ไทย-ญี่ปุ่น ร่วมลงนามพัฒนาวัคซีนเอดส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--27 มี.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมพิธีลงนามข้อตกลงในการพัฒนาวัคซีนโรคเอดส์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่พัฒนาจากเชื้อสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยกับองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่น ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2541 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี นายแพทย์ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวหลังจากเป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงร่วมมือกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในการพัฒนาวัคซีนโรคเอดส์ว่าโครงการวัคซีนเอดส์นี้เป็นการลงนามในสัญญาร่วมระหว่างประเทศญี่ปุ่นคือ นายโมริทากา นากามูระ (Mr. Moritaka Nakamura) ประธานองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งญี่ปุ่น (Japan Science and Technology Corporation) และ ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การพทย์ ซึ่งเป็นโครงการแรกที่จะทำการวิจัยพัฒนาวัคซีนเอดส์ขึ้นในประเทศไทย และเป็นโครงการที่มีโอกาสจะประสบความสำเร็จสูง เนื่องจากเป็นการพัฒนาวัคซีนเอดส์จากเชื้อเอดส์ทัยป์ อี ที่ระบาดในเมืองไทยผสมในเชื้อ BCG ที่ปกติเป็นวัคซีนชนิพฉีดป้องกันวัณโรคในเด็ก ซึ่งวัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยและให้ภูมิต้านทานโรคได้ดีขณะเดียวกัน วัคซีนเอดส์ที่ได้ผลดีจะต้องพัฒนาจากเชื้อที่พบหรือระบาดในพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นวัคซีนเอดส์ที่กำลังพัฒนานี้จึงมีความปลอดภัยและคาดว่าจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อเอดส์สายพันธุ์ อี ที่พบมากในเมืองไทยและภูมิภาคนี้ ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนชนิดนี้จะช่วยลดการติดเชื้อเอดส์ได้อย่างรวดเร็วทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ที่มีผู้ป่วยโรคเอดส์จากเชื้อในสายพันธุ์นี้ ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการวัคซีนเอดส์นี้เป็นโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งญี่ปุ่น (Japan Science and Technology Corporation) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นโครงการที่จะใช้เวลา 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541-2545 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 250 ล้านบาท โดยมีนักวิจัยจากสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น (National Institute of Infectious Diseases) ร่วมวิจัยกับนักวิจัยไทยทั้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนำไปศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้ในสัตว์ทดลองก่อนนำไปใช้ในคน จะเห็นได้ว่าประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากโครงการนี้มีหลายด้านเช่น การแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างประเทศ การพัฒนาห้องทดลองเชื้ออันตรายสำหรับทดลองประสิทธิภาพวัคซีนเอดส์ในสัตว์ทดลอง โดยจะเป็นแห่งแรกที่มีขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถทดลองวัคซีนและยาที่ผลิตขึ้นต้านเชื้ออันตรายชนิดต่างๆ ได้ในอนาคต และเชื่อว่าโครงการนี้จะประสบความสำเร็จได้วัคซีนเอดส์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมกับคนไทย และภูมิภาคนี้ โดยในสัญญาที่ลงนามกันได้ครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ และสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นในโครงการว่าทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นจะได้รับผลประโยขน์โดยเท่าเทียมกัน--จบ--

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วันนี้

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น

สวทช. จับมือมูลนิธิ SOS และ จ.ปทุมธานี สร้างชุมชนรักษ์อาหาร ดัน "ปทุมธานีฟูดแบงก์โมเดล" ต้นแบบการจัดการอาหารส่วนเกินระดับท้องถิ่น มุ่งใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีบริหารจัดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) ลงนามความร่วมมือใน "การขยายผลโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...