สองจักษุแพทย์ชื่อดังสนับสนุนผลวิจัยว่า ไวอากร้าปลอดภัยต่อดวงตา การมองเห็นปกติเหมือนเดิม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพ--19 ต.ค.--บริษัท ไฟเซอร์ฯ การศึกษาวิจัยทางคลินิกครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียเรื่องโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศกับยาไวอากร้า หรือซิลเดนาฟิล ซิเตรต (Viagra-Sidenafil Citrate) ปรากฏว่าได้ผลสอดคล้องกับผลที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยทางคลินิกที่แพทย์หลายคนได้ทำการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ยาไวอากร้า เป็นยาชนิดรับประทานที่ใช้รักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชายชาวเอเชียได้ผลดีและปลอดภัยต่อดวงตา สำหรับการศึกษาวิจัยทางคลินิก เรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ยาซิลเดนาฟิลในเอเชีย “ASSESS – (ASian Sildenafil Efficacy and Safety Study) ได้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และมีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ 690 คน จากศูนย์รักษาโรค รวม 23 แห่ง ผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ เป็นชายอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศมาเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และยังคงมีความสัมพันธ์กับคู่ครองที่เป็นเพศหญิงสม่ำเสมอ สำหรับในประเทศไทยนั้นได้ทำการศึกษาวิจัยทางคลินิก ในผู้ป่วยชาย 125 รายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ และโรงพยาบาลศิริราช การศึกษาวิจัยทางคลินิกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไฟเซอร์ได้เสนอให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทำการศึกษาวิจัย ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการเกือบ 4,000 คน พบว่า ไวอากร้าช่วยให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวมีความปลอดภัยต่อดวงตา ผู้ป่วยบางรายมีอาการข้างเคียงเล็กน้อยทางตา ก็เป็นชั่วคราวแล้วหายเป็นปกติดังเดิม และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่จะมีอาการดังกล่าว ผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกทั่วโลก แพทย์พบว่าผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก หรือ เพียงร้อยละ 2.7 ของผู้ที่เข้าร่วมโครงการว่ามีอาการข้างเคียงในเรื่องของการมองเห็น อาทิเช่น บางรายอาจเห็นสีฟ้าแซม บางรายเห็นแสงจ้า หรือตามัวเล็กน้อย อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเล็กน้อย เพียงชั่วคราว แล้วหายเป็นปกติดังเดิม โดยมักเกิดขึ้นประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากใช้ยาและเป็นอยู่นานประมาณสองสามนาทีถึงไม่กี่ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้ป่วยรายใดขอถอนตัวจากการศึกษา เนื่องจากเหตุของอาการดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นที่ทราบแล้วว่าอาจมีอาการข้างเคียงในเรื่องของการมองเห็น ซึ่งเกิดจากการที่ ยาไวอากร้าไปยับยั้งการทำงานของพีดีอี-6 (Phosphodiesterase – PDE-6) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเรตินา (จอประสาทตา) แต่ไวอากร้ามีผลยับยั้ง PDE 6 (ตา) น้อยกว่าต่อ PDE 5 (อวัยวะเพศ) ถึง 10 เท่า ศ.น.