ASIANET: สมาคมอัลไซเมอร์สหรัฐและแคนาดาร่วมจัดประชุมอัลไซเมอร์โลกปีหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

วอชิงตัน--11 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท


สมาคมอัลไซเมอร์แห่งสหรัฐ, อัลไซเมอร์ส ดีซีส อินเตอร์เนชันแนล (ADI) และสมาคมอัลไซเมอร์แห่งแคนาดา จะจัดการประชุมเวิลด์ อัลไซเมอร์ คองเกรส 2000 (อัลไซเมอร์ 2000) โดยมีระยะเวลา 10 วัน และมีผู้เข้าร่วม 5,000 คนจากทั่วโลกเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและการดูแลรักษา โดยการประชุมในครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่บรรดานักวิจัย, แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านอัลไซเมอร์อื่นๆจากทั่วโลกจะมารวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคอัลไซเมอร์มีชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี 2025 จะมีประชาชนมากกว่า 22 ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งโรคดังกล่าวนับเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่กำลังขยายตัว และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

สำหรับการประชุมเวิลด์ อัลไซเมอร์ คองเกรส 2000 จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการประชุมด้านการวิจัยที่สำคัญซึ่งจะมีบรรดานักวิจัยและแพทย์เข้าร่วมประชุมในระหว่างวันที่ 9-13 ก.ค. ปี 2000, ช่วงที่ 2 จะเป็นการประชุมด้านการวิจัยและการดูแลรักษาซึ่งจะมีบรรดาแพทย์เข้าร่วมการประชุมในระหว่างวันที่ 13-14 ก.ค. ปี 2000 และช่วงที่ 3 จะเป็นการประชุมด้านการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการดูแลรักษาและสมาชิกของ ADI เข้าร่วมประชุมระหว่างวันที่ 15-18 ก.ค. ปี 2000 โดยการประชุมทั้ง 3 ช่วงดังกล่าวจะจัดขึ้นที่อาคารวอชิงตัน ฮิลตัน แอนด์ ทาวเวอร์ส กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ

หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งบทคัดย่องานวิจัย, การลงทะเบียน/โรงแรมที่พัก, พื้นที่แสดงนิทรรศการ, การให้การสนับสนุน กรุณาติดต่อได้ที่โทรศัพท์ 312-335-5813 หรือดูได้จาก [email protected]

แหล่งที่มา: สมาคมอัลไซเมอร์

เว็บไซท์: http://www.alz.org --จบ--

--บิสนิวส์แปลและเรียบเรียง-กช/กก--


ข่าวสมาคมอัลไซเมอร์+โรคอัลไซเมอร์วันนี้

งานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ชูความก้าวหน้าในกลยุทธ์การรักษา วินิจฉัย และลดความเสี่ยง

ผลการวิจัยครั้งใหม่ที่รายงานในงานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Association International Conference(R) หรือ AAIC(R)) ประจำปี 2566 เผยให้เห็นความครอบคลุมของงานวิจัยด้านโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม รวมถึงในเรื่องความก้าวหน้าในการรักษา ความรวดเร็วและแม่นยำในการวินิจฉัย และความเข้าใจของเราเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ งานประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์เป็นเวทีชั้นนำที่จัดทุกปี เปิดโอกาสให้นำเสนอและอภิปรายเกี่ยวกับการวิจัยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมอง

การตรวจเจาะปลายนิ้วสะท้อนความก้าวหน้าในการตรวจเลือดสำหรับโรคอัลไซเมอร์

ข้อสรุปสำคัญ ผลจากการตรวจเลือดด้วยการเจาะปลายนิ้วมีแนวโน้มที่มีศักยภาพ และอาจช่วยในการตรวจหาอัลไซเมอร์ที่บ้านหรือในสถานดำเนินงานของแพทย์ การตรวจเลือดมีความแม่นยำสูงกว่า 80% ในการระบุการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์...

สมาคมโรคอัลไซเมอร์รายงานข้อมูลจากโครงการศึกษายาโดนาเนแมบ เฟส 3 ในงาน AAIC ประจำปี 2566

ข้อมูลที่รายงานวันนี้โดยอีไล ลิลลี่ (Eli Lilly) จากการศึกษาทดลองทางคลินิก เทรลเบลเซอร์-เอแอลแซด 2 (TRAILBLAZER-ALZ 2) เกี่ยวกับยาโดนาเนแมบ (donanemab) ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ชนิดแสดงอาการระยะแรกเริ่ม...

การมีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อมที่เพิ่มขึ้น

การมีประวัติภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองและการเสื่อมถอยของสมองเร็วกว่าที่ควร จากงานศึกษาวิจัยที่นำเสนอวันนี้ภาย...

ผลวิจัยเผยการมีประสบการณ์เผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติเชื่อมโยงกับความจำไม่ดีและการเสื่อมถอยของสมอง

การมีประสบการณ์เผชิญกับการเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้าง ระหว่างบุคคล และเชิงสถาบัน มีความเชื่อมโยงกับคะแนนความจำที่ต่ำกว่าและการทำงานรู้คิดของสมองที่เสื่อมถอยลงในช่วงวัยกลางคนและวัยชรา โดยเฉพาะ...

สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าในวัยเด็กและการได้รับค่าแรงต่ำต่อเนื่องยาวนาน เชื่อมโยงกับความเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อมและการเสื่อมถอยของความจำที่เกิดขึ้นเร็วกว่า

ความขาดแคลนเชิงสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงความเสียเปรียบด้านละแวกที่อยู่อาศัยและค่าแรงต่ำต่อเนื่องยาวนาน มีความเชื่อมโยงกับความ...

ASIANET: คณะผู้เชี่ยวชาญเตรียมจัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลรักษาโรคอัลไซเมอร์

บรรดาผู้นำระหว่างประเทศด้านการวิจัย, การรักษา และดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะประชุมกันที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ตั้งแต่วันที่ 9-18 ก.ค.นี้ในการประชุมอัลไซเมอร์โลกประจำปี 2000 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญเพื่อแบ่งปันข้อมูล...