เศรษฐกิจไทย เล็กๆ...ไม่ ใหญ่ๆ...โต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เผยเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง หนุนด้วยการฟื้นตัวชัดเจนของภาคส่งออก ทำให้จีดีพีในปี 60 มีแนวโน้มขยายตัว 3.5% สูงกว่า 3.3% ตามประมาณการเดิม และมีแนวโน้มอยู่ในโหมดขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดโต 3.8% ในปี 61 ซึ่งเป็นการเติบโตที่มาจากบริษัทใหญ่ แต่บริษัทเล็กกลับไม่โต นอกจากนี้ คาดว่าธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่อง สินเชื่อและเงินฝากเติบโตดี ขณะที่ NPL จะไต่ระดับสูงสุดในไตรมาส 3 ของปี 60 และมีแนวโน้มการก่อตัวของ NPL ใหม่จะลดลงในปี 61
          "TMB Analytics ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็น 3.5% จากเดิมคาดการณ์ที่ 3.3%" ปัจจัยผลักดันมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นกว่าคาดสอดคล้องกับการปรับดีขึ้นต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก โดยทั้งปีคาดว่ามูลค่าส่งออกจะขยายตัวที่ 5.8% การที่ภาคส่งออกกลับมามีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีส่วนทำให้ภาคเศรษฐกิจอื่นปรับดีขึ้นตาม ทั้งภาคการผลิตที่พลิกกลับมาขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัวหลังจากที่อยู่ในภาวะซึมๆ มากว่า 3 ปี และมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวต่อเนื่องสะท้อนจากการนำเข้าเพื่อการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงกับประมาณการเดิม โดยได้รับปัจจัยบวกจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวยังคงเติบโตแข็งแกร่ง จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวในเกือบทุกตลาด ขณะที่ มองการลงทุนภาครัฐทั้งปี คาดว่าจะเห็นเม็ดเงินลงทุนต่ำกว่าประมาณการเดิม โดยเฉพาะงบกลางปี 1.9 แสนล้านบาทที่คาดว่าจะเบิกได้ต่ำกว่าเป้า 
          " คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2561 มีทิศทางดีขึ้นต่อเนื่อง คาดขยายตัว 3.8% จากการเติบโตในทุกด้านบนโครงสร้างแบบเล็กๆไม่โต แต่ใหญ่ๆโต" เริ่มจากการส่งออก ซึ่งเราคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องที่ 4.8% สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการขยายตัวมาจากบริษัทขนาดใหญ่ 4.3% เหลือเป็นส่วนบริษัทขนาดเล็กเพียง 0.5% แต่จะให้ภาพกลับกันในมุมของจำนวนผู้ประกอบการ กล่าวคือบริษัทเล็กมีจำนวนผู้ประกอบการมากถึง 77% ของระบบ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการไทย ขณะที่บริษัทใหญ่ๆมีจำนวนผู้ประกอบการเพียง 23% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มส่งออกดี ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ซึ่งเป็นของบริษัทใหญ่ จึงกล่าวได้ว่า ผลของการส่งออกที่เติบโต ส่วนใหญ่ตกอยู่กับบริษัทใหญ่ แต่บริษัทเล็กได้รับผลในวงจำกัดเท่านั้น
          เช่นเดียวกับ การลงทุนภาคเอกชนที่การเติบโตถูกขับเคลื่อนจากบริษัทใหญ่ หากใช้เกณฑ์สินทรัพย์ถาวรเป็นตัวแบ่งขนาดของการลงทุน พบว่าบริษัทใหญ่มีสินทรัพย์ลงทุนคิดเป็น 80% ของระบบ ที่เหลือเป็นบริษัทเล็ก 20% โดยแนวโน้มในปี 61 คาดว่าภาพรวมการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัว 3.8% มาจากการลงทุนของบริษัทใหญ่ 3% ซึ่งมีความพร้อมที่จะขยายการลงทุน เมื่อพิจารณาจากอัตราผลตอบแทนการลงทุน(ROE) และกระแสเงินสด(FCF) รวมทั้งได้รับปัจจัยหนุนจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนทั้ง BOI, โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) และ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน(PPP) ตลอดจนเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตดี ในหมวดบริการ อาทิ การสื่อสารและโทรคมนาคม การก่อสร้างของโครงการใหญ่ และหมวดอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ในขณะที่ บริษัทเล็กมีส่วนการเติบโตของการลงทุนอยู่เพียง 0.8% เท่านั้น เนื่องจากมีความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนระดับต่ำ อีกทั้งการที่ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการค้า ทำให้ความจำเป็นที่ต้องลงทุนมีไม่มากนัก
          สำหรับการบริโภคภาคเอกชน เป็นภาพที่เชื่อมโยงจากการส่งออกและการลงทุน โดยใช้การจ้างงานเป็นตัวบ่งชี้ เราพบว่าแม้ว่าบริษัทใหญ่ที่มีแนวโน้มเติบโตดี กลับมีสัดส่วนการจ้างงานที่ต่ำเพียง 13% ของแรงงานทั้งระบบ เมื่อเทียบกับบริษัทเล็กและภาคเกษตรที่มี
การจ้างงานเป็นจำนวนมากและกระจายทั่วภูมิภาค กอปรกับในปี 61 คาดว่าราคาสินค้าเกษตรจะทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวที่ 3.2% ใกล้เคียงกับปี 60 ดังนั้น การบริโภคภาคเอกชน ไปได้ไม่ไกล เพราะเศรษฐกิจส่วนที่โตดี มีการจ้างงานต่ำ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งแรงกดดันจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวของธนาคารกลางหลัก ทำให้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ2.0% ในปี 61
          สำหรับภาวะตลาดการเงิน โดยเฉพาะตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น จากปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ นโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้น และมีโอกาสแตะ 32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปลายปี 61 จากแนวโน้มเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง หนุนโดยปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งขึ้น 
          "ส่วนการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ในปี 61 มีแนวโน้มดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและมาตรการส่งเสริมการลงทุนภาครัฐ" สินเชื่อโดยรวมมีแนวโน้มขยายตัว 5.7% เร่งตัวขึ้นจากการกลับมาเติบโตของธุรกิจขนาดใหญ่ นำโดยธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ได้รับผลดีจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วน SME และสินเชื่อรายย่อยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในส่วนของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อจะทยอยปรับตัวดีขึ้นจากการปลดล็อคโครงการรถยนต์คันแรก สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตจะค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวในระดับต่ำเนื่องจากถูกจำกัดด้วยมาตรการคุมหนี้ครัวเรือน สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะฟื้นตัวตามกำลังซื้อแม้ยังมีปริมาณอุปทานคงเหลืออยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระดับสูง
          ในด้านคุณภาพสินเชื่อ คาดว่าสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมจะอยู่ในระดับสูงสุดที่ 3.0% ในไตรมาส 3 ของปี 60 คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.26 แสนล้านบาท โดย 80% ของมูลค่า NPL อยู่ที่สินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อย อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่ NPL จะลดลงตามการปรับดีขึ้นของเศรษฐกิจ โดยจะเห็นการก่อตัวของ NPL (NPL Formation) มีแนวโน้มลดลงในช่วงปีหน้าเป็นต้นไปในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าที่ปรับดีขึ้นตามการลงทุนภาคเอกชน
          ด้านเงินฝากมีแนวโน้มขยายตัว 5.9% เพิ่มขึ้นตามความต้องการสินเชื่อและทิศทางการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 61 นำโดยเงินฝากประจำที่จะกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังจากหดตัว 3 ปีติตต่อกัน ทำให้สภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ดี เมื่อมองสภาพคล่องโดยรวมของประเทศแล้ว เรายังมีสภาพคล่องเหลือกว่า 11 ล้านล้านบาท" นายนริศ กล่าวสรุป
เศรษฐกิจไทย เล็กๆ...ไม่  ใหญ่ๆ...โต
 
