สหรัฐอเมริกายกเลิกตอบโต้การอุดหนุนเส้นด้ายและผ้าผืนจากไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--กรมการค้าต่างประเทศ สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการตอบโต้การอุดหนุนสินค้าด้ายและผ้าผืน จากไทยโดยสิ้นเชิงแล้ว มีผลตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป หลังจากใช้มาตรการนี้ต่อไทยถึง 24 ปี ด้วยการใช้เงื่อนไขในความตกลง SA ไทย-สหรัฐฯที่เข้มงวด คาดว่าต่อจากนี้ไปน่าจะขยายตลาดได้กว้างขึ้น แต่เตือนผู้ส่งออกให้ระมัดระวังเรื่อง ราคาจำหน่าย และการขอรับการอุดหนุนจากรัฐให้มากขึ้น นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาได้ประกาศไต่สวน และเรียกเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนสินค้าเส้นด้ายและผ้าผืน (Certain Textile Mill Products) เป็นจำนวนทั้งสิ้นถึง 49 รายการ (พิกัดศุลกากร 5204.11-6302.51) ในอัตราร้อยละ 3.82 จากประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2527 และถ้าให้สหรัฐฯเรียกเก็บอากรตอบโต้ดังกล่าว อาจมีผลกระทบเป็นวงกว้างต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไทยจึงได้ยื่นขอทำความตกลงว่าด้วยการระงับการเรียกเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุน (Suspension Agreement : SA) กับกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2528 ถึงปี 2533 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ผลจากการทำความตกลง SA ทำให้สหรัฐฯ ไม่เรียกเก็บอากรตอบโต้ในอัตราร้อยละ 3.82 แต่ข้อตกลงฉบับนี้มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวด โดยผู้ส่งออกไทยจะต้องไม่รับหรือเป็นผู้ขอรับการอุดหนุนใด ๆ จากโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ และต้องรวบรวมข้อมูลระบุโครงการที่ไม่ได้รับการอุดหนุนสำหรับการส่งออกเสนอเป็นรายงานทุกไตรมาสให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ทราบ ทั้งนี้ โครงการอุดหนุนเพื่อการส่งออก คือ การชดเชยภาษีในรูปบัตรภาษี สิทธิประโยชน์จากบัตรส่งเสริมการลงทุนในรูปลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีอากร สินเชื่อเพื่อการส่งออกในอัตราพิเศษ การซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ค่าลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้า สิทธิพิเศษจากเขตส่งออกของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผลประโยชน์จากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับการทำความตกลง SA ดังกล่าว ได้ทำขึ้นก่อนมีการเปลี่ยนจาก GATT มาเป็นความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) โดยสหรัฐอเมริกาได้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้กำหนดระยะเวลาการสิ้นสุด ในเรื่องนี้ประเทศไทยได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอด และหยิบยกเรื่องขึ้นฟ้องร้องในระดับชั้นศาล และสู้กันถึง 3 ศาลด้วยกันคือ ศาลการค้าระหว่างประเทศ ศาลอุทธรณ์ และศาลฏีกา ซึ่งประเทศไทยไม่เคยชนะเลยในทุกศาล และมีผลทำให้สหรัฐฯใช้มาตรการกับสินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนของไทยติดต่อกันมาตลอด นับเป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการค้าอันยาวนานของประเทศไทยกับสหรัฐฯ ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามความตกลงภายใต้ WTO กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เริ่มดำเนินการทบทวนเพื่อยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Sunset Review) สินค้ารายการต่าง ๆ จากประเทศคู่ค้าทั่วโลกก่อนที่จะมีการสิ้นสุดการใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าในปี 2543 (ค.ศ.2000) รวมทั้งสินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนจากประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ใน Federal Register ให้มีการทบทวนเพื่อเตรียมการยกเลิกในปี พ.ศ.2543 หลังจากที่ใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนการส่งออกของไทยตังแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นมา โดยขั้นตอนการทบทวนครั้งนี้ปรากฎว่า สมาคมผู้ผลิตสิ่งทอของสหรัฐฯ (American Textile Manufacture Institute: ATMI) ซึ่งเป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ ยื่นขอให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ทบทวนเพื่อใช้มาตรการตอบโต้ต่อไป แต่เนื่องจากสมาคมผู้ผลิตสิ่งทอของสหรัฐฯไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหลักฐานได้เพียงพอ(Substantive Response)ต่อการพิจารณา กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เห็นว่าอุตสาหกรรมภายในไม่ได้รับผลกระทบต่อความเสียหายจากการยกเลิกมาตรการตอบโต้ที่ผ่านมา จึงได้ประกาศใน Federal Register ยุติการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน สินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนจากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ซึ่งรวมเวลาที่ใช้มาตรการตอบโต้กับประเทศไทยถึง 24 ปี เต็ม ทั้งนี้ การดำเนินการของประเทศไทยที่ผ่านมาในการทำความตกลง SA มีข้อดีคือ เป็นการลดผลกระทบจากการที่สินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนของประเทศไทย ที่ถูกสหรัฐฯเรียกเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุน โดยที่ผู้นำเข้าสหรัฐฯได้รับการผ่อนผันจากการเรียกเก็บอากรดังกล่าว ยังผลให้ผู้ส่งออกไทยได้รับการลดหย่อนภาระที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกของตน และยังสามารถช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้ในส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่เป็นภาระเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ส่งออกของไทยก็คือ การปฏิบัติตามความตกลงและต้องจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติเป็นรายไตรมาส เช่น ตัวเลขการส่งออกไปสหรัฐฯ และรายละเอียดในการขอรับการอุดหนุนจากภาครัฐฯ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องดังที่ระบุตามความตกลง และในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์ว่าประเทศไทยมิได้ดำเนินการใด ๆ อันละเมิดความตกลงนั้นไปจนกว่าจะยกเลิกมาตรการดังกล่าว อนึ่ง หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้สินค้าเส้นด้ายและผ้าผืนของไทยแล้วคาดว่าการส่งออกจะมีลู่ทางที่ดีและขยายตลาดได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ผลิตและผู้ส่งออกควรระมัดระวังในเรื่องการเสนอขายสินค้า โดยเฉพาะราคาส่งออกและราคาขายในประเทศ ตลอดจนการรับการอุดหนุนเพื่อการส่งออกด้วย เพื่อมิให้เกิดปัญหาเหมือนเดิม--จบ--

