลก หนุนลูกค้าธุรกิจรับมือความผันผวนค่าเงิน
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางพาจนา...
TMB Analytics รับรางวัล Best Innovation Centre by Financial Institution ในงาน THE ASIAN BANKER THAILAND AWARDS 2019
—
นายนริศ สถาผลเดชา (ที่ 2 จากซ้าย) ห...
ภาพข่าว: ทีเอ็มบีจัดงาน The Unbound World แนะนำโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มธุรกิจต่างประเทศในยุคดิจิทัล
—
ทีเอ็มบี นำโดย นายอเล็กซานเดอร์ นนท์ แลงเฟลด์ (...
ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
—
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...
ภาพข่าว: ทีเอ็มบี เจาะลึกเศรษฐกิจไทยพร้อมตั้งรับ EEC ในยุคดิจิทัล
—
ทีเอ็มบี โดยนายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ จัดงาน TMB The Eco...
ทีเอ็มบีมองเศรษฐกิจไทยปี 62 ไปต่อได้จากแรงขับเคลื่อนภายในเน้นๆ หนุนดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เตรียมรับมือฟันด์โฟลว์กระทบเงินบาทผันผวนหนัก
—
นายนริศ สถา...
ทีเอ็มบีมองเศรษฐกิจไทยปี 61 เติบโตต่อเนื่อง ขับเคลื่อนด้วยทุกองค์ประกอบเศรษฐกิจ
—
นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ...
เศรษฐกิจไทย เล็กๆ...ไม่ ใหญ่ๆ...โต
—
นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เผยเศรษฐกิจไ...