องค์การอนามัยโลกชี้ไทยยังไม่ปลอดโรคโปลิโอ ต้องทำต่ออีก 2 ปี

24 Oct 1997

กรุงเทพ--24 ต.ค--สาธารณสุข

จากมติที่ประชุมของคระกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคการให้วัคซีนควบคุมและป้องกันโรค ขององค์การอนามัยโลก ล่าสุดหลังจากการทบทวนผลการดำเนินงานประเทศในกลุ่มสมาชิกต่างๆ ไทยได้รับการแนะนำให้รณรงค์หยอดวัคีนเด็กทั่วประเทศพร้อมกันต่อไปอีก 2 ปี พร้อมยืนยันว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนโปลิโอหลายครั้งไม่เป็นอันตราย

ที่กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เมื่อเช้าวานนี้ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะ ร่วมแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง "ทำไมประเทศไทยจึงต้อประกาศรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กพร้อมกันทั่วประเทศอีกว่า ตามที่ประเทศไทยได้ดำเนินการรณรงค์ให้วัคซีนแก่เด็กไทยทั่วประเทศพร้อมกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึง 2539 รวมเวลา 3 ปีติดต่อกัน โดยกระทรวงสาธารณสุขคาดหวังว่าหลังจาก 3 ปีแล้ว ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ปลอดโรคโปิโอ และสามารถปรับเปลี่ยนกลุทธจากการรณรงค์ให้วัคซีนเด็กพร้อมกันทั่วประเทศ มาเป็นการณรงค์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงได้ตั้งแต่ปี 2540 นี้ แต่จากการทบทวนประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของการประชุม (EPI TECHNICAL CONSULTATIVE GROUP ON VACCINE PREVENTABLE DIEASE) ขององค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARO/WHO) เมื่อเดือนมิถุนายน 2540 ที่ประชุมมีข้อสรุป แนะนำให้ประเทศไทยทำการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กทั่วประเทศพร้อมกันต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี เพื่อประกันความสำเร็จของการกวาดล้างโปลิโอในประเทศไทย และเขตภูมิภาคนี้ ประกอบกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ ชี้ว่าประเทศไทยยังมีความเสี่ยงที่จะมีผูนำเชื้อโปลิโอเข้ามาในประเทศไทย เช่น ยังคงมีการสู่รบในประเทศกัมพูชาและประเทศพม่า ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้อพยพลี้ภัยข้ามแดนด้านตะวันออกและตะวันตก เข้ามาในประเทศไทยอยู่เนืองๆ มีผู้ใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน อพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทย มีผู้ใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอพยพเข้ามาทำงานในประเทศไทยอยู่ในขาดสาย และมีการตรวจพบผู้ป้วยโปลิโอในกลุ่มเด็กอพยพอยู่ทุกปี ล่าสุดปี 2540 พบเป็นเด็กจากประเทศกัมพูชา 8 ราย ประเทศเวียดนาม 1 ราย ป่วยจากเชื้อไวรัสโปลิโอ

ทางองค์การอนามัยโลกให้แนวทางแก่ประเทศสมาชิก ที่กำลังดำเนินการกวาดล้างโปลิโอ ว่าจะหยุดการรณรงค์ฉีดวัคซีนแก่เด็กทั่วประเทศพร้อมกันเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่า ไม่มีการถ่ายทอดเชื้อไวรัสโปลิโอชนิดก่อโรคในชุมชนแล้ว หมายถึง สภาวะที่แน่ใจได้ว่าไม่มีผูป่วยหรือเชื้อโปลิโอในประเทศภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ มีระบบการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างเฉียบพลันได้ตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี มีผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนำเชื้อเข้าปะเทศอยู่ในระดับต่ำและสุดท้ายคือ มีอัตราความครอบคลุมของประชากรที่ได้รับวัคซีนตามปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในทุกอำเภอ โดยแต่ละประเทศจะได้รับการรับรองผลการตรวจสอบว่า เป็นประเทศที่ปลอดโรคโปลิโอจากคณะกรรมการรับรองผลการกวาดล้างโปลิโอระดับโลก

ดังนั้น ในปี 2540 กระทรวงสาธารณสุขจะทำการรณรงค์ให้วัคซีนเด็กไทยพร้อมกันทั่วประเทศ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 จะดำเนินการในวันที่ 22-24 ธันวาคม 2540 และครั้งที่ 2 จะดำเนินการรณรงค์ระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม 2541 โดยช่วงรณรงค์นี้จะเป็นช่วงฤดูหาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโปลิโอใยนระดับต่ำ เหมาะสมแก่การรณรงค์เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อมากที่สุด โดยกำหนดว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปีทั่วประเทศ ที่พ่อแม่ำมารับวัคซีนได้ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายปกติ แต่กลุ่มเป้าหมายพิเศษจะเป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคโปลิโอและมีโอกาสพลาดที่จะรับวัคซีนโปลิโอ คือ กลุ่มชาวเขา ชาวเล ค่ายชุมชนอพยพ ชุมชนแออัด พื้นที่เขตชายแดน ที่ทุรกันดาร เด้กที่พ่อแม่ย้ายที่อยู่บ่อย และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่เคยเกิดโรคโปลิโอในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา

ขอยืนยันต่อผู้ปกครองว่า การที่เด็กได้รับวัคซีนโปลิโอไปแล้วและมารับซ้ำอีกนั้น จะไม่เป็นอันตรายต่อเด็กแน่นอน เนื่องจากหากร่างกายได้รับวัคซีนโปลิโอมากเกินจะถูกขับออกทางอุจจาระหมดภายใน 4-5 วัน และยังเป็นการเพิ่มและสร้างภูมิต้านทานโรคเหมือนเดิม ที่ผ่านมาในบ้านเราการรายงานพบผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กมากกว่าผู้ใหญ่และประมาณร้อยละ 1 พบว่ามีอาการแขน ขาลีบ ซึ่งเป็นอาการที่เห็นชัดเจนประมาณร้อยละ 3-4 จะเป็นอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีโอกาสเป็นได้มากกว่าเด็กที่กินนมแม่ เด็กที่ได้รับวัคซีนโปลิโอแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโรคถึง 95% ยกเว้น อาจพบว่าบางรายเท่านั้นมีการสร้างภูมิต้านทานโรคผิดปกติเอง จะสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตามถึงได้รับเชื้อโปลิโอก็จะไม่มีอาการรุนแรงมากนัก เมื่อใดที่บุตรหลานของท่านเริ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เริ่มที่แขน-ขา และมีไข้ต่ำๆ 2-3 วัน ไม่เกิน 1 สัปดาห์ ให้นึกถึงโรคร้ายนี้ด้วยเพราะบางรายอาการรุนแรงกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรงถึขั้นหยุดหายใจและตายในที่สุด ดังนั้น จึงขอเตือนท่านที่มีบุตรหลานอายต่ำกว่า 6 ปี ให้นำเด็กมาขอรับการหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอได้ตามวันที่กำหนดทั่วประเทศ--จบ--