ข่าวกระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา+กรมการค้าต่างประเทศวันนี้

ไทยยูเนี่ยน เปิดบูธต้อนรับ กระทรวงพาณิชย์ นำคณะรัฐมนตรีสปป.ลาว เยี่ยมชมนวัตกรรมอาหารทะเลยั่งยืนในงาน ThaiFex Anuka Asia 2025

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU นำโดยนายชู ชง ชาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านกิจการกลุ่มบริษัท และนางสาวเพียรภัค อรุณไพโรจน์ ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาด แผนกการตลาดต่างประเทศ ให้การต้อนรับนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะรัฐมนตรีจากสปป.ลาว นายมะไลทอง กมมะสิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า นายไชชะนะ ไชยะกอน อธิบดีกรมเจรจาและร่วมมือเศรษฐกิจสากล และนางมะนีวอน วงไช อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมคณะผู้แทนหอการค้าไทย ร่วมชมและชิมนวัตกรรมอาหารทะ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดสัม... กรมการค้าต่างประเทศ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เสริมพลัง SMEs เกษตรนวัตกรรมไทยสู่สากล — กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "เสริมพลัง...

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 นายชัยวุฒิ ธน... ดีอีเอส ลงนามข้อตกลงการรับทุน พัฒนาภูเก็ตสู่ "เมืองอัจฉริยะ" — เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐก...

ผู้ส่งออกไทยตื่นตัวร่วมสัมมนา U.S. Trade Polic เพื่อปรับกลยุทธ์การค้า

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ ได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน จัดสัมมนาเรื่อง “U.S. Trade Policy : Implications for Thai Exports ” ระหว่างวันที่ 18 -19...