พ. เทียม หล่อเทียนทอง ประธานชมรมจอประสาทตาแห่งประเทศไทย และประธานอนุกรรมการจริยธรรมราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เนื่องจากส่วนผสมของยาไวอากร้า ที่รู้จักกันในชื่อ “ซิลเดนาฟิล” มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของ พีดีอี-6 ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่ยาอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดผลข้างเคียงที่ดวงตาได้ ยารักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง (coronary heart disease) ที่ใช้กันมานานมาก คือ ยากลีเซอรีล ไตรไนเตรท (Glyceryl trinitrate) มีผลเช่นเดียวกัน คือ การเห็นสีผิดไปชั่วคราว เพราะขบวนการใกล้กันมากคือ ทั้ง 2 ตัวทำให้ cyclic GMP เพิ่มขึ้น ในขบวนการของการทำงานในจอประสาทตา จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกของไฟเซอร์ที่ให้แพทย์หลายรายทำการศึกษาเพื่อครอบคลุมผู้ป่วยหลายกลุ่ม รวมจำนวนกว่า 5,000 คน ทั้งในเอเชียและในสหรัฐอเมริกา พบว่า น้อยกว่าร้อยละ 3 ของผู้ป่วยที่กินยาไวอากร้าในขนาดปกติมีอาการข้างเคียงที่ดวงตา และผู้ป่วยเหล่านี้ ได้รายงานว่าเกิดอาการดังกล่าวขึ้นเล็กน้อย และหายเป็นปกติโดยธรรมชาติ” ศ.น.พ. ประจักษ์ ประจักษ์เวช ประธานสมาคมจักษุแพทย์แห่งภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก และอดีตหัวหน้าภาควิชาจักษุ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า “ผลจากการศึกษาวิจัยที่พบว่ากลุ่มผู้ป่วยจำนวนน้อยเห็นแสงจ้า หรือเห็นสีฟ้าแซมเพียงชั่วคราวแล้วหายเป็นปกตินั้น กล่าวได้ว่า ไม่ใช่อาการของตาบอดสี เพราะโรคตาบอดสีเกิดจากกรรมพันธุ์เท่านั้น และคนตาบอดสี จะเห็นสิ่งต่างๆ ชัดเจนดี เพียงแค่อ่านบอกสีไม่ได้ชัดเจน หากเป็นมากก็บอกสีไม่ได้ เช่น บอกสีเขียว แดง เหลือง ของไฟจราจรไม่ได้ เห็นหญ้าสีเขียวเป็นสีเทา ดังนั้น ผลจากการศึกษาวิจัยทำให้สรุปได้ว่ายาไวอากร้ามีความปลอดภัยไม่ทำให้เป็นโรคตาบอดสี หรืออาการข้างเคียงที่รุนแรง” นอกจาก การศึกษาวิจัยทางคลินิกดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีศึกษาเรื่องความปลอดภัยของยาไวอากร้าต่อดวงตาในระยะยาวอีกด้วย โดยใช้เวลาศึกษานานถึง 1 ปี เป็นการตรวจ และทดสอบการมองเห็นหลายรูปแบบ ปรากฏว่าได้ผลลัพธ์เหมือนกัน กล่าวคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงไป และผลข้างเคียงที่เกิดกับดวงตามีเพียงเล็กน้อย เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และหายเป็นปกติดังเดิม “ผลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่ายาไวอากร้าไม่ได้ทำให้การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไปจากปกติและหลักฐานทางการแพทย์แสดงให้เห็นได้ว่าการใช้ยาไวอากร้าในปริมาณสูงสุดที่แนะนำให้ใช้เป็นเวลานานไม่ทำลายเรตินาอย่างถาวร ผลลัพธ์ที่ได้เป็นการยืนยันถึงความปลอดภัยของยาไวอากร้าในการใช้รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ” ศ.น.พ. เทียม กล่าวเสริม ผลข้างเคียงของยาไวอากร้าต่อดวงตา ที่จริงแล้ว มีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในการศึกษาวิจัย เช่น อาการปวดศีรษะ (ร้อยละ 16) หน้าแดง (ร้อยละ 11) และท้องอืด (ร้อยละ 7) ซึ่งเป็นเพียงเล็กน้อย แล้วหายเป็นปกติโดยธรรมชาติ ยาไวอากร้าห้ามใช้ในผู้ป่วยที่รับประทานยาประเภทไนเตรท บริษัท ไฟเซอร์ฯ ดำเนินธุรกิจด้านการดูแลรักษาสุขภาพทั่วโลก โดยอาศัยการวิจัยเป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในปี 2540 บริษัทฯ มีรายได้ 12,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และใช้เงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2541 ขณะนี้ ยาไวอากร้าได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายได้ใน 34 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย บราซิล สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติในอีกหลายประเทศ สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล คุณนิโลบล โควาพิทักษ์เทศ มร. เดอริค บาร์เทล บริษัท เพรสโก้ แชนด์วิค (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ 273 8800 โทรสาร 273 8880--จบ--