 

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ+นริศ สถาผลเดชาวันนี้

เศรษฐกิจไทยเติบโตได้แค่ไหน? เมื่อโมเมนตัมโลกไม่เหมือนเดิม

นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวจากปัญหาเงินเฟ้อสูงต่อเนื่องกระทบการค้าโลก ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 3.4% จากการเปิดประเทศของจีนช่วยหนุนการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวเร็ว ประกอบกับการบริโภคในประเทศขยายตัวดีต่อเนื่อง ความเสี่ยงหลักในปีนี้เป็นการส่งออกสินค้าไทยมีโอกาสหดตัว และภาวะหนี้ครัวเรือนสูงโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ อย่างไรก็ดี ภาพรวมเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังคง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางพาจนา รุจิเรข (คนกลาง)... ทีเอ็มบีธนชาต จัดงาน "Turning Challenges into Opportunities" อัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจโลก หนุนลูกค้าธุรกิจรับมือความผันผวนค่าเงิน — เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางพาจนา...

ทีเอ็มบี นำโดย นายอเล็กซานเดอร์ นนท์ แลงเ... ภาพข่าว: ทีเอ็มบีจัดงาน The Unbound World แนะนำโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มธุรกิจต่างประเทศในยุคดิจิทัล — ทีเอ็มบี นำโดย นายอเล็กซานเดอร์ นนท์ แลงเฟลด์ (...

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหา... ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง — นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...

ทีเอ็มบี โดยนายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้... ภาพข่าว: ทีเอ็มบี เจาะลึกเศรษฐกิจไทยพร้อมตั้งรับ EEC ในยุคดิจิทัล — ทีเอ็มบี โดยนายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ จัดงาน TMB The Eco...

นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์... ทีเอ็มบีมองเศรษฐกิจไทยปี 61 เติบโตต่อเนื่อง ขับเคลื่อนด้วยทุกองค์ประกอบเศรษฐกิจ — นายนริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ...

นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์... ถอดรหัสเศรษฐกิจ เจาะลึกธุรกิจไทยด้วย Big Data — นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เปิดเผยเศรษฐกิจ...

เศรษฐกิจไทย 3.5 …พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส และดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เปิดเผยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ในปี 2560 เติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเครื่องยนต์ทุกด้านมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้น ...

TMB Analytics จัดงาน “เศรษฐกิจไทย 3.5...พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0”

TMB Analytics ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงาน "เศรษฐกิจไทย 3.5...พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0" วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 10.00 – 12.00 น. ห้องโถง ชั้น 7 ทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน กำหนดการ 10.00 -10.30 น. สื่อมวลชนลงทะเบียน /...