การสัมมนาการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัย ตามโครงการส่งเสริมปศุสัตว์เพื่อการส่งออก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เช้าวันนี้ (21 สิงหาคม 2540) นายทวีศักดิ์ เสสะเวช ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัย ตามโครงการส่งเสริมปศุสัตว์เพื่อการส่งออก จัดโดยกรมปศุสัตว์ ที่โรงแรมเอเชีย โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ และเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 240 คน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา อันจะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติและนำไปสู่เป้าหมายของการส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรของประเทศไทยต่อไป นายสุวิทย์ ผลลาภ อธิบดีกรมปศุสัตว์ รายงานว่า กรมปศุสัตว์ กระทรวงแเกษตรและสหกรณ์มีโครงการที่จะจัดตั้งโรงฆ่าและแปรรูปสุกรตามมาตรฐานสากล ขนาดกำลังการผลิต 1,600 ตัวต่อวัน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีเป้าหมายที่จะจำหน่ายเนื้อสุกรที่มีคุณภาพให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่มีศักยภาพทางด้านอุปสงค์สุง อันได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปของประเทศไทยในอนาคตกรมปศุสัตว์จึงได้มอบหมายให้ สำนักบริการวิชาการ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยกำหนดขอบเขตรายละเอียดของงานจ้างที่ปรึกษาไว้ดังนี้ คือ 1) ผลการศึการวิจัยจะเป็นแนวทางที่สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ไทย โดยเฉพาะเนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกร สามารถส่งออกไปจำหน่ายในประเทศเป้าหมาย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ โดยให้ทำการศึกษาศักยภาพในการผลิต แนวทางในการพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ กระบวนการควบคุมคุณภาพ และระเบียบแบบแผน กฎหมายในการนำเข้าและส่งออกของประเทศไทยและประเทศเป้าหมาย 2) ผลการศึการวิจัยจะต้องให้ข้อมูลกระบวนการแปรรูป รูปแบบ และชนิดของผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรที่มีศักยภาพในการส่งออกและมีแนวโน้มในการขยายตัวในการส่งออกสูงซึ่งจะต้องแสดงผลการศึกษาถึงรสนิยมและสูตรการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมของประชาชนในประเทศเป้าหมายโดยแต่ละชนิดจะต้องได้รับความนิยมสูงสุดตามลำดับ อธิบดีกรมปศุสัตว์ รายงานอีกว่า ขณะนี้การศึกษาวิจัยดังกล่าวได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และคณะดำเนินการศึกษาวิจัยได้ดำเนินการสาธิตและถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรอันเป็นที่นิยมในประเทศเป้าหมายให้แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่สนใจและมีศักยภาพในการส่งออกไปแล้วเมื่อวันที่ 4-5 สิงหาคม ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการจัดสัมมนานำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยนี้ ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ และเอกชน จำนวน 2540 คน ในวันนี้ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติและนำไปสู่เป้าหมายของการส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรของประเทศไทยในอนาคต จากนั้น ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า สุกรคือเป็นสินค้าปศุสัตว์ที่มีอนาคต แต่เนื่องจากการเลี้ยงสุกรมีปัญหาในด้านการเลี้ยง สภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้หลายประเทศต้องลดการผลิตลง และนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรมากขึ้นตามลำดับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะขยายตลาดปศุสัตว์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อสัตว์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับประสิทธิภาพทางการตลาดในการรองรับผลผลิตปศุสัตว์ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาปศุสัตว์ไทย ยังมีปัญหาและข้อจำกัดอีกมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วงแผนฯ 8 ด้วยการแก้ไขปัญหาการส่งออกปศุสัตว์ โดยเฉพาะเรื่องโรคสัตว์ โดยการกำหนดเขตการส่งออกการเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย การจัดตั้งโรงฆ่าและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน การจัดหาตลาดภายในและต่างประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนให้เอกชนเข้าร่วมวางแผนด้านการผลิตและการตลาด นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดหวังว่าผลการศึกษาวิจัยนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชนในการผลักดันให้นโยบายการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรของไทยประสบผลสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับรายงานผลการศึกษาวิจัยตามโครงการส่งเสริมปศุสัตว์เพื่อการส่งออก กิจกรรมพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ และกิจกรรมวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์เพื่อการส่งออก นั้น แบ่งกลุ่มศึกษาวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ศึกษาวิจัยด้านกฎหมายและข้อกำหนดด้านโรคระบาดสัตว์ของประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์และประเทศไทย กลุ่มที่ 2 ศึกษาความต้องการเนื้อสุกรชำแหละของประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และภายในประเทศ กลุ่มที่ 3 ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านเนื้อสุกรชำแหละและผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปที่สำคัญในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ กลุ่มที่ 4 ศึกษา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการควบคุมกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรชนิดบรรจุกระป๋องทุกชนิด และแช่แข็ง ของประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และคานาดา กลุ่มที่ 5 ทดลอง พัฒนา และถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตและสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรที่สำคัญและเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ นอกจากนี้ คณะผู้ดำเนินการศึกษาวิจัย จากสำนักบริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับเพื่อให้สามารถส่งออกได้มากขึ้น เช่น พรบ.ควบคุมคุณภาพการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535 พรบ.อาหารพ.ศ. 2525 พรบ.โรคสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นต้น ตลอดจนต้องลดต้นทุนอาหารสัตว์ค่าใช้จ่ายในด้านภาษีและค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นธรรมหรือที่มีอัตราค่อนข้างสูง รวมทั้งควรให้สิทธิประโยชน์ทางด้านส่งเสริมลงทุนในการส่งออกสุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ศุสัตว์เขต 2 (ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ตราด และจันทบุรี) ควรกำหนดพื้นที่ปลอดโรคในเขตปศุสัตว์เขต 2 ให้แคบลงและการจัดการฟาร์มต้องใช้มาตรการตามระบบวิเคราะห์อันตรายที่จุดควบคุมวิกฤต (HACCP) อย่างเข้มงวดและการส่งออกเนื้อสุกรควรมุ่งไปที่การผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูแล้ว ตามรายการผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศเป้าหมาย เช่น บะกู๊เต๋ หมูต้มซีอิ้ว หมูแดง ประเทศสิงคโปร์ หมูชุบแป้งทอด KUSHIKATSU PORK FITTER หมูผัดขิง BUTA NO KAKUNI ประเทศญี่ปุ่น หมู-บาร์บีคิว หมูย่าง และซี่โครงหมูย่าง ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งคณะผู้ดำเนินการและกรมศุสัตว์ ได้เผยแพร่ถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตสูตรอาหารให้แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนไปแล้ว--จบ--

ข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์+ทวีศักดิ์ เสสะเวชวันนี้

ก.เกษตรฯ โดย กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) ลงนาม MOU

ก.เกษตรฯ โดย กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) ลงนาม MOU เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบแก่สมาชิกสหกรณ์ นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) ให้เป็นประธานการลงนาม MOU ร่วมกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (NCB) โดยมี นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิศิษฐ์

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่ง... เกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถ เตรียมในพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2568 — นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระน...

นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักง... รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน — นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...