ข่าวโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ+การศึกษาวิจัยทางคลินิกวันนี้

อย. สหรัฐฯและไฟเซอร์ ชี้แจง เรื่องการปรับปรุงฉลากยาไวอากร้าใหม่

กรุงเทพ--4 ธ.ค.--ไฟเซอร์ อิงค์ บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์ แถลงว่า ฉลากยาไวอากร้าใหม่ ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแล้ว ได้เพิ่มข้อมูลทางคลินิกล่าสุด เพื่อช่วยแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ผลจากการศึกษาวิจัยทางคลินิกของยาไวอากร้าเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพได้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้เป็นข้อมูลในการขออนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (อย. สหรัฐฯ) อย่างไรก็ตาม จากรายงานหลังการวางตลาด ได้มีการปรับ

ผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกครั้งแรกในเอเชียยืนยันว่า ยาไวอากร้าปลอดภัย และใช้ได้ต่อเนื่อง

กรุงเทพ--13 ต.ค.--Pfizer บริษัท ไฟเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ประกาศผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกในภูมิภาคเอเชียครั้งแรกของยาไวอากร้า หรือ ซิลเดนาฟิล ซิเตรต (Viagra-Sidenafil Citrate) ในงานประชุมวิชาการเรื่องยา...

MedAlliance ประกาศรับผู้ป่วยรายแรกเข้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้บอลลูนเคลือบยา Sirolimus ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

MedAlliance ได้ประกาศรับผู้ป่วยรายแรกเข้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้บอลลูน [DEB] เคลือบยา Sirolimus ในการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) การศึกษาดังกล่าวมีขึ้นที่...

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ( Erectile... สารอาหารเสริมนกเขา!! เพื่อความฟิต และความสุขที่ยืนยาว — โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ( Erectile Dysfunction ) โรคหนักใจของบรรดาคุณผู้ชาย ที่อาจจะไม่กล้า...

ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะ แห่งประเทศไทย จัดงาน Men’s Health Get START Get STRONG “หนุ่มใหญ่สมวัย สุขภาพดีได้ ไม่อายใคร”

ชมรมควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะ แห่งประเทศไทย เชิญผู้สนใจร่วมงาน Men’s Health Get START Get STRONG “หนุ่มใหญ่สมวัย สุขภาพดีได้ ไม่อายใคร” ในวันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 8...

เอ. เมนารินี แถลงข่าวและให้ความรู้เรื่อง “โรคหลั่งเร็วที่เกิดกับผู้ชาย” พร้อมแนวทางดูแลรักษา

บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด จะจัดงานแถลงข่าว การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับ “โรคหลั่งเร็ว” ที่เกิดกับผู้ชาย ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งที่ชายไทยต่างให้ความสนใจ ด้วยจากผลการสำรวจล่าสุด พบว่า 1 ใน 3 ของชาย...

ทุกปัญหาสุขภาพเพศชายมีทางออก

โรงพยาบาลกรุงเทพ เผยไลฟ์สไตล์ผู้ชายไทยในปัจจุบันเสี่ยงถูกสารพันโรคร้ายรุมเร้าโดยไม่รู้ตัว จัดสัปดาห์สุขภาพเพศชาย รณรงค์สร้างมิติใหม่ให้คุณสุภาพบุรุษหันมาดูแลสุขภาพให้แข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ พร้อมแนะวิธีรับมือโรคเงียบที่อาจมาเยือนแบบคาดไม่ถึง อาทิ โรคต่อมลูกหมากโต ...

ชมรมแพทย์ภิวัฒน์ จัดสัมมนา เรื่อง “โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัญหานี้แก้ไขได้เพื่อสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว”

สัมมนาความรู้สำหรับประชาชนเรื่อง "โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัญหานี้แก้ไขได้เพื่อสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว" ชมรมแพทย์ภิวัฒน์ ขอเชิญประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนา เรื่อง “โรคหย่อนสมรรถภาพทาง...

แพทย์เตือนชายไทย ‘นกเขาไม่จู้ฮุ๊กกรู’ ส่อเค้าสุขภาพขาลง อาจรุมเร้าด้วยโรคภัย

ในงานแถลงข่าว ‘Symposium of Love Levitra 8 Years Experience’ จัดโดย บริษัท ไบเออร์ เชอริง ฟาร์มา ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ฟาริด ซาอาด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพศชายและโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศระดับโลกจาก บริษัท ไบเออร์